กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการท้องเมื่อพร้อม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่๕ปาแดลางา

๑. นางสาวสารีฮากาเดร์
๒. นางสาวแวเยาะมะแซ
๓. นางสาวรอบีย๊ะ ยะโก๊ะ
๔. นางสาวยามีหล๊ะ แตซู
๕. นายมะดาโอะเจะ ปอ

หมู่ที่ 5 บ้านปาแดลางา ตำบลปุโละปุโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เยาวชนเป็นวัยที่กำลังจะก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่

 

80.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพบว่าการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อมมักก่อเกิดปัญหาตามมามากมายทั้งต่อตัวเอง และครอบครัว มีข้อมูลจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่าสภาวะการ ตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควรของหญิงอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีบริบูรณ์ และหญิงอายุต่ำกว่า ๒๐ ปีบริบูรณ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๘ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบทุกปี การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือ
ท้องวัยทีน คือ การตั้งครรภ์เมื่ออายุ ๑๙ ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ ๑๐ – ๓๐ ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุข
ที่สำคัญ ของทุกประเทศทั่วโลก ใน ๑๐ ปี มานี้เอง ท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากร้อยละ ๑๐ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นกว่าร้อยละ ๒๐ ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของคุณแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลงต่ำสุดพบเพียง ๑๒ ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยทีนมีจำนวนลดลงตามลำดับ ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการท้องในวัยทีน ได้แก่ ฐานะยากจน เล่าเรียนน้อย ดื่มสุรา ติดยาเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวและความอยากรู้อยากลองของวัยรุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ยากมากปัจจุบันตำบลปุโละปุโยยังพบว่าในปี 2562มีจำนวนเด็กที่คลอดจากแม่วัยทีน อายุ 10 –19 ปี คิดเป็นร้อยละ 15 ของการ

คลอดทั้งหมดและตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์หรือท้องก่อนวัยอันควรอยู่ที่ร้อยละ 7 ซึ่งปัญหานี้ส่งผลต่อการทำงานของอนามัยแม่และเด็ก
ทำให้อัตราการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ไม่ผ่านเกณฑ์ เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อม การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (HIV) การทำแท้ง การคลอดบุตรแล้วนำไปทิ้ง เป็นต้น
ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่๕ปาแดลางาตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงดำเนินโครงการการท้องเมื่อพร้อม แก่เด็กและเยาวชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างค่านิยมใหม่กับวัยรุ่นไทยให้รู้จักรักและเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ให้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไปในอนาคตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ

– เด็กและเยาวชนได้มีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศร้อยละ ๑๐๐

80.00 1.00
2 2. เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงผลของการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อม

– เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงผลของการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อมได้ร้อยละ ๖๐

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้ในการอบรมความพร้อมของการตั้งครรภ์ แก่เด็กและเยาวชน

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้ในการอบรมความพร้อมของการตั้งครรภ์ แก่เด็กและเยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน ๒ คนxคนละ๒ชม.xชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท = ๒,๔๐๐บาท
  • ค่าอาหารกลางวันพร้อมน้ำดื่ม จำนวน ๕๐ คนx ๕๐ บาทxจำนวน ๑ มื้อ = ๒,๕๐๐บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คนx ๒๕ บาทxจำนวน ๒ มื้อ
  • =๒,๕๐๐  บาท
  • ค่าป้ายโครงการ (กิจกรรมอบรม)ป้ายไวนิล ขนาด ๑.๒x๓ เมตรxจำนวน
    ๑ ป้าย = ๗๒๐ บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม= ๑,๘๘๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.  เด็กและเยาวชนได้มีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ๒.  เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงผลของการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กและเยาวชนได้มีทักษะ และภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ
๒. เด็กและเยาวชนได้ตระหนักถึงผลของการตั้งครรภ์ในวัยที่ยังไม่พร้อม


>