กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พร่อน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผักปลอดภัยไร้สารพิษเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน ประจำปี 2562

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พร่อน

องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน

อาคารอเนกประสงค์ หมู่ที่ 5 บ้านโคกยาง ตำบลพร่อนอำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผักเป็นอาหารประจำวันของมนุษย์และยังเป็นแหล่งอาหารที่ให้แร่ธาตุวิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ประกอบกับมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลการวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอผล ผลการวิจัยของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเซียชี้ให้เห็นว่าประชากรของประเทศไทย โดยเฉพาะผู้สูงอายุสตรีมีครรภ์และเด็กมักขาดแคลนแร่ธาตุวิตามินกันมาก ประกอบกับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบทำให้มีค่าครองชีพสูง ประกอบกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตรมาก ทำให้สภาพดินเสื่อมโทรม ทำให้เกษตรกรได้รับสารตกค้างจากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีจากการประกอบอาชีพทางการเกษตรดังกล่าว ส่งผลทำให้สุขภาพร่างกายของเกษตรกรทรุดโทรมและผลผลิตทางการเกษตรเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 (3) ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการผักปลอดภัยไร้สารพิษเพื่อ สุขภาวะที่ดีของประชาชนประจำปี 2562 ขึ้นเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรปลูกผักมีความรู้และมีความตระหนักในการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีประชาชนได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัย ตลอดจนส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรปลูกผักมีรายได้เพิ่มขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรปลูกผักมีความรู้และมี ความตระหนักในการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี

จำนวนเกษตรกรปลูกผัก หมู่ที่ 5 บ้านโคกยาง เข้าร่วมโครงการ
ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนบริโภคพืชผักที่ปลอดภัย

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเกษตรกรปลูกผักมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/08/2019

กำหนดเสร็จ 26/08/2019

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรปลูกผักเกี่ยวกับ การปลูกผักปลอดภัยไร้สารพิษ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกรปลูกผักเกี่ยวกับ การปลูกผักปลอดภัยไร้สารพิษ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม   50 คน X 25 บาท X 2 มื้อ เป็นเงิน  2,500  บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน              50 คน X 50 บาท X 1 มื้อ  เป็นเงิน  2,500  บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร            1  คน X 600 บาท X 6 ชม.       เป็นเงิน  3,600  บาท
  • ค่าป้ายโครงการ     ขนาด 1.2 เมตร X 2.4 เมตร                    เป็นเงิน     500  บาท
  • ถุงร้อนใส ขนาด 10 x 15 นิ้ว  จำนวน 10 แพ็คๆ ละ  50 บาท  เป็นเงิน     500  บาท
  • ถุงร้อนใส ขนาด   6 x 9 นิ้ว    จำนวน 10 แพ็คๆ ละ  50 บาท  เป็นเงิน     500  บาท
  • ถุงร้อนใส ขนาด   8 x 12 นิ้ว  จำนวน 10 แพ็คๆ ละ  50 บาท  เป็นเงิน     500  บาท
  • ถุงร้อนใส ขนาด   9 x 14 นิ้ว  จำนวน 10 แพ็คๆ ละ  50 บาท  เป็นเงิน     500  บาท
  • สติกเกอร์ผักปลอดสารพิษ                                              เป็นเงิน     500  บาท
  • น้ำยาตรวจสารปนเปื้อนในผัก                                           เป็นเงิน   5,000  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนเกษตรกรกลุ่มปลูกผักจะได้มีความรู้และมีความตระหนักในการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีและทำให้ได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัยและยังสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นให้กับทางกลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนเกษตรกรกลุ่มปลูกผักจะได้มีความรู้และมีความตระหนักในการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีและทำให้ได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัยและยังสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง ให้กับกลุ่มปลูกผัก


>