กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพตำบลบูกิต

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

กลุ่มไฮโดรโปนิกส์ตำบลบูกิต

กลุ่มไฮโดรโปนิกส์ตำบลบูกิต
1. นางสาวนูยีฮะห์แซะ
2. นางรอซีดะห์ฮะมะ
3. นางโนรไลลาโต๊ะเซ็ง
4. สาวิตรีสะตำ
5. นางฮามีดะห์ วาหนิ

พื้นที่ตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนประเทศไทย การปลูกพืชในสมัยก่อนจะใช้วิธีการปลูกพืชในดิน ซึ่งการปลูกพืชในดินก็เป็นวิธีที่นิยมปฏิบัติกันทั่วไป ทั้งนี้เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่ายและไม่ต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษ แต่ก็พบปัญหามากเช่นกัน ซึ่งได้แก่ ปัญหาสภาพอากาศ เช่น ในฤดูแล้ง พื้นดินจะแห้งและขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้เป็นอุปสรรคในการเพาะปลูก เพราะการปลูกพืชวิธีนี้ใช้ดินเป็นองค์ประกอบหลัก ความเสี่ยงในผลผลิต สมัยก่อนการเพาะปลูกนั้นจะทำเพื่อบริโภคในครัวเรือน ส่วนที่เหลือก็นำไปแลกเปลี่ยนกับเครื่องอุปโภค บริโภคแทนการใช้เงินซื้อ การเพาะปลูกระบบนี้จึงเป็นการเพาะปลูกแบบพอเพียง จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช แต่ปัจจุบันจุดประสงค์ของการปลูกเปลี่ยนมาเป็นเพื่อการค้า และใช้ระบบการปลูกแบบขยายวงกว้างซึ่งมีความยากลำบากในการป้องกันปัญหาจากศัตรูพืช ดังนั้นจึงมีการนำยาฆ่าแมลงเข้ามาใช้ เพื่อให้ผลผลิตที่ได้มีความสวยงาม และเมื่อนำออกสู่ตลาดจะขายได้ราคาดี แต่การทำเช่นนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อรับประทานเข้าไปเป็นเวลานาน สารพิษเหล่านี้ก็จะสะสมและตกค้างอยูในร่างกาย ข้อจำกัดของสถานที่ ขึ้นชื่อว่าการปลูกพืชในดินก็จะต้องปลูกในสถานที่ที่เป็นดิน ทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จำกัด เช่น แฟลต หรือ อาคารชุด ไม่สามารถเพาะปลูกได้ จากปัญหาข้างต้นนี้ทำให้มีผู้นำวิธีการปลูกพืชแบบใหม่เข้ามาใช้เพื่อลดปัญหาข้างต้น ซึ่งวิธีการที่ว่านี้ก็คือ “การปลูกพืชแบบไร้ดิน (Soilless Culture)”
ไฮโดรโปนิกส์ มีประโยชน์หลักๆ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสำหรับการเติบโตของพืชแทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม ทำให้กำจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมากประการที่สองก็คือ พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และในบางครั้งก็มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมด้วย ซึ่งในสภาพแวดล้อมและสภาพการเศรษฐศาสตร์หนึ่งๆการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะให้ผลกำไรแก่เกษตรกรมากขึ้น และด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดินจึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช ไม่ต้องจัดการดินและยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้ด้วยเหตุนี้พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าเดิมขณะที่ใช้พื้นที่จำกัด นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำน้อยมากเพราะมีการใช้ภาชนะ หรือระบบวนน้ำแบบปิดเพื่อหมุนเวียนน้ำเมื่อเทียบกับการเกษตรแบบเดิมแล้ว นับว่าใช้น้ำเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น
ด้วยคุณภาพที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ไฮโดรโปนิกส์มีประโยชน์กับการปลูกพืชที่ไม้ใช่วิธีการแบบเดิมๆ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ได้เสนอมานานแล้ว
ผู้จัดทำโครงการเห็นว่าการปลูกผักแบบไร้ดิน เป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การเกษตรของบ้านเราสามารถก้าวไกลไปได้อีก อีกทั้งยังสามรถทำได้โดยไม่ต้องมีพื้นที่ที่กว้างขวางมากนัก และเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้สนใจที่จะทำการเกษตรในแนวนี้ ทั้งเป็นการช่วยเหลือผู้ บริโภคในอีกทางหนึ่งด้วย เพราะในปัจจุบัน
ผักไฮโดรโปนิกส์เป็นพืชผักที่ปลูกง่ายในด้านผักสลัดและเป็นการปลูกผักที่ประหยัดพื้นที่ ผักไฮโดรโปนิกส์ประเภทผักสลัดนั้นมีประโยชน์มากมายสามารถบริโภคได้ตั้งแต่ เด็กยันผู้สูงอายุ สามารถทานได้เพื่อสุขภาพและเพื่อการบริโภคต่างๆ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย เป็นนวัตกรรมการปลูกผักแบบใหม่ที่เป็นที่น่าสนใจในยุคปัจจุบันและคิดว่าในอนาคตนี้จะเป็นที่นิยมกันมากในสังคม ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับการรับประทานพืชผักที่ปลอดสารพิษกันมาขึ้น อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วยด้วยเหตุนี้จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพตำบลบูกิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์เพื่อสุขภาพ

ร้อยละ80 มีความรู้เรื่องการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์เพื่อสุขภาพ

30.00 30.00
2 เพื่อให้ประชาชนที่สนใจสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ในการพัฒนาและใช้ในการดำรงชีวิตต่อไปได้

ร้อยละ80 ของกลุ่มเป้าหมายที่สนใจสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ในการพัฒนาและใช้ในการดำรงชีวิตต่อไปได้

30.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ประชาสัมพันธ์โครงการ
รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องคำสำคัญของผักต่อสุขภาพและสาธิตการปลุกผัก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องคำสำคัญของผักต่อสุขภาพและสาธิตการปลุกผัก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 60 บาทx 1 มื้อ = 1,800 บาท

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 25 บาท x 2 มื้อ= 1,500 บาท

ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1 x 3 เมตร= 750 บาท

ค่าวิทยากร 1 คน x 3 ชม. X 600 บาท = 1,800 บาท

ค่าวิทยากรปฎิบัติการ1 คน x2 ชม. X 600 บาท = 1,200 บาท

ชุดสาธิตการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์2 ชุดๆละ 1,475 บาท = 2,950บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
1.เสนออนุมัติโครงการ
2.ประชุมวางแผน
3.แต่งตั้งคณะทำงาน
4.ดำเนินงาน
-จัดซื้ออุปกรณ์และแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ จำนวน 2 แปลง
-จัดกิจกรรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
5.ประเมินผล
6.สรุปรายงานผล

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพที่ดี
2.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อสุขภาพ
3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ที่ได้รับนำไปใช้ในการพัฒนาและใช้ในการดำรงชีวิตต่อไปได้
4.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถถ่ายทอดความรู้แก่กลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองซึ่งกันและกันได้ตลอดจนบุคคลใกล้ชิด


>