กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความมั่นคงอาหารและสุขอนามัยในโรงเรียนและชุมชน โรงเรียนวัดโพธาราม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนวัดโพธาราม

1 นางสาวอัมพรคงเจริญเมืองครู 0878373290
2 นางอรไท สีสวนแก้ว ครู

โรงเรียนวัดโพธาราม และชุมชน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
โรงเรียนวัดโพธารามตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งขมิ้น อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 เป็นโรงเรียนขยายโอกาส จัดการเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตบริการ 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 23 และ 7 ของตำบลทุ่งขมิ้นนักเรียน177 คนครู16คนพื้นที่ 10 ไร่ 43 ตารางวา โดยมีปรัชญาของโรงเรียน คือ “สุขภาพดี มีคุณธรรม สำนึกความเป็นไทย ใฝ่เรียนรู้สู่อาชีพ”โรงเรียนมีพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขมิ้นติดกับวัดและเป็นชุมชนแบบสังคมชนบทนับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักทำสวนยางพารา อาชีพรองคือทำสวนผลไม้ และรับจ้างทั่วไป รายได้ต่อครัวเรือนค่อนข้างต่ำ บ้านเรือนอยู่ใกล้กันในลักษณะเครือญาติช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และจากการสำรวจปัญหาด้านสุขภาพของนักเรียนเดือนมิถุนายน 2561พบว่า มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการภาวะอ้วนจำนวน 11 คนหรือร้อยละ 6.17 ส่วนใหญ่พบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีปัญหาด้านความอ้วนมากที่สุดถึงจำนวนชั้นละ 2 คน หรือร้อยละ3.36 และจากการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ พบว่ามีเด็กนักเรียนที่ไม่กินผักผลไม้ จำนวน10คนหรือร้อยละ5.61ส่วนใหญ่นักเรียนจะกินเป็นบางครั้ง จำนวน 92 คน หรือ ร้อยละ 51.68 คนและพบว่ามีเด็กนักเรียนที่ออกกำลังกาย จำนวน 32 คน หรือร้อยละ 17.97 เท่านั้น และ เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยออกกำลังกาย จำนวน 146 คน หรือร้อยละ 82.03
เด็กในวัยเรียนควรได้รับการดูแลเรื่องโภชนาการให้กินอาหารอย่างเพียงพอ มีคุณภาพอาหาร และการออกกำลังกาย ให้มีความเหมาะสมและพอดีกับความต้องการของร่างกายหากนักเรียนเกิดภาวะอ้วนหรือผอม จะส่งผลต่อเด็ก เช่นเรียนรู้ช้า มีปมด้อย ขาดความเชื่อมั่นในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมและเกิดโรคตามมาหลายชนิด โดยเฉพาะการที่นักเรียนได้รับประทานอาหารเช้าจากที่บ้านก่อนมาโรงเรียนและรับประทานอาหารเย็นที่บ้าน เป็นสิ่งสำคัญ สำหรับมื้อกลางวัน นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันจากโรงเรียน โดยทั้งบ้านและโรงเรียนต้องมีแหล่งผลิตอาหารสุขภาพ ที่มีปริมาณและคุณภาพเพียงพอ ตามหลักการความมั่นคงทางอาหาร
โครงการส่งเสริมความมั่นคงอาหารและสุขอนามัยในโรงเรียนและชุมชนโรงเรียนวัดโพธาราม จึงเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการผลิตอาหารปลอดภัยให้มีปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอต่อการบริโภคเป็นอาหารกลางวันในโรงเรียน และให้ขยายผลให้ผู้ปกครองได้ผลิตแหล่งอาหารโปรตีนเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารมื้อเช้าและมื้อกลางวัน รวมถึงให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้เหมาะสมและสมวัย ลดจำนวนเด็กอ้วนและเด็กผอมในโรงเรียน นักเรียนและชุมชนมีความรู้และตระหนักเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคผัก ผลไม้ และการออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้เกิดความมั่นคงแหล่งอาหารคุณภาพในโรงเรียนและชุมชน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารเพิ่มแหล่งผลิตอาหารสุขภาพในโรงเรียน และการใช้ประโยชน์ทางด้านอาหารและโภชนาการเพื่อชุมชน
  1. โรงเรียนและชุมชนเพิ่มพื้นที่การผลิตอาหาร และมีแหล่งอาหาร ใช้บริโภคตลอดปี
  2. พื้นที่และปริมาณผลผลิตเกษตร ด้านพืช ประมงและปศุสัตว์ ในเรียนและชุมชน
  3. แหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตอาหารในชุมชน
0.00
2 2 เพื่อพัฒนาทักษะส่วนบุคคลด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในโรงเรียนและชุมชน
  1. บุคลากรครู นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และทักษะด้านการจัดการอาหารในชุมชน ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในโรงเรียนและชุมชน
0.00
3 3 เพื่อปรับระบบ กลไก เฝ้าระวังอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพ
  1. ระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการและการติดตามภาวะ โภชนาการของนักเรียน
  2. กลุ่มเครือข่ายในชุมชนที่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสร้างและจัดการแหล่งอาหารในโรงเรียน
0.00
4 4 เพื่อจัดเตรียมระบบเพื่อรองรับความมั่นคงอาหารในโรงเรียนและชุมชนที่มีประสิทธิภาพ
  1. ข้อมูลแหล่งอาหารและแผนที่แหล่งอาหารสุขภาพของโรงเรียนและชุมชน
  2. แผนการผลิตพืชผัก และแผนการประกอบเลี้ยงอาหารของนักเรียน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 199
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2019

