กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสมและความเหมาะสมและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (คณะกรรมการหลักฯ) สนับสนุน ประสานและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้ประสานหารือการดำเนินงานกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยและหน่วยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในปี 2549 คณะกรรมการหลักจึงออกประกาศ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้สนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือเทศบาลดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ โดยปีแรก สปสช. ร่วมกับ อบต. และเทศบาลนำร่องให้มีกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่ (กองทุนฯ) รวม 888 แห่ง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561ได้ให้คำนิยามการจัดบริการสาธารณสุขว่า การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกตามที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และเอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ การรับเงิน การเก็บรักษาเงิน การจ่ายเงินการทำบัญชีและรายงาน โดยสนับสนุนและส่งเสริมในประชาชนทุกคนโดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 5 กลุ่มได้แก่กลุ่มแม่และเด็กกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ให้สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อมความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2561 ลงวันที่ 1ตุลาคม 2561ข้อ10 (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ข้อ 7 วรรคหนึ่งในแต่ละปีงบประมาณ นั้น
จึงมีนโนบายที่มุ่งเน้นการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดบ้านติดเตียง) ให้ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยและ สปสช.เห็นชอบร่วมกันสนับสนุนให้ อปท. เป็นหน่วยงานหลักหรือเจ้าภาพในการบริหารจัดการการพัฒนาระบบบริการดูแลระยะยาวฯเพื่อให้เกิดบริการดูแลระยะยาวฯ เชิงรุกที่บ้าน หรือที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของเครือข่ายหน่วยบริการประจำในพื้นที่เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพคณะกรรมการหลักฯได้ออกประกาศเพิ่มเติม เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท. ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 โดยเนื้อหาของประกาศจะเชื่อโยงกับประกาศคณะกรรมการหลักฯ เพื่อให้การดำเนินงานหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนและท้องถิ่น สำนักงานเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำจึงได้จัดทำแผนงาน โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ประจำปีงบประมาณ2563ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพ ผลประเมินกองทุนได้

คณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และแกนนำสุขภาพมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ผลการประเมินกองทุนได้

0.00
2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน

สามารถอนุมัติและจัดทำแผนงาน/โครงการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ

0.00
3 เพื่อสร้างประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่นวัตกรรมชุมชน

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่นวัตกรรมชุมชน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำแผนสุขภาพชุมชน

ชื่อกิจกรรม
จัดทำแผนสุขภาพชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง 35 บ x 300 คน x 1 ครั้ง = 10,500 บาท ค่าเรือ ไปกลับ  4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14500.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด

ชื่อกิจกรรม
ประชุมตามแผนงานและวาระที่กำหนด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1กิจกรรมย่อย ประชุมคณะกรรมการกองทุนฯ ค่าตอบแทน 400 บ x 21 คน x 4 ครั้ง = 33,600 บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ x 21 คน x 4 ครั้ง = 2,940 บาท 2.2กิจกรรมย่อย ประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ ค่าตอบแทน 300 บ x 51 คน x 4 ครั้ง = 61,200 บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ x 51 คน x 4 ครั้ง = 7,140 บาท 2.3 กิจกรรมย่อย ประชุมคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ(LTC) ค่าตอบแทน 300 บ x 10 คน x 4 ครั้ง = 12,000 บาท ค่าอาหารว่าง 35 บ x 10 คน x 4 ครั้ง = 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
118280.00

กิจกรรมที่ 3 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

ชื่อกิจกรรม
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
คณะกรรมการ LTC  ,คณะอนุกรรมการฯ , คณะกรรมการกองทุนฯ เป็นเงิน 4,130 บาท 4.ค่าธรรมเนียมและค่าลงทะเบียน เป็นเงิน 2,000 บาท 5.ค่าตอบแทนสำหรับพี่เลี้ยง เป็นเงิน 2,000 บาท 6.กิจกรรมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและศึกษาดูงาน เป็นเงิน 3,000บาท 7.วัสดุสำนักงาน วัสดุคอมพิวเตอร์ เป็นเงิน 3,000 บาท 8.ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารกองทุน เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16130.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 148,910.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.คณะกรรมการกองทุนคณะอนุกรรมการคณะทำงานและแกนนำสุขภาพมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
2. การเสนอแผนงาน หรือโครงการ แผนสุขภาพชุมชน หรือกิจกรรมที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ
3. การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถเติมเต็มระบบหลักประกันสุขภาพโดยเฉพาะการบริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลเชิงรุกให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงระบบสุขภาพมากขึ้น


>