กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของตนเองแก่ผู้สูงอายุ ม.1 ต.นาโหนด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 ตำบลนาโหนด

1.นายบุญเอก อินทรภักดิ์
2.นายถาวร แสงแก้ว
3.นางประคอง แสงจันทร์
4.นายเจริญ ทองคำ
5.นางสาวสัจจา เกื้อมณี

หมู่ที่ 1 ต.นาโหนด อ.เมืองจ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่มี ADL น้อยว่า 11 คะแนน(คน)

 

10.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองแล้วมีภาวะซึมเศร้าและกังวล(คน)

 

2.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)

 

3.00
4 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

10.00

ชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 ตำบลนาโหนด ได้ขึ้นทะเบียนต่อสาขาสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ ประจำจังหวัดพัทลุง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2559 โดยจัดตั้งขึ้นตามโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลในทุกมิติอย่างทั่วถึงโดยผ่านการดำเนินงานในรูปแบบของคณะกรรมการชมรมและจากการดำเนินงาน พบว่ามีจำนวนผู้สูงอายุสมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก จำนวน 100 คนคิดเป็นร้อยละ 60.24 จาก จำนวนผู้สูงอายุ ทั้งหมด 166 คน เป้าหมายในการจัดกิจกรรมของชมรมฯ จะมีทั้งกิจกรรมที่ทำเฉพาะสมาชิก และกิจกรรมที่ทำครอบคลุมไปถึงผู้สูงอายุที่ไม่เป็นสมาชิกด้วย จากการทำกิจกรรมของชมรม จะมีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอประมาณ 100 คน จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะยังมีผู้สูงอายุที่ติดเตียง ติดบ้านไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับชมรม เนื่องจากไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และไม่คุ้นชินกับการออกมาเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเป็นเวลานานจึงไม่กล้าที่จะออกมาร่วมทำกิจกรรมใดๆ อีกทั้งเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐซึ่งมีภารกิจหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุก็มีจำนวนน้อยและมีภารกิจอื่นมากมายที่ต้องรับผิดชอบ ไม่สามารถดูแลได้อย่างครอบคลุมและต่อเนื่อง จากสภาพปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุดังกล่าว ทำให้ผู้สูงอายุสูญเสียการมีสุขภาพดี และความเสื่อมของร่างกายทำให้เกิดการพึ่งพิงสูง บางรายมีภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยไม่สามารถดูแลตนเองได้ซึ่งเป็นภาระการดูแลของคนในครอบครัว และชุมชนในการดูแล จากการสำรวจสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุหมู่ที่ 1 บ้านนาโหนด ในปีงบประมาณ 2563 แยกตามความสามารถในการดูแลตนเองในการทำกิจวัตรประจำวันพบว่าจากผู้สูงอายุทั้งหมด 166 คน เป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 1 ช่วยเหลือตัวเองได้ดี จำนวน 152คน คิดเป็นร้อยละ 91.57 เป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 2 ช่วยตัวเองได้บ้าง จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 4.22 และเป็นผู้สูงอายุประเภทที่ 3 ต้องพึ่งพิงคนอื่น จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.60และผลจากการคัดกรองสุขภาพผู้ศุงอายุ 10 เรื่อง พบว่ามีภาวะเสี่ยง-เสี่ยงสูง ต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 42คนภาวะเสี่ยง-เสี่ยงสูง ต่อโรคเบาหวาน จำนวน73คนเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองระดับสูง สูงมาก อันตรายจำนวน 21 คน สุขภาพช่องปากผิดปกติจำนวน6คน สมองเสื่อมจำนวน2คน โรคซึมเศร้า จำนวน 1คน ข้อเข่าผิดปกติจำนวน9คนมีภาวะเสี่ยงหกล้ม 10คน อ้วน จำนวน 10คน ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนโรคเบาหวาน จำนวน 45 คน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 111 คน ส่วนใหญ่รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด แต่มีผู้ป่วยอีกบางส่วนต้องไปรับยาผ่านคลินิกเติมยาจากโรงพยาบาลพัทลุงโดยตรง และจากหน่วยบริการศูนย์สุขภาพชุมชนแม่ข่ายทำให้ผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุไม่สะดวกในการไปรับยาโรคเรื้อรัง ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูและสุขภาพ จึงเป็นเหตุให้ผู้ป่วยบางคนต้องขาดยาไม่ได้รับการรักษาที่ต่อเนื่อง การเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม ได้แก่ ไตวายเรื้อรัง โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และการถูกตัดขา/ตัดนิ้ว ประชากร บางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นปัญหาเรื้อรังและพิการตามมา เป็นภาระของผู้ดูแล ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของครอบครัวเนื่องจากผู้ดูแลบางคนต้องหยุดงานเพื่อมาดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการและเจ็บป่วยเรื้อรัง และปัญหาระดับประเทศชาติคือภาระค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเมื่อเกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อนดังนั้นชมรมผู้สูงอายุ หมู่ที่ 1 ตำบลนาโหนด ได้ทำกิจกรรมดูแลด้านสุขภาพอย่างทั่วถึงและเพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเกิดความพิการ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต และตายก่อนวัยอันควรจากการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานโรคหัวใจ ฯลฯเพื่อจะทำให้ผู้สูงอายุได้มีการเข้าถึงกิจกรรมอย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และได้รับความรู้นำไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงในด้านสุขภาพ ที่เป็นสาเหตุแห่งการเกิดโรค เกิดภาวะพิการ และสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัว สังคมได้อย่างมีความสุขในบั้นปลายชีวิตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำสุขภาพในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (ADL)

มีแกนนำสุขภาพในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (ADL) จำนวน 16  คน

16.00 16.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพ ด้านการตรวจฟัน สุขภาพกายและจิต

ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพ ด้านการตรวจฟัน สุขภาพกายและจิต

50.00 40.00
3 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจ การดูแลสุขภาพของตนเอง

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มขึ้น

50.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
แกนนำสุขภาพ 16

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การประชุมแกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
การประชุมแกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การประชุมแกนนำสุขภาพในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (ADL) ครึ่งวัน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมฯ จำนวน 16 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 320 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร (2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท) เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแกนนำที่มีความรู้และทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (ADL) 16 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1520.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ 10 เรื่อง ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง สุขภาพช่องปาก สมองเสื่อม โรคซึมเศร้า ข้อเข่าเสื่อม ภาวะเสี่ยงหกล้มBMIประเมินภาวะสุขภาพกายและจิต โดย จนท.และแกนนำดูแลผู้สูงอายุ ค่าใช้จ่ายประกอบด้วย -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าจ้างถ่ายเอกสารแบบประเมิน ADL การจำแนกผู้สูงอายุตามกลุ่มศักยภาพ ตามความสามารถในการ ประกอบกิจวัตรประจำวัน (Barthel Activities of DailyLiving : ADL) จำนวน 60 ชุดๆ ละ 10 แผ่น ๆ ละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุ จำนวน50คน ได้รับการตรวจฟัน ประเมินภาวะสุขภาพกายและจิต ฯลฯ โดย จนท.และแกนนำสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1300.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของตนเองแก่ผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพของตนเองแก่ผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมฯ จำนวน 50 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมฯ จำนวน 50 คนๆ 2 มื้อๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร (จำนวน 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท ) จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.20 x 2.40 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 400 บาท -ค่าจ้างทำเอกสารคู่มือในการอบรม ชุดละ 10 บาท จำนวน 50 ชุด เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.มีแกนