กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง

โรงเรียนบ้านโคกงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
โครงการคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 จากการเล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โดย เป้าหมาย คือ นักเรียนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการส่งเสริม เฝ้าระวัง สุขภาพของผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและเฝ้าระวังสุขภาพด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน ปี 2563 ขึ้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านฉลากผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น อาหารยาเครื่องสำอาง รวมทั้งอาหารเสริม และยังเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่นักเรียนและครูในโรงเรียนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารที่เหมาะสมอันจะส่งผลให้ครูและนักเรียนได้บริโภคอาหารที่สะอาดได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อยได้มีความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพและสามารถเลือกซื้อเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

ร้อยละ 80 นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี

0.00
2 2. เพื่อให้เด็กนักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

ร้อยละ 70 เด็กนักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. การจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาและครูประจำชั้น

ชื่อกิจกรรม
1. การจัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาและครูประจำชั้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาและครูประจำชั้น เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี โดยยึดหลัก “บริโภคถูกหลักโภชนาการ ปราศจากสารปนเปื้อน” เช่นหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด (หวาน มัน เค็ม) หลีกเลี่ยงการซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพตามโฆษณาชวนเชื่อ หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ หรือไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ (นึ่ง อบ ย่าง) อ่านฉลาก อาหาร ยา และเครื่องสำอาง ก่อนซื้อก่อนใช้ บริโภคนม ผัก และผลไม้เป็นประจำ รู้ทันอันตราย สเตียรอยด์ การใช้ยาปลอดภัยในโรงเรียนนักเรียน ครอบครัว เช่น อาหารสีสันฉูดฉาด อาหารที่ทอดด้วยน้ำมันทอดซ้ำ ของเล่นที่ไม่ปลอดภัย งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 50 คน เป็นเงิน 2,500 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี นักเรียนมีนำ้หนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 2. ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กนักเรียนเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
2. ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กนักเรียนเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามชั่งน้ำหนักเด็กนักเรียนเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนมีนำ้หนักและส่วนสูงตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3. จัดตั้งศูนย์รับแจ้งข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนหรือ ประชาสัมพันธ์ ผ่านทาง เวปไซด์Linefacebook เป็นต้น

ชื่อกิจกรรม
3. จัดตั้งศูนย์รับแจ้งข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนหรือ ประชาสัมพันธ์ ผ่านทาง เวปไซด์Linefacebook เป็นต้น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดตั้งศูนย์รับแจ้งข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียนหรือ ประชาสัมพันธ์ ผ่านทาง เวปไซด์  Line  facebook เป็นต้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนสามารถเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ที่ดีสุขภาพ และผลิิตภัณฑ์ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี เช่น ไม่บริโภคน้ำอัดลม ไม่บริโภคอาหารขยะ บริโภคนม ผัก ผลไม้ การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง อ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้
2. ร้านค้าในโรงเรียนมีการจำหน่ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน


>