กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดบูเกะตาโมง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดบูเกะตาโมง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำมัสยิดบูเกะตาโมง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (3ขึ้นไป-6 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

 

48.00

สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรก และอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 1-3 ปี สาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธี และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรง ทำให้เด็กมีความเจ็บปวด เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ ได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้
การเกิดฟันผุในฟันน้ำนม นอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้ว
ยังมีผลเสีย ต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วย กล่าวคือฟันน้ำนมที่เสีย ถูกถอน หรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวน เก ล้ม เอียง เข้าหาช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติ อาจจะขึ้นมาในลักษณะบิด ซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็ก ซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออก
ปัจจุบันเด็กๆ นิยมรับประทานขนมคบเคี้ยวเป็นจำนวนมาก ในท้องตลาดมีขนมจำหน่ายมากมาย หลายชนิด , ลูกอมต่างๆ และเด็กๆ ติดขวดนม เป็นสาเหตุของโรคฟันผุ เป็นโรคที่มีอัตราสูงในทุกกลุ่มอายุและก่อให้เกิดผลเสียต่อการเคี้ยวอาหาร และสุขภาพโดยรวม โรคฟันผุเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันได้ด้วย พฤติกรรมทันตสุขภาพที่เหมาะสม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นในช่วงปฐมวัย ด้วยการบ่มเพาะพฤติกรรม การทำความสะอาด และการบริโภคอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพและไม่เสี่ยงต่อฟันผุ ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันโรคฟันผุ ได้ด้วยตนเอง โครงการดูและสุขภาพในช่องปากให้แก่เด็ก
สุขภาพช่องปากเด็กมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อสุขภาพทั่วไปของเด็ก แต่ปัจจุบันพบเด็กเล็กอายุ 2-5 ปีเป็นโรคฟันผุเกือบทุกคน บางคนฟันผุเกือบทั้งปาก ทำให้เด็กๆ ต้องทนทุกข์ทรมานจากการปวดฟันหรือ เจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคฟันผุ อันจะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กในระยะยาว ซึ่งหากครูพี่เลี้ยง และผู้เลี้ยงดูเด็กที่บ้านร่วมมือกันช่วยดูแลเด็กอย่างเหมาะสม จะมีส่วนช่วยให้เด็กเป็นโรคฟันผุลดลงการที่เด็กมีสุขภาพฟันดี จะส่งผลให้เด็กมีสุขภาพกายดี และสุขภาพจิตที่ดีด้วย
การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจร การตรวจสุขภาพ ช่องปากการให้สุขศึกษา บริการทันตกรรม การแปรงฟันที่ถูกวิธี การบำบัดรักษา และการติดตาม ประเมินผลทางฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบูกิต ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบูกิตได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว
การที่เด็กมีปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมของเด็กการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคฟันผุในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ให้มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยลดการเกิดฟันผุในฟันน้ำนม โดยครูผู้ดูแลเด็กเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะพัฒนาให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปลอดภัยจากปัญหาสุขภาพช่องปากเนื่องจากเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุดในช่วงที่เด็กอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อีกทั้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาเด็กเล็ก (0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ

จำนวนเด็กเล็ก(0-3 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุ (คน)

48.00 48.00
2 เพิ่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพปากและฟัน

ร้อยละของผู้ปกครองมีความรู้และมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพปากและฟัน

48.00 48.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 48
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพให้กับผู้ปกครองและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพให้กับผู้ปกครองและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.5 x 3 ม. จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,125 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 48 คนๆ ละ 25 x 2 มื้อ เป็นเงิน2,400 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำวน 48 คนๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน2,880 บาท
  4. ค่าวิทยากร 1 คน x 6 ช.ม ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
  5. ค่าวัสดุประกอบการอบรมชุดละ 100 บาท x 48 ชุดเป็นเงิน4,800บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพให้กับผู้ปกครองและเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14805.00

กิจกรรมที่ 2 2. สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับผู้ปกครองและเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
2. สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธีให้กับผู้ปกครองและเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,805.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจตลอดจนทักษะจำเป็นในการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพในเด็กปฐมวัย
๒.ลดการเกิดโรคฟันผุของเด็กอายุ 2–5 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
๓. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็ก และชุมชนในการป้องกันโรคฟันน้ำนมผุในเด็กอายุ 2-5 ปี


>