กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมความครอบคลุมของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0 – 5 ปี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ (ร้อยละ)

 

77.36
2 ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ (ร้อยละ)

 

45.10
3 ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ (ร้อยละ)

 

37.93
4 ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ (ร้อยละ)

 

33.85

การสร้างเสริมสุขภาพ หรือ HealthPromotion โดยการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนถือว่ามีความสำคัญต่อการป้องกันร่างกายไม่ให้เกิดโรคติดต่อบางชนิดได้ และโรคส่วนใหญ่ที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนมักไม่มียารักษา เมื่อเกิดโรคชนิดนั้นๆได้ การสร้างเสริมถูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนถือว่าเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุดในปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก มักจะไม่พาบุตรหลานมาฉีดวัคซีน มีสาเหตุเพราะกลัวจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอาการไข้ ปวด บวม และแดง บริเวณที่ฉีด และมีความเชื่อในเรื่องของศาสนาว่าวัคซีนไม่ฮาลาล จึงไม่พาบุตรหลานมาฉีดวัคซีน
พบว่า ความคลอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ ปี 2562 ค่อนข้างต่ำ ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 77.36ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 45.10 ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 37.93 และความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 33.85และในปัจจุบันมีโรคติดต่อมากมายที่เกิดจากโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคหัด โรคคอบตีบ โรคไอกรน สถานการณ์โรคหัดในจังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยด้วยโรคหัด จำนวน 718 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคหัด 6 ราย สถานการณ์โรคหัดในอำเภอเจาะไอร้อง พบผู้ป่วยด้วยโรคหัด จำนวน 13 ราย แต่ยังไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต และสถานการณ์โรคหัดในตำบลบูกิต พบผู้ป่วยด้วยโรคหัด จำนวน 7 ราย แต่ยังไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิตจากปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปีแนมูดอ ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความครอบคลุมของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเด็กอายุ 0 – 5 ปี เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับวัคซีนที่สามารถป้องกันโรค ได้ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์

เด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 95

22.64 95.00
2 เพื่อให้เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์

เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

54.90 70.00
3 เพื่อให้เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์

เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

62.07 70.00
4 เพื่อให้เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์

เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์ ร้อยละ 90

66.15 70.00
5 เพื่อไม่ให้เกิดโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกืดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน

1.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ครูผู้ดูแลเด็ก 3
ผู้นำศาสนา และผู้นำชุมชน 5
อสม. 12

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจจกรม 1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคภายใต้หลักศาสนา งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 65 คน x 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน 3,250 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันจำนวน 65 คน x 60 บาท X 1 มื้อ เป็นเงิน 3,900 บาท 3.ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ผืน ขนาด 1.5 X 2 เมตร เป็นเงิน 750 บาท 4.ค่าวิทยากร 600 บาท x 6 ชม. x 1 วัน เป็นเงิน 3,600 บาท 5.ค่าจัดทำแบบสอบถามก่อน-หลังให้ความรู้ จำนวน 600 บาท รวมเป็นเงิน 12,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต :ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน
ผลลัพธ์ : ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 - 5 ปี เพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12100.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตาม และประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตาม และประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1. ประเมินผลความรู้ เปรียบเทียบก่อน-หลังการให้ความรู้
2. มีการติดตามเด็ก เพื่อให้มารับวัคซีนทุกเดือน 2.ประเมินผล / สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 - 5 ปี เพิ่มมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 – 5 ปี มีความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน
2.ความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนของเด็กอายุ 0 - 5 ปี เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 5
3.เด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกืดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน


>