กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม ในชุมชน ตำบลกาบัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาบัง

กลุ่มหรือองค์กรประชาชนตั้งแต่5 คน

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา

หมู่ที่ 3 ตำบลกาบัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชนเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนและมีปัจจัยที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องหลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ตลอดจนการควบคุมทางกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการจึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลายทั้งความร่วมมือของหลายภาคส่วน หลายระดับ จากการสอบถามผู้ใช้ยาในชุมชนเกี่ยวกับพิษของยา ปรากฏว่าไม่มีความรู้และไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่ตามมา ทำให้ชาวบ้านในชุมชนใช้ยาไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม เช่นใช้ยาปฏิชีวนะ ใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์
ดังนั้นกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลกาบัง จึงเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ยาในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม ในชุมชน ตำบลกาบัง ประจำปีงบประมาณ 2562 และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานและเน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมีการพัฒนาการการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม ในชุมชน ตำบลกาบัง ในระยะยาวต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนในชุมชนเขตตำบลกาบัง ร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบ แหล่งขายยาในชุมชน เช่นร้านค้า ร้านชำ ร้านขายยา มิให้มีการลักลอบขายยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์

คนในชุมชนเขตตำบลกาบัง ร่วมกันเฝ้าระวัง ตรวจสอบ แหล่งขายยาในชุมชน เช่นร้านค้า ร้านชำ ร้านขายยา มิให้มีการลักลอบขายยาปฏิชีวนะและยาสเตียรอยด์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 130
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม ในชุมชน ตำบลกาบัง

ชื่อกิจกรรม
โครงการการใช้ยาที่ถูกต้อง เหมาะสม ในชุมชน ตำบลกาบัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุมอบรมให้ความรู้ชาวบ้าน 1 วัน -ศึกษาดูงาน ตำบลบาละ 1 วัน -ค่าวิทยากร ภายใน -ค่าวิทยากรภายนอก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ในชุมชนมีเครือข่ายการเฝ้าระวังการใช้ยาในชุมชน โดยร่วมกันทุกภาคีเครือข่ายไม่ว่าจะเป็น อสม. ผู้นำชุมชน ผู้ประกอบการร้านยา ร้านค้า ร้านชำ และชาวบ้านมีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและยั่งยืน


>