กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการสาธารณสุข

เทศบาลเมืองควนลัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

 

250.00

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นของประเทศไทย ที่พบว่ามีการเกิดโรคเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และพบโรคไข้ปวดข้อยุงลาย (โรคชิคุนกุนยา) เป็นบางปี กระจายไปทั่วทุกพื้นที่และมีแนวโน้ม การเกิดโรคกับประชาชนทุกกลุ่มอายุ หากมีการตรวจวินิจฉัยขั้นต้นไม่ถูกต้องแล้ว อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะช็อคและอาจเสียชีวิตได้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
จากสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออก ข้อมูลระบาดวิทยาตำบลควนลังตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕7 –๒๕62 (1 มกราคม 2562 – 6 สิงหาคม 2562) พบว่าผู้ป่วยไข้เลือดออก 105, 88, 70, 146 และ 124และ259ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชากร คือ 223.39, 228.74, 135.36, 361.48 และ 275.56 ตามลำดับ และพบผู้ป่วยเสียชีวิต ๑ ราย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งอัตราป่วยดังกล่าวนี้ เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (เกณฑ์ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร) จากการศึกษาข้อมูล พบว่าอัตราการเกิดโรคครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลเมืองควนลัง กลุ่มประชากรที่เกิดโรคมากที่สุด คือกลุ่มอายุ ๑๐-๑๔ ปี ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียน ช่วงเวลาของการเกิดโรคสูงสุดในเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ ยังมีรายงานการเกิดโรคเกิดขึ้นทุกๆ เดือน และเมื่อมาวิเคราะห์สถานการณ์การเกิดโรคแล้ว มักเกิดจากสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค เช่น มีน้ำขังตามแอ่งและภาชนะต่างๆที่ใช้และไม่ใช้ในครัวเรือน โรงเรียน วัด และสถานที่ต่างๆ ซึ่งถือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ยุงลายสามารถวางไข่เติบโตเป็นตัวแก่ อาศัยอยู่ตามบ้านเรือน หากยุงลายตัวใดมีเชื้อไข้เลือดออก กัดบุคคลในครัวเรือนเข้าก็ปล่อยเชื้อและเกิดเป็นไข้เลือดออกในเวลาต่อมา วงจรชีวิตนี้จะวนเวียนตลอดไป
ดังนั้น งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ ฝ่ายบริการสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำโครงการ “โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563” เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยอาศัยวิธีการทั้งทางด้านกายภาพ ชีวภาพและเคมีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 3,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขั้นเตรียมการ
๑. จัดทำโครงการฯเพื่อขออนุมัติจากผู้บริหารเทศบาลเมืองควนลัง ๒. เสนอโครงการฯเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง           ๓. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการฯร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ๔. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินงานตามโครงการฯ ๕. ติดต่อประสานงานกับโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด ผู้นำชุมชน อสม. สมาชิกสภาเทศบาลเมืองควนลัง เพื่อขอความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย         ๖. ติดต่อประสานงานกับสมาชิกสภาเทศบาล ผู้นำชุมชน อสม. และกองวิชาการและแผนงานเพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์โครงการฯ
ขั้นดำเนินงาน 1. ให้บริการพ่นหมอกควันในชุมชน วัด มัสยิด และโรงเรียน เพื่อป้องกันและควบคุมโรค ไข้เลือดออก และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ทั้งในช่วงปกติและที่มีการระบาด 2. สอบสวนโรค (กรณีมีผู้ป่วยไข้เลือดออก) 3. สำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้าน ชุมชน วัด และโรงเรียน ทุกเดือน
         4. จัดกิจกรรมประกวดชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย 5. จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6. สรุปผลการดำเนินการเสนอผู้บังคับบัญชาและรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองควนลัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิด และประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย และร่วมดำเนินกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ๒. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายในเขตเทศบาลเมืองควนลัง ไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร (ตามเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข) ๓. ลดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตเทศบาล อันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
950000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 950,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. โรงเรียน ศุนย์พัฒนาเด็กเล็ก วัด มัสยิดและประชาชนในชุมชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองควนลัง ไม่เกิน 50ต่อแสนประชากร
3. ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตเทศบาล


>