กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางขุนทอง

1. นางดวงดาว พรมเจียม
2. นางเฉลียว เพชรประหยัด
3. นายเสาร์ ขุนพรม
4. นางพยอม คงชำนิ
5. นางกมลวรรณ ทองเพิ่ม

ตำบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 (คน)

 

14.00
2 อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2562 ต่อแสนประชากร

 

371.94

หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาชุมชนตำบลบางขุนทอง มีจำนวนครัวเรือน ทั้งหมด 1244 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด จำนวนทั้งสิ้น 5,555 คน แยกเป็นชาย 2768 คนหญิง 2787 คนในปี 2562 (วันที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ข้อมูลทะเบียนราษฎ์อำเภอตากใบ) พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 14 ราย อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 371.94 ต่อแสนประชากร โรคไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาหนึ่งของตำบลบางขุนทอง และยังมีแนวโน้มผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น และจากการเดินทางที่สะดวกสบายและรวดเร็วการที่ประชาชนไปมาหาสู่กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นจะต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ร่วมบูรณาการกันป้องกันและควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ2. เปลี่ยนเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้นอาสาสมัครสาธารณสุขจึงได้ทำโครงการพลังชุมชนป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2563 ขึ้น เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือกออกในตำบลบางขุนทอง ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ร่วมบูรณาการกันป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในตำบลบางขุนทอง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวน และอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในประชาชนทุกกลุ่มวัย

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

14.00 7.00
2 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน ให้ช่วยกันดูแล และลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 70 ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

0.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 50 ชุมชนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก แก่เด็กนักเรียน และประชาชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก แก่เด็กนักเรียน และประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน และประชาชน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกสาธิตและฝึกปฎิบัติการใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 100 คนๆละ 50 บาทเป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 100 คนๆละ 25 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าไวนิล 1,000 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนจำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ สามารถใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14600.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกนำ้ยุงลายภายในชุมชนให้ตระหนักถึงการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกนำ้ยุงลายภายในชุมชนให้ตระหนักถึงการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ประชาสัมพันธ์การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกนำ้ยุงลายภายในชุมชนให้ตระหนักถึงการควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีความตระหนักถึงการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้
2. ประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
3. ชุมชนร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก


>