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทนวิทยากร 1200 บาท X คน=2400 ค่าอาหารกลางวัน 120 บาท x 1 มื้อ x 50 คน=6000 บาท ค่าอาหารว่าง 35 บาท x 1 มื้อ x 50 คน = 3500 บาท ค่าวัสดุฝึก 150 บาท x 50 คน = 7500บาท ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายฝึกอบรม 600บาท x 1 ป้าย = 600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับความรู้ด้านอาหารปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจัดทำแปลงเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณอาหารปลอดภัยในโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมจัดทำแปลงเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณอาหารปลอดภัยในโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเมล็ดพันธ์ ต้นกล้าพืช ผักำกินใบ = 22400 บาท ค่าเมล็ดพันธ์ ต้นกล้าพันธ์พืช ผักกินผล = 2320 ค่าต้นกล้าพันธ์มะละกอ กล้วยนำ้ว้า ไม้ผล = 900 บาท ค่าวัสดุสำหรับปลูก = 7700 บาท ค่าวัสดุเพาะเห็ดมิลค์กี้ = 4100บาท ค่าวัสดุสำหรับเพาะถั่วงอกระบบนำ้หมุนเวียนอัตโนมัติ = 7580 บาท ค่าพันธ์ปลาดุก และอาหารปลาดุก =17000 บาท ค่าพันธ์ไก่ไข่ และอาหารไก่ไข่ = 22000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแปลงเกษตรจำนวน 50แปลง นักเรียนได้รับประทานพืชผักที่ปลอดภัยไร้สารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
84000.00

กิจกรรมที่ 3 จัดทำแหล่งอาหารโปรตีนในชุมชน(เป้าหมาย 30 ครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแหล่งอาหารโปรตีนในชุมชน(เป้าหมาย 30 ครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าพันธ์ปลาดุก และอาหารปลาดุก 51000 ค่าพันธ์ไก่ไข่ และอาหารไก่ไข่  69000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ชุมชนเข้าถึงแหล่งอาหารโปรตีนทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารโปรตีนที่รร. และชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
120000.00

กิจกรรมที่ 4 แปลงเรียนรู้ต้นแบบในโรงเรียนและชุมชน เป้าหมาย 2 แหล่งเรียนรู้ (ชุมชนและโรงเรียน)

ชื่อกิจกรรม
แปลงเรียนรู้ต้นแบบในโรงเรียนและชุมชน เป้าหมาย 2 แหล่งเรียนรู้ (ชุมชนและโรงเรียน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าป้ายจุดแสดงแหล่งเรียนรู้
รวม 2 รายการ = 24,000 บาท 2. ค่าวัสดุเพื่อการถ่ายทอดความรู้

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมให้ความรู้เรื่องการทำอาหารเมนูน่ากินจากผัก และผลไม้ เป้าหมาย 30 คน เงิน 5,000 บาท

