กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาศักยภาพการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียน โรงเรียนในเขตเทศบาลนครยะลา
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา
3.
หลักการและเหตุผล

ปัญหาด้านทันตสุขภาพเป็นปัญหาสำคัญที่พบมากในนักเรียนประถมศึกษา เมื่อเทียบกับโรคอื่นๆ ที่ตรวจพบในกลุ่มเดียวกันและปัญหาด้านทันตสุขภาพนั้น นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพช่องปากของเด็กแล้วยังมีผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษาอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีฟันแท้ขึ้นใหม่ๆ ลักษณะรูปร่างฟันมีหลุมร่องลึกทำให้เกิดโรคฟันผุได้ง่ายนอกจากอุปนิสัยของเด็กที่ชอบรับประทานอาหารของหวาน ตลอดจนมีข้อจำกัดในเรื่องความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในช่องปากได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่ดีพอ โรคในช่องปากเป็นโรคที่สามารถป้องกันและสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเริ่มต้นส่งเสริมตั้งแต่วัยเด็ก การฝึกฝนให้เด็กมีทันตสุขนิสัยที่ดี และการส่งเสริมและป้องกันรวมทั้งการบำบัดรักษาในระยะแรกของการเป็นโรคจะช่วยป้องกันและควบคุมโรคในช่องปากของเด็กได้ จากผลการสำรวจด้านสภาวะสุขภาพช่องปาก ครั้งที่ 8 พบว่า ความชุกของโรคฟันผุในเด็กอายุ 12 ปี คือร้อยละ 52.0 โดยมีค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 1.4 ซี่/คน และพบว่ามีสภาวะเหงือกอักเสบสูงกว่าการสำรวจในครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555 จากร้อยละ 50.3 เป็นร้อยละ 66.3 ด้านพฤติกรรมทันตสุขภาพและการรับบริการสุขภาพช่องปากของนักเรียน ปัจจัยที่มีผลโดยตรงต่อสภาวะเหงือกอักเสบคือ พฤติกรรมการแปรงฟันซึ่งพบว่าร้อยละของการแปรงฟันหลังอาหารกลางวันของเด็กอายุ 12 ปี ลดลงจากร้อยละ 53.9 เป็นร้อยละ 44.7 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจครั้งที่ผ่านมา ส่วนประเด็นพฤติกรรมการบริโภคที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็กกลุ่มนี้ คือ พฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลมและน้ำหวาน การกินลูกอม และการกินขนมกรุบกรอบ พบว่าเด็กดื่มน้ำอัดลมและกินขนมกรุบกรอบทุกวัน (สำนักทันตสาธารณสุข, 2561) ประกอบกับผลการสำรวจสุขภาพช่องปากจากระบบ HDC สาขาสุขภาพช่องปากของจังหวัดยะลา พบว่าร้อยละเด็กกลุ่มอายุ 12 ปีมีฟันผุในฟันแท้ ร้อยละ 42.47 มีเด็กในอำเภอเมืองยะลามีฟันแท้ผุ 29.08 ส่วนผลสำรวจฟันผุในโรงเรียนเขตเทศบาลนครยะลาในปีการศึกษา 2561 พบว่านักเรียนในโรงเรียนเทศบาล 1, เทศบาล 2, เทศบาล 3, เทศบาล 4, เทศบาล 5 และเทศบาล 6 มีฟันผุร้อยละ 52.31, 48.95, 39.75, 38.87, 39.73 และ 46.45 ตามลำดับ (กลุ่มงานทันตกรรม เทศบาลนครยะลา, 2562) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าความชุกของโรคฟันผุในนักเรียนยังสูงอยู่ กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในนักเรียน เพื่อป้องกันการเกิดโรคฟันผุนับว่าสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ซึ่งในพื้นทีโรงเรียนเทศบาล 1 และเทศบาล 2 ทันตบุคลากรได้เข้าดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินกิจกรรมส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนเทศบาล 3 เทศบาล 4, เทศบาล 5 และเทศบาล 6 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนในการดูแลสุขภาพช่องปาก เสริมสร้างทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากคณะครูในโรงเรียนให้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากนักเรียน เพื่อสามารถให้คำแนะนำแก่นักเรียนได้ ซึ่งกิจกรรมในโครงการมีการอบรมให้ความรู้ ฝึกทักษะลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงกิจกรรมการสร้างสื่อการเรียนรู้ด้านทันตสุขภาพด้วยตนเองเพื่อสร้างความตระหนัก สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในการดูแลตนเอง แนะนำกลุ่มเพื่อน ตลอดจนผู้ใกล้ชิด และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กที่ดี ลดการเกิดโรคฟันผุในกลุ่มวัยเรียน ในพื้นที่จังหวัดยะลาต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. ข้อที่ 1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรคในช่องปาก และแนวทางการดูแลสุขภาพช่องปาก
