กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ต้านภัยบุหรี่ โดย อสม.เชี่ยวชาญบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางตาวา(อสม.)

๑.นส.เจะเส๊าะดอเล๊าะ
๒ายหมัดนุรดีน อาแว
๓.นายวสันต์เจ๊ะมูซอ
๔.นายเล๊าะตาเละ
๕.นส.นุสนีหะยีสาเมาะ

ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและเยาวชน(อายุไม่เกิน 25 ปี) ที่สูบบุหรี่

 

40.00
2 จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี (คน)

 

80.00

การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรลำดับสองของคนไทย โดยประมาณหนึ่งในหกของชายไทย และหนึ่งในยี่สิบห้าของหญิงไทยที่เสียชีวิตมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ ปี๒๕๕๗ ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของประชากรไทย อายุตั้งแต่ ๑๕ ปีขึ้นไป โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ปัจจุบัน จำวน ๑๑.๔ ล้านคน คิดอัตราสูบบุหรี่ ๒๐.๗% โดยแยกผู้สูบประจำ จำนวน ๑๐.๐ ล้านคน สูบเป็นครั้งคราวจำนวน ๑.๔ล้านคน เคยสูบ แต่เลิกแล้วจำนวน ๓.๗ล้านคน อัตราสูบบุหรี่ปัจจุบันในเยาวชนกลุ่มอายุ ๑๕-๑๘ปี จำนวน๓๕๓,๘๙๘คน คิดเป็นอัตรา๘.๓% กลุ่มอายุ ๑๙-๒๔ปี จำนวน ๑,๐๕๙,๘๓๙คน คิดอัตรา๑๙.๘% เด็กไทยติดบุหรี่ใหม่เพิ่มปีละ ๒๐๐,๐๐๐คน ติดก่อนอายุ ๑๘ ปี จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ๗๐ ของเยาวชนที่ติดบุหรี่จะติดไปตลอดชีวิต ส่วนร้อยละ ๓๐ จะเลิกได้หลังจากติดบุหรี่ไปแล้วเป็นเวลา ๒๐ ปี (ข้อมูลรวบรวมโดย ดร.ศรัณญา เบญจกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ชุมชนถือว่าเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของประชาชน คติความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่น เป็นศูนย์รวมให้ชาวบ้านกับชุมชนมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นสัญลักษณ์ทางกายภาพและจิตวิญญาณที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละท้องถิ่น ชุมชนต้นแบบในสร้างสุขภาพ จึงเป็นรูปแบบหนึ่งโดยใช้คนในชุมชนเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมให้กับประชาชน ชุมชน โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านมีการส่งเสริมสุขภาพที่ดี มีการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และเกิดการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยให้ชุมชนเอื้อโอกาสต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนตำบลบางตาวา จึงดำเนินการโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพต้านภัยบุหรี่ให้ “ชุมชนปลอดบุหรี่” เป็นสถานที่พัฒนาร่างกาย จิตใจ สังคม ประเพณี วัฒนธรรม เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน ครอบครัว และชุมชนด้วยหลักการส่งเสริมสุขภาพ ๕ ร. คือ ร่มรื่นสะอาดปลอดควันบุหรี่ร่มเย็นสงบสดชื่นปลอดโรคร่วมสร้างสุขภาพ ๓ อ. ๒ ส. ร่วมจิตวิญญาณสร้างสุขภาพ และร่วมคิดพัฒนาและตอบสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนโครงการ ๓ ล้าน ๓ ปีเลิกบุหรี่ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ ๑.เพื่อให้ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง ลด ละ เลิกสูบบุหรี่ เป็นการ กระจายบริการช่วยเลิกสูบบุหรี่โดย อสม.เชี่ยวชาญเรื่องบุหรี่

มีเยาวชนต้นแบบเป็น idol เยาวชนสุขภาพดีปลอดบุหรี่ตำบลบางตาวา

0.00
2 ข้อที่ ๒.เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการคณะทำงานชุมชนและบุคลต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ต้านภัยบุหรี่

ตอบสนองนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการขับเคลื่อนโครงการ ๓ ล้าน ๓ ปีเลิกบุหรี่ ทั่วไทย เทิดไท้องค์ราชัน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. กิจกรรม จัดอบรมให้ความรู้บุคลต้นแบบเยาวชน ลด ละ เลิกบุหรี่ ค่าวิทยากร..๑,๘๐๐.บ.x๑คน =๑,๘๐๐บ. ค่าอาหารกลางวัน๕๐บx.๘๐คน=๔,๐๐๐บ ค่าอาหารว่าง.๕๐บ.x๘๐คน =๔,๐๐๐บ ค่าวัสดุ = ๓,๑๐๐ บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. มีข้อมูลสถิติจำนวนผู้สูบุบุหี่ในพื้นที่
  2. เด็กมีความรู้มากขึ้นหลังจากการเข้าร่วมอบรม
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์สกัดกั้นนักสูบลหน้าใหม่หมดสิ้นไป

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์สกัดกั้นนักสูบลหน้าใหม่หมดสิ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เดินรณรงค์พื้นที่โดยภาคีเครือข่ายและสร้า

- จัดทำสื่อเลิกบุหรี่ ป้ายไวนิล 1ป้าย
- สื่อสติกเกอร์ เขตห้ามสูบบหรี่ที่มัสยิดสถานที่ราชการ สถานที่สาธารณะ - มอบป้ายครัวเรือนปลอดบุหรี่ให้ครัวเรือนที่ไม่มีผู้บุหรี่ 20ครัวเรือน -

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. จำนวนนักสูบบุหรี่รายใหม่ในเยาวชนลดลง
  2. เกิดภาตีร่วมใจต้านภัยบุหรี่บุหรี่และเกิดครัวเรือนปลอดบุหรี่ 3.เกิดเยาวชนต้นแบบสุขภาพดีปลอดบุหรี่ตำบลบางตาวา
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.มีบุคลต้นแบบ idol เยาวชนสุขภาพดีปลอดบุหรี่ตำบลบางตาวา
๒.ลดปัญหาการใช้สารเสพติดทุกชนิด รวมถึงบุหรี่/สุรา ในวัยรุ่น/วัยเรียน
๓.หยุดสกัดกั้นนักสูบหน้าใหม่หมดสิ้นไป
๔.เยาวชนลด ละ เลิกสูบบุหรี่ในระดับชุมชน และตำบลบางตาวา
๕.การกระจายบริการช่วยเลิกสูบบุหรี่โดย อสม.เชี่ยวชาญด้านบุหรี่
๖.เกิดภาคีร่วมใจต้านภัยบุหรี่
๗.ชุมชนสุขภาพดี ปลอดบุหรี่ตำบลบางตาวา


>