กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด

1.นางจันทร์จิราแก้วหนู
2.นางสุดสวาทบุญรุ่ง
3.นางอุบลแก้วงาม
4.นายสุรศักดิ์ พิศพักตร์
5.นายผันคงวงศ์

1. ลานออกกำลังกาย ศาลาที่ประชุมหมู่บ้านหมู่ที่ 1, 3, 6, 10ตำบลนาโหนด2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านาโหนดตำบลนาโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)

 

20.00
2 ประชาชนอายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

50.00
3 ประชาชนอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

30.00

สังคมได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ จากสภาพสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคม อุตสาหกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ สภาพแวดล้อม ทำให้หลายคนมองข้ามการออกกำลังกาย หลายคนอ้างไม่มีเวลา บางคนเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงอิริยาบถในชีวิตประจำวันเป็นการออกกำลังกาย จึงเป็นเหตุให้สุขภาพอ่อนแอลงและอาจประสบกับปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง ความเครียด ฯลฯ หลายหน่วยงานได้ให้ความสนใจโดยการรณรงค์การออกกำลังกายขึ้น
จากการสำรวจข้อมูลการออกกำลังกายของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านาโหนด พบว่าประชาชนที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์นั้นยังอยู่ในระดับน้อย ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด มีความสนใจในกิจกรรมการออกกำลังกายจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายให้กับเป้าหมายกลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งการออกกำลังกายเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกาย แข็งแรง ผ่อนคลายอารมณ์เสริมสร้างความสามัคคีและที่สำคัญการออกกำลังกายยังลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคดังกล่าวด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละ 80 ของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

20.00 16.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

40.00 32.00
3 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละ 60 ของประชาชนอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 12.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 20
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ 20
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมเตรียมงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมเตรียมงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมจัดเตรียมงาน 1.วางแผนการจัดกิจกรรม 2.ประสานวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรม 3.ประชาสัมพันธ์โครงการ ประชาชนในพื้นที่ รณรงค์การมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน เช่น เสียงตามสายในโรงเรียน หอกระจ่ายข่าวในชุมชน 4.การประเมินผลโครงการ ก่อน-หลัง การอบรมค่าใช้จ่ายประกอบด้วย - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆละ 20 บาท x 50 คน) เป็นเงิน 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนมีความเข้าใจขั้นตอนการจัดกิจกรรมฯ
2.มีรายชื่อกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรม ฯ ครบตามจำนวน80คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการฝึกอบรม จำนวน 1 วัน 1.หลักการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการจัดกิจกรรมออกกำลังกายในชุมชน 2.หลักการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา 3.หลักการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและการป้องกันการบาดเจ็บ ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย 1. ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเป้าหมาย (เด็ก/เยาวชน วันทำงาน ผู้สูงอาย) จำนวน 80 คน x 50 x 1 มื้อ เป็นเงิน 4,000 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 80 คน x 20 x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,200 บาท 3. ค่าจ้างทำเอกสารคู่มือประกอบการอบรม (30 บาท x 80 คน) เป็นเงิน 2,400 บาท 4. จัดทำสื่อเอกสาร เพื่อเชิญชวนให้คนมีกิจกรรมทางกายลดพฤติกรรมเนือยนิ่งด้วยป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 2 ผืนๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 800 บาท 5. ค่าสมนาคุณวิทยากร (6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท) เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี จำนวน 16 คนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพิ่มกิจกรรม ทางกาย 2.ประชาชนอายุ 18-64 ปี จำนวน 32 คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพิ่มกิจกรรม ทางกาย 3.ประชาชนอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 12คนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพิ่มกิจกรรม ทางกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี จำนวน 16 คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน) โดยการติดตามประเมินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6เดือน
2.ประชาชนอายุ 18-64 ปี จำนวน 32 คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) โดยการติดตามประเมินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6เดือน
3.ประชาชนอายุ 65 ปีขึ้นไป จำนวน 12คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเนือยนิ่ง มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) โดยการติดตามประเมินติดต่อกันเป็นระยะเวลา 6เดือน


>