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 1 ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคในช่องปาก และแนวทางการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีในระดับดี
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. ข้อที่ 2 เพื่อให้นักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและเหมาะสมได้
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 2 ร้อยละ 100 ของนักเรียนสามารถแปรงฟันได้ถูกต้องและเหมาะสมผ่านเกณฑ์ทุกข้อของการประเมิน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 3. ข้อที่ 3 เพื่อให้นักเรียนได้รับการตรวจฟัน
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 3 ร้อยละ 100 ของนักเรียนได้รับการตรวจฟัน
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 4. ข้อที่ 4 เพื่อประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 4 ร้อยละ 80 ของนักเรียนไม่มีรอยผุใหม่
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 5. ข้อ 5 เพื่อประเมินประสิทธิผลหลังจากดำเนินงานของโครงการฯ 3 เดือน
    ตัวชี้วัด : ข้อที่ 5 ร้อยละ 80 นักเรียนมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในระดับดีขึ้นไป
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมการดำเนินงานเพื่อรวบรวมข้อมูลปัญหา และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดกิจกรรม เป้าหมาย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมกับครู และตัวแทนนักเรียน จำนวน 4 โรงเรียน ๆ ละ 20 คน รวมทั้งหมด 80 คน ระยะเวลา ครึ่งวัน
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่าง จำนวน 80 คนๆ ละ 25 บาท/ มื้อ
          จำนวน 1 มื้อ                                 เป็นเงิน    2,000.-บาท
    2. ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ และเครื่องเขียน                                 เป็นเงิน    1,200.-บาท
    3. ค่าถ่ายเอกสารการประกอบการประชุม จำนวน
          80 เล่มๆ ละ 20 บาท                                 เป็นเงิน    1,600.-บาท รวมกิจกรรมที่ 1 เป็นเงิน 4,800 บาท (เงินสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน)
    งบประมาณ 4,800.00 บาท
  • 2. กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้เรื่องโรคในช่องปาก และแนวทางการดูแลสุขภาพช่องปาก โรงเรียนละครึ่งวัน เป้าหมาย นักเรียนและครูในโรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียน ๆ ละ 100 คน รวมทั้งหมด 400 คน
    รายละเอียด
    1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 400 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 30 บาท                                                       เป็นเงิน  12,000.-บาท
    2. ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท                               เป็นเงิน    7,200.-บาท   3. ค่ากระเป๋าใส่เอกสารประกอบการอบรม จำนวน       400 ใบๆ ละ 30.-บาท                                   เป็นเงิน 12,000.-บาท
    3. ค่าวัสดุ-อุปกรณ์ และเครื่องเขียน     -ค่าปากกา จำนวน 400 ด้าม ด้ามละ 5.-บาท                                   เป็นเงิน  2,000.-บาท
    4. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรม
