กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ตรวจคัดกรองความเสี่ยงประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะบิ้ง

รพ.สต.ตะบิ้ง

หมู่ที่1-6 ตำบลตะบิ้ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

156.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

200.00

ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ (Non- Infection Disease) กำลังเป็นปัญหาที่สำคัญต่อสังคมไทย และมีแนวโน้มว่าจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น สาเหตุที่สำคัญได้แก่พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการออกกำลังกาย หรือแม้แต่ปัจจัยทางด้านสังคม ส่งผลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมให้ประชาชนป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อ (Non- Infection Disease) หรือโรคเสื่อมเรื้อรัง (Chronic Degenerative Disease) เช่น ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus) รวมทั้งโรคไขมันในเลือดกันมากขึ้น
การดำเนินการที่จะลดอัตราผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและโรคไขมันในเลือด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการป้องกันในระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention) เช่นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรค วิธีการป้องกันที่ถูกต้อง รวมไปถึงการป้องกันในระดับทุติยภูมิ (Secondary Prevention) คือการตรวจคัดกรอง (Screening) จึงทำให้สามารถค้นพบกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อที่จะได้จัดบริการทางด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง จึงได้ จัดทำโครงการตรวจคัดกรองความเสี่ยงประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป เพื่อค้นหาผู้ป่วยในระยะแรก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะบิ้ง

ร้อยละ ๙๐ ของผู้ที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยง ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนที่ตรวจพบโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

2463.00 2215.80

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ประชาชนทั่วไปในตำบลตะบิ้งที่มีอายุ 35 ปี 2,463

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/12/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑ ขั้นก่อนดำเนินการ
๑.๑ จัดทำโครงการเพื่อของอนุมัติโครงการและการดำเนินการ ๑.๒ ประชุมชี้แจงการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตำหนักเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้นำชุมชน ๒ ขั้นดำเนินการ ๒.๑ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทางเสียงตามสาย การตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ๒.๒ ดำเนินการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงและตรวจไขมันในเลือด ให้กับกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งการตรวจออกเป็น ๒ รูปแบบ คือ ก.ตรวจในการจัดกิจกรรม มหกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยจะมีการตรวจคัดกรองความเสี่ยง หาค่าดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ในประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป โดยจะดำเนินการในที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ข.ให้ อสม. ออกตรวจตามบ้าน ในกลุ่มที่ไม่ได้มาร่วมมหกรรมสุขภาพ โดยจะมีการตรวจโดยจะมีการตรวจคัดกรองความเสี่ยง หาค่าดัชนีมวลกาย วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดในประชากรที่มีอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป
๓ ขั้นหลังดำเนินการ ๓.๑ ขึ้นทะเบียนและส่งต่อผู้ป่วยรายใหม่ที่ค้นพบในการตรวจคัดกรอง ๓.๒ ติดตามเยี่ยมผู้ป่วยภายใน ๑ เดือนหลังจากส่งต่อเพื่อรับการรักษา และติดตามเยี่ยมต่อเนื่องในรายที่มีปัญหา ๓.๓ สรุปผลการดำเนินงาน และประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต (Outputs)
๑ประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยง
๒ ผลลัพธ์ (Outcomes) ๑ประชาชนที่ตรวจพบโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 มหกรรมส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
มหกรรมส่งเสริมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๘๐๐ คน * คนละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท
  • ค่าแผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด ๘๐๐ คน * คนละ ๓๐ บาท เป็นเงิน ๒๔,๐๐๐ บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดงาน ๔,๐๐๐  บาท
  • ค่าจัดทำแผ่นพับให้ความรู้ ๔,๐๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

สามารถค้นหาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และส่งต่อเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง


>