กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเวชกรรม เทศบาลนครยะลา ประจำปี 2562

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเวชกรรม เทศบาลนครยะลา ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

โรงพยาบาลยะลา

ชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันผู้สูงอายุเป็นประชากรที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุไขยืนยาวขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นจะเกิดความเสื่อมถอยของอวัยวะต่างๆ ทำให้ผู้สูงอายุเกิดโรคได้ง่าย และมีปัญหาการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ผู้สูงอายุมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมพื้นฐานประจำวัน และมีข้อจำกัดเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นทุกขนาดกิจกรรม โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไปมีข้อจำกัดสูงกว่าผู้สูงอายุกลุ่มอื่นๆ 5-10 เท่า ปัญหาความเสื่อมถอยของร่างกาย ทำให้ผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพทางร่างกายและโรคเรื้อรังต่าง ๆ การศึกษาขนาดและแนวโน้มของประชากรสูงอายุจากสำมะโนประชากรประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2503 จนถึง พ.ศ.2543 และการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2543 ถึง พ.ศ.2573 ขนาดของประชากรตั้ง แต่อายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มเป็น 7 เท่าตัวคือประมาณ 7.6 ล้านคนในปี พ.ศ.2552 หรือคิดเป็นร้อยละ 11.5 ของประชากรทั้งหมด ผู้สูงอายุ 1 ใน 5 เป็นต้อกระจก โดยผู้สูงอายุหญิงเป็นต้อกระจกสูงกว่าผู้สูงอายุชาย (ชายร้อยละ 18.0 หญิงร้อยละ 23.6) เมื่อพิจารณาสัดส่วนระหว่างกลุ่มอายุพบว่า ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองโรคทาง Geriatric syndromesจำนวน 19,566 คน พบว่า ผู้สูงอายุมีภาวะเสี่ยงข้อเข่าเสื่อม จำนวน 284 คน คัดกรองต้อกระจกเบื้องต้น พบว่า เสี่ยงสูงขึ้น ทั้งในผู้สูงอายุเพศชายและหญิง (ข้อมูลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2552 สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย)
จากสภาพปัญหาดังกล่าว สอดคล้องกับข้อมูลการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุเขตเทศบาลนครยะลาปี 2561 ในเขตเทศบาลนครยะลามีผู้สูงอายุ จำนวน 6,271 คนศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเวชกรรม เป็นศูนย์สุขภาพชุมชนเดียวที่บูรณาการงานเยี่ยมบ้านเต็มรูปแบบ จึงมีการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคในชุมชน ครอบคลุมร้อยละ 100 และจากข้อมูลการสำรวจตามแบบข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเวชกรรม พบว่า ผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบมีจำนวน 1,084 คน เสี่ยงข้อเข่าเสื่อม 84 คน ซึ่งมีเหตุปัจจัยจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ภาวะโก่งงอของขาและขาผิดรูป เป็นต้น จึงทำให้มีอาการปวดบริเวณข้อร่วมด้วย
ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนเครือข่ายด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งให้การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบบูรณาการ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างต่อเนื่องศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเวชกรรม ร่วมกับกลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลยะลา จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองเวชกรม ประจำปี 2562 ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และทักษะในการเฝ้าระวังภาวะข้อเข่าเสื่อม
  1. ค่าคะแนนความรู้ภายหลังการอบรมเพิ่มขึ้นจากก่อนการอบรม ร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเลือกรูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสม ผ่านการเข้าฐานการเรียนรู้
  1. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังเข้าฐานการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 3.ร้อยละ 100 ผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการได้รับการประเมินโดยวิธี TUGT (Time up and go test)
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/05/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน” จำนวน 2 วัน เป้าหมาย ผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวม 70 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมแบบมีส่วนร่วมของชุมชน” จำนวน 2 วัน เป้าหมาย ผู้สูงอายุ จำนวน 60 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน รวม 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 70 คนๆ ละ
        20.-บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 2 วัน                                          เป็นเงิน   5,600.-บาท
  2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 70 คนๆ ละ 50.-บาท
       จำนวน 1 มื้อ จำนวน 2 วัน                                          เป็นเงิน    7,000.-บาท
  3. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยายภาคเช้า (ภายใน
       หน่วยงาน) จำนวน 1 คน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300.-บาท
       จำนวน 2 วัน                                          เป็นเงิน     1,800 บาท
  4. ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่ม (ภายในหน่วยงาน)
        จำนวน 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300.-บาท จำนวน
        2 วัน
                                             เป็นเงิน    3,600 บาท
  5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการอบรม    5.1 กระดาษ A4 2 รีมๆละ 130 บาท                                          เป็นเงิน       260 บาท     5.2 สมุดปกอ่อน (สำหรับบันทึก) เล่มละ 15 บาท
             จำนวน 60 เล่ม             เป็นเงิน       900 บาท

    5.3 ปากกา จำนวน 60 ด้ามๆ ละ 5 บาท                                         เป็นเงิน        300 บาท     5.4 แฟ้มกระดุม จำนวน 60 ชิ้นๆ ละ 9.-บาท
                                        เป็นเงิน       540.-บาท                                      รวมเป็นเงิน  2,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,000.-บาท (เงินสองหมื่นบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุมีทักษะในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
2.ผู้สูงอายุสามารถให้การแนะนำ ช่วยเหลือการดูแลสุขภาพตนเองซึ่งกันและกันได้
3.โรงพยาบาลยะลาสามารถพัฒนาแกนนำผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป้าหมาย


>