กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เรียง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เรียง

องการห์บรอหารส่วนตำบลเรียง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรืยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – ๗๒ เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม หากเด็กได้รับความรัก ความอบอุ่น การอบรมเลี้ยงดูที่เหมาะสมถูกต้อง ส่งเสริมพัฒนาการและประสบการณ์เรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัยของเด็ก ได้รับอาหารถูกหลักโภชนาการ การดูแลเอาใจใส่ ความมั่นคงปลอดภัย เด็กวัยนี้จะมีภาวะสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง พัฒนาการสมวัยทุกด้านทั้งทางร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม พร้อมที่จะเติบโตเป็นประชากรที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต
จากรายงานภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลเรียง มีจำนวน ๒๗๑ ราย พบว่า มีเด็กที่มีภาวะโภชนาการน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน ๒๙ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑๐.๗๐ ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่มีระดับความรุนแรงสูงในระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความร่วมมือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลเรียง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเรียงได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังทางโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป จึงได้มีการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสประจำปี 25๖๓

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อลดภาวะการขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ๒. เพื่อให้ปกครองเด็กแรงเกิด - ๗๒ เดือน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดอาหารได้ถูกต้อง ๓. เพื่อเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย

๑. เพื่อลดภาวะการขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ๒. เพื่อให้ปกครองเด็กแรงเกิด - ๗๒ เดือน มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการจัดอาหารได้ถูกต้อง ๓. เพื่อเสริมสร้างให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2019

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรงเกิด - ๗๒ เดือน

ชื่อกิจกรรม
โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการในเด็กแรงเกิด - ๗๒ เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเรียง อำเภอเรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นเงิน ๓๑.๗๐๐.-บาท (สามหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยบาทถ้วน) รายละเอียดดังต่อไปนี่ กิจกรรมที่ ๑. ประชุมผู้ปกครองเด็กและสาธิตอาหาร               ๑. ค่าอาหารกลางวัน ๑ มื้อๆละ ๕๐.- บาท X ๓ วัน จำนวน ๒๙ คน เป็นเงิน ๔,๓๕๐.- บาท               ๒. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒ มื้อๆ ละ ๒๕.- บาท x ๓ วัน จำนวน ๒๙ คน                                                                                                       เป็นเงิน ๔,๓๕๐.-บาท               ๓. ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการขนาด ๑.๒ x ๒.๔ เมตร จำนวน ๑ ป้าย                                                                                                       เป็นเงิน ๑,๐๐๐ .- บาท               ๔. ค่าวิทยากรสาธิตอาหาร จำนวน ๓ ครั่ง ๆ ละ ๑,๐๐๐.- บาท          เป็นเงิน ๓,๐๐๐ .- บาท               ๕. ป้ายโรลอัฟให้ความรุ้เกี่ยวกับโรคขาดสารอาหาร ธงโภชนาการ                ขนาด ๘๐ x ๒๐๐ ชม. จำนวน ๑ ป้าย    กิจกรรมที่ ๒ จัดมุมส่งเสริมพัฒนาการ               ๑. ตู้เก็บของและอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก          เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐.- บาท               ๒. จัดหาหนังสือนิทานและของเล่นเด็ก                    เป็นเงิน  ๕,๐๐๐.-  บาท                                                                           รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๑,๗๐๐.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
31700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 31,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เด็กแรกเกิด เด็กเล็กและเด็ก่อนวัยเรียนได้รับการตรวจประเมินพัฒนาการทุกคน
๒. ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนากาารและการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กแรกเิด เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
๓. เด็กแรงเกิด เด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการที่สมวัย


>