กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

เด็กนาม่วงแก้มใส โภชนาการสมวัย เคลื่อนไหวร่างกายเพียงพอ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนบ้านนาม่วง ต.บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

นางสาวชดาษา จันพรมทอง 091-3131611
นายทนง มิตทะจันทร์ 086-2948453
นางสาวพาอีซะห์ มะหลี 082-2818098
นางสาวเบ็ญจพรรณ จันติ 098-3616516
นายทรงกรต กิจจะเสน 093-7742533

โรงเรียนบ้านนาม่วง และชุมชนบ้านนาม่วง หมู่ที่ 4 ต.บ้านโหนด อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

จากข้อมูลการชั่งน้ำหนักเมื่อวัน 28 มิถุนายน 2562 ปรากฎว่ามีนักเรียนน้ำหนักร้อยละ 30.12 มีภาวะอ้วน และเริ่มอ้วน โดยในจำนวนนักเรียนทั้งหมด 83 คน มีนักเรียนที่อ้วน เริ่มอ้วน หรือท้วม จำนวน 25 คน ซึ่งจากการทำการวิจัยชั้นเรียน ภายใต้โครงการอาหารกลางวันเพื่อสำรวจเมนูที่นักเรียนชอบรับประทานในปีการศึกษา 2561 ผลปรากฎว่า นักเรียนร้อยละ 71.08 หรือนักเรียนจำนวน 59 คน จาก 83 คน ไม่ชอบทานอาหารที่ทำจากผัก โดยเฉพาะในวันที่โรงเรียนทำอาหารมังสวิรัติ นักเรียนจะรับประทานอาหารได้น้อย โดยเมนูอาหารที่นักเรียนไม่ชอบมาที่สุดได้แก่ ต้มจับฉ่าย ผัดผักใบเขียวทุกชนิด รองลงมา คือ เมนูที่ทำจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เป็นต้น

30.12
2 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

จากการสังเกตการออกกำลังกายและเคลื่อนไหวร่างกายของนักเรียนในแต่ละวัน จะเห็นว่า นักเรียนมีการเคลื่อนไหวร่างกายคอนข้างมาก ผ่านการทำกิจกรรม เช่น การทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน การทำความสะอาดเขตบริเวณรับผิดชอบในโรงเรียน การทำกิจกรรมจิตอาสานอกโรงเรียน การออกกำลังกายหน้าเสาธง การออกกำลังกายยามว่างตามชอบ เช่น การเล่นเปตอง การเล่นแชร์บอลในเด็กอนุบาล เป็นต้น ยกเว้น นักเรียนกลุ่มอ้วน กลุ่มท้วมที่มักจะหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆ

50.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลด เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะน้ำหนักเกินภาวะอ้วนลงพุง

ร้อยละของเด็ก 6-14 ปีที่มีน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง

30.12 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 83
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เมนูผักชวนชิม

ชื่อกิจกรรม
เมนูผักชวนชิม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจผักพื้นบ้านในท้องถิ่น แยกเป็นฤดูกาล โดยการออกสัมภาษณ์ สังเกต และสำรวจ นักเรียน คณะครู และชุมชน จำนวน 20 คน
ค่าใช้จ่าย
1.ค่าอาหารมื้อละ 90x20 เป็นเงิน 1,800 บาท
2.ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่าง 35x20 เป็นเงิน 700 บาท

ครูโภชนการและแม่ครัวร่วมกันออกแบบเมนูในโปรแกรม Thai School Lunch เป็นเงิน 0 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เมนูผักที่หลากหลาย ชวนรับประทาน เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้นักเรียนหันมารับประทานผักมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 บูรณาการกับวิชาเกษตรปลอดภัยในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
บูรณาการกับวิชาเกษตรปลอดภัยในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำแปลงเกษตรขนาด.80 x 200 เมตรจำนวน 20 แปลง เป็นเงิน 3,500 บาท
2.จัดซื้อเมล็ดพันธุ์ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ถั่วฝักยาว แตงกวา เป็นเงิน3,000 บาท
3. จัดซื้อกิ่งมะนาว 20 กิ่งๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
4. ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 80 จำนวน 20 ท่อๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
5. จัดหาพันธุ์ผักพื้นบ้านจากชุมชน เช่น ชะอม มะขาวเปรี้ยว ผักหวาน ตำลึง สับปะรด มะม่วงหิมพาน ตะไคร้ ข่า กระเพรา ยี่หร่า เป็นเงิน 0 บาท
6. จัดซื้อสายยางขนาดครึ่งนิ้ว 50 เมตร เป็นเงิน 375 บาท
7. วัสดุอุปกรณ์ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เอง เป็นเงิน 2,000 บาท
8. ค่าตอบแทนวิทยากรสอนทำปุ๋ยชีวภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
9. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในจัดกรรมให้ความรู้เรื่องการทำปุ๋ยชีวภาพ ประกอบด้วยนักเรียนประถมศึกษาจำนวน 49 คน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน มืัอละ35 บาท เป็นเงิน 2,205 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันที่ปลอดภัย ไร้สารเคมี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18080.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดการเรียนรู้บูรณาการอาหารและโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
การจัดการเรียนรู้บูรณาการอาหารและโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดการเรียนรู้โดยบูรณาการด้านอาหารปลอดภัย โภชนาการที่ถูกต้องสมวัยในกลุ่มสาระวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ เป็นเงิน 0 บาท
  2. จัดทำสื่อการสอน จัดซื้ออุปกรณ์การสอน และจัดทำป้ายนิเทศประจำห้องเรียน จำนวน 8 ห้องเรียนๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
  3. นำนักเรียนออกทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในโรงเรียน เป็นเงิน 0 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม นำนักเรียนออกทัศนศึกษาแหล่งรู้นอกสถานที่ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 คน ประกอบด้วยนักเรียน 49 คน ครูและบุคลากร 11 คน มื้อละ 35 บาท (35602) เป็นเงิน 4,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอาหารและโภชนาการที่ถูกต้องสมวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12200.00

กิจกรรมที่ 4 ขยับกายสบายชีวี

ชื่อกิจกรรม
ขยับกายสบายชีวี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทำเกษตรได้สุขภาพ ให้นักเรียนออกกำลังด้วยการทำเกษตรภายในโรงเรียน เช่น รดน้ำผัก พรวนดิน ถอนหญ้า ขุดดิน ฯลฯ เป็นเงิน 0 บาท
  2. ทำจิตอาสาได้สุขภาพ นำนักเรียนออกทำกิจกรรมจิตอาสาในสถานที่สาธารณะในชุมชน เช่่น กวาดลาดวัด ล้างห้องน้ำวัด ทำความสะอาดศาลาหมู่บ้าน ฯลฯ โดยหมุนเวียนกันไปครั้ง 30 คน ครู 5 คน รวมทั้งสิ้น ครั้งละ 35 คน เดือนละ 2 ครั้ง เทอมละ 10 ครั้ง ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (35x35x20) เป็นเงิน 12,250 บาท
  3. แอโรบิคได้สุขภาพ ออกกำลังกายหน้าเสาธงตอนเช้าทุกวันพุธ ค่าตอบแทนวิทยากรสอนเต้นแอโรบิค วันละ 200 บาทจำนวน 1 ภาคเรียน จำนวน 20 วัน เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ผ่านกิจกรรมที่ดำเนินการในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 49,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละของเด็ก 3-12 ปีที่มีน้ำหนักเกิน ภาวะอ้วน ลงพุง จากร้อยละ 30.61 เหลือ ร้อยละ 20.00 ภายในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
2. ร้อยละของเด็ก 3-12 นักเรียนได้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 80 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562


>