          จำนวน  400 เล่มๆ ละ 20.-บาท
                                                            เป็นเงิน  8,000.-บาท
    5. ค่าป้ายไวนิลความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อเป็นสื่อการสอนให้โรงเรียน ขนาด 1X2 เมตร จำนวนโรงเรียน 4 แห่ง ๆ ละ 2 ผืน รวมทั้งหมด 8 ผืน ๆ ละ 600.-บาท
                                        เป็นเงิน  4,800.-บาท
      รวมกิจกรรมที่ 2 เป็นเงิน 46,000 บาท (เงินสี่หมื่นหกพันบาทถ้วน)
    งบประมาณ 46,000.00 บาท
  • 3. กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่องการแปรงฟันอย่างมีคุณภาพ และฝึกทักษะการแปรงฟันที่เหมาะสม ร่วมกันจัดทำโมเดลฟันจำลองเพื่อเป็นสื่อการสอนแปรงฟัน ระยะเวลาครึ่งวัน เป้าหมาย นักเรียนและครูในโรงเรียน จำนวน 4 โรงเรียนๆ ละ 100 คน รวมทั้งหมด 400 คน
    รายละเอียด
    1. สีย้อมคราบจุลินทรีย์  จำนวน 4 ขวดๆ ละ
          100 บาท                เป็นเงิน      400.- บาท
    2. ก้านสำลี จำนวน 4 ห่อๆ ละ 50 บาท                                 เป็นเงิน      200.- บาท
    3. ถ้วยพลาสติกเล็ก 4 โหล โหลละ 50 บาท                                 เป็นเงิน      200.-บาท
    4. แปรงสีฟัน จำนวน 400 ด้ามๆ ละ 20.-บาท                                 เป็นเงิน    8,000.-บาท
    5. ยาสีฟัน จำนวน 400 หลอดๆ ละ 10.-บาท                                 เป็นเงิน    4,000.- บาท
    6. ไม้ไอติมขนาดใหญ่ จำนวน 6 ห่อๆ ละ 40 บาท                                 เป็นเงิน      240.- บาท
    7. ปูนพลาสเตอร์ 4 ถุงๆ ละ 35.-บาท                                 เป็นเงิน      140.- บาท
    8. สีโปสเตอร์ 8 ขวดๆ ละ 50 บาท
                                      เป็นเงิน      400.- บาท
    9. แลคเกอร์สเปรย์  2 ขวด ๆ ละ 80 บาท                                 เป็นเงิน      160.- บาท
    10. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 400 คน   คนละ 30 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ                                                     เป็นเงิน  12,000.-บาท
    11. ค่าสัมมนาคุณวิทยากรกลุ่ม จำนวน 4 กลุ่ม
          (4 โรงเรียนๆ ละ 2 คน รวม 8 คน)     กลุ่มละ 2 คนๆ ละ 3 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท                                 เป็นเงิน  14,400.-บาท
    12. ค่าถ่ายเอกสารแบบประเมินต่างๆ
      เป็นเงิน    1,000  บาท รวมกิจกรรมที่ 3 เป็นเงิน 41,140 บาท (เงินสี่หมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยสี่สิบบาทถ้วน)
    งบประมาณ 41,140.00 บาท
  • 4. กิจกรรมที่ 4 ประเมินประสิทธิผลหลังจากดำเนินงานของโครงการฯ 3 เดือน
    รายละเอียด

    ไม่ใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 30 พฤษภาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2562

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนเทศบาล 3, เทศบาล 4, เทศบาล 5 และเทศบาล 6

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 91,940.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. สามารถลดอุบัติการณ์การเกิดโรคฟันผุในเด็ก
  2. เป็นแนวทางการป้องกัน และการส่งต่อเพื่อให้เด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการรักษาตามความเหมาะสม
  3. การให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำกับโรงเรียนในเชิงนโยบายเกี่ยวกับการบรรจุเนื้อหาความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากไว้ในหลักสูตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา รหัส กปท. L7452

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 91,940.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................