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการทำอาหารเมนูน่ากินจากผัก และผลไม้ เป้าหมาย 30 คน เงิน 5,000 บาท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คนๆ ละ 3 มื้อ x 20 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท   2. ค่าวัสดุสาธิตและฝึกปฏิบัติ  จำนวน 3 ครั้ง     ได้แก่
     (1)  ค่าจัดซื้อผลไม้เพื่อการฝึกปฏิบัติ   จำนวน 1 ครั้ง x 1,200 บาท หลักสูตร การล้างและหั่นผลไม้ที่ถูกหลักโภชนาการ     (2)   ค่าจัดซื้อผักและวัสดุเพื่อการฝึกปฏิบัติ  จำนวน 1 ครั้ง x 1,000 บาท หลักสูตร  ผักทอดกรอบ     (3)  ค่าจัดซื้อผักและวัสดุเพื่อการฝึกปฏิบัติ   จำนวน 1 ครั้ง x 1,000 บาท หลักสูตร ขนมกล้วย /ฟักทองนึ่ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้รับความรู้เรื่องการทำเมนูผักน่ากินและสามารถทำเมนูผักน่ากิน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียน เป้าหมาย 1 โรงเรียน เงิน 7,000 บาท

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการออกกำลังกายในโรงเรียน เป้าหมาย 1 โรงเรียน เงิน 7,000 บาท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเสื้อเอี๊ยมนักกีฬา จำนวน 10 ตัว x 100 บาท
2. ไม้คทาวิ่ง จำนวน 5 x 100 บาท
3. ลูกฟุตซอล Adidas จำนวน 5 ลูก x 600 บาท
4. ลูกวอลเล่ย์บอล Mikaza จำนวน 5 ลูก x 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ออกกำลังกายและลดภาวะอ้วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 7 -ray สุขภาพและอัตราการกินผักผลไม้ (การติดตามพฤติกรรมการกินผักผลไม้และการออกกำลังกาย) การฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการออกกำลังกายและการกินผักผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดีแก่นักเรียน เป้าหมาย นร. 150 คน เงิน 4,300 บาท

ชื่อกิจกรรม
-ray สุขภาพและอัตราการกินผักผลไม้ (การติดตามพฤติกรรมการกินผักผลไม้และการออกกำลังกาย) การฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของการออกกำลังกายและการกินผักผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดีแก่นักเรียน เป้าหมาย นร. 150 คน เงิน 4,300 บาท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

. ค่าตอบแทนวิทยากร
จำนวน 2 ชั่วโมง x 500 = 1,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มนักเรียน  จำนวน 150 คน x 1 มื้อ  x 20 บาท = 3,000 บาท   3. ค่าถ่ายเอกสารประกอบความรู้  จำนวน 150 ชุด x  2 แผ่น x 1 บาท = 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีพฤติกรรมการกินผัก ผลไม้ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4300.00

กิจกรรมที่ 8 จัดอบรมการวางระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการและการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน เป้าหมาย 50 ราย/1 วัน รวม 12,500 บาท

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมการวางระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการและการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียน เป้าหมาย 50 ราย/1 วัน รวม 12,500 บาท
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนวิทยากร
1200 บ.x 2คน = 2,400บ. 2. ค่าอาหารกลางวัน 120 บ.x 1 มื้อ x50คน = 6,000  บ. 3.ค่าอาหารว่าง
35 บ x 1 มื้อ x50 คน =  3,500  บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 282,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียนและชุมชนเพิ่มพื้นที่การผลิตอาหารด้านพืช ประมงและปศุสัตว์ ในเรียนและชุมชนมีแหล่งอาหารใช้บริโภคตลอดปี
และมีแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตอาหารในชุมชน
2. บุคลากรครู นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้และทักษะด้านการจัดการอาหารในชุมชน ตลอดจนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในโรงเรียนและชุมชน
3. โรงเรียนมีระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการและการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนและมีกลุ่มเครือข่ายในชุมชนที่มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมสร้างและจัดการแหล่งอาหารในโรงเรียน
4. โรงเรียนและชุมชนมีข้อมูลแหล่งอาหารและแผนที่แหล่งอาหารสุขภาพของโรงเรียนและชุมชน รวมถึงแผนการผลิตพืชผัก และแผนการประกอบเลี้ยงอาหารของนักเรียน


>