กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

แม่ลูกปลอดภัย ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ทารกน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม (ร้อยละ)

 

8.00
2 ทารกได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน (ร้อยละ)

 

85.42
3 อัตราการฝากครรภ์ 5 ครั้ง ตามเกณณฑ์ (ร้อยละ)

 

75.00
4 อัตราการฝากครรภ์ครั้งแกรก่อน 12 สัปดาห์ (ร้อยละ)

 

45.00
5 เครือข่ายชุมชนด้านอนามัยแม่และเด็กมีศักยภาพในการสนับสนุนบุคลากรทางสาธารณสุข (คน)

 

20.00

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดให้หน่วยบริการ จัดบริการตามชุดสิทธิประโยชน์การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องประเภทและขอบเขตบริการสาธารณสุข (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2559 โดยกำหนดให้สามารถดำเนินการคลอบคลุมตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ เรื่องการจัดบริการสาธารณสุขฯ พ.ศ.2547 เอกสารแนบท้าย ลงวันที่ 25 มีนาคม 2557 ทุกรายการ
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายและแผนพัฒนายุทธศาสตร์ การพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่2 (2562-2569) ว่าด้วยการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ ตามโครงการสาวไทยแก้มแดง มีลูกเพื่อชาติไทย การส่งเสริมการเกิดและเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ การเกิดทุกรายมีความพร้อม มีการวางแผน มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ส่งเสริมลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย ได้รับการดูแลหลังคลอดที่ดี และเด็กได้รับการเลี้ยงดูในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย จากข้อมูลปี 2558 ประเทศไทยมีอัตรามารดาตาย อยู่ที่ร้อยละ 20 ต่อการเกิดมีชีพแสนคน มีสาเหตุจากการตกเลือดหลังคลอด ซีดจากการขาดธาตุเหล็กและพบว่าทารกได้รับการลี้ยงดูด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 23.9 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาได้มีนโยบาย ลดแม่ตายโดยเน้นระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอดและหลังคลอด การให้บริการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อนำไปสู่การคลอดที่ปลอดภัย ทารกแรกเกิดมีสุขภาพแข็งแรง จากข้อมูลงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย ในปีงบประมาณ 2562 พบทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 8.0 และทารกได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ร้อยละ 85.42 ซึ่งเป็นปัญหาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมตำบลบาโหย ที่ต้องได้รับการแก้ไข ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาโหย จึงได้จัดทำโครงการ แม่ลูกปลอดภัย ห่วงใย ใส่ใจสุขภาพ ปี 2562 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ (ร้อยละ)

หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ได้รับการส่งเสริมร้อยละ 100

100.00 100.00
2 เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการบริการฝากครรภ์คุณภาพครบตามเกณฑ์ 5 ครั้ง (ร้อยละ)

หญิงตั้งครรภ์ ได้รับการส่งเสริมฝากครรภ์ครบไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

100.00 100.00
3 เพื่อให้ทีมแกนนำพ่อแม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพและสามารถดำเนินงานเชิงรุก (ร้อยละของผู้ผ่านการอบรม)

ทีมแกนนำ 1 ทีม 20 คน ผ่านการอบรมร้อยละ 100

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/08/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมแกนนำชุมชน และหญิงตั้งครรภ์คุณภาพ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมแกนนำชุมชน และหญิงตั้งครรภ์คุณภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดทำและเสนอโครงการรับการอนุมัติและการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาโหย
  2. จัดกิจกรรมอบรมเสริมยุทธศาสตร์/ทักษะ/องค์ความรู้ใหม่ แก่แกนนำพ่อแม่/แม่ตัวอย่าง และเสวนาประสบการณ์ด้านการฝากครรภ์ การดูแลตนเองระหว่างตั้งครรภ์ ครอบครัวกับการมีส่วนร่วมพัฒนาสุขภาพ
  3. ดำเนินกิจกรรมรณรงค์
    3.1 แกนนำพ่อแม่สำรวจ รณรงค์เชิงลึกในประชากรวัยเจริญพันธุ์คู่ และจัดทำทะเบียนเฝ้าระวัง 3.2 ติดตามเฝ้าระวังการตั้งครรภ์และการฝากครรภ์ พร้อมจัดทำและนำเสนอเอกสารคำแนะนำ 3.3 มอบเกียรติบัตร และของที่ระลึกสำหรับครอบครัวผ่านเกณฑ์ประกวดพ่อแม่เชี่ยวชาญ
  4. ประเมิน และรายงานผล
  • ค่าเอกสารและวัสดุการฝึกอบรม จำนวน 60 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มมื้อละ 25 บาท จำนวน 1 วัน จำนวน 60 คนเป็นเงิน1,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 400 บาทเป็นเงิน 800 บาท
  • ค่าจัดทำเอกสารสรุปโครงการ คู่มือและสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เป็นเงิน 1,300 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำชุมชนได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 20 คน หญิงตั้งครรภ์ได้รับการสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจ จำนวน 40 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 2 การติดตามหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การติดตามหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุสำหรับรณรงค์ในชุมชน/ตรวจและติดตามในชุมชน เป็นเงิน 2,200 บาท ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการตามอัตราข้อบังคับกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์ 40 คน ได้รับการติดตาม (ขณะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอด)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6200.00

กิจกรรมที่ 3 การจัดหวัสดุและอุปกรณ์เยี่ยมบ้าน(บริการหลังคลอด)

ชื่อกิจกรรม
การจัดหวัสดุและอุปกรณ์เยี่ยมบ้าน(บริการหลังคลอด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ตรวจหลังคลอด,อุปกรณ์เยี่ยมหลังคลอด จำนวน 60 ชุด ชุดละ 150 บาท  เป็นเงิน    9,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงหลังคลอด(พร้อมบุตร)ได้รับการดูแล

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1.การดำเนินงานเป็นไปตามเงื่อนไขระเบียบวิธีปฏิบัติตัวชี้วัดและการติดตามของกระทรวงสาธารณสุข 2.โครงการอนุมัติการดำเนินการโดย นพ.สสจ.สงขลา 3.ถัวเฉลี่ยทั้งโครงการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ตื่นตัวในการฝากครรภ์ครั้งแรกอายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง
2. หญิงตั้งครรภ์ ได้รับความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ และมีทีมแกนนำพ่อแม่ได้รับการพัฒนา ร่วมด้วย
3. ทีมแกนนำพ่อแม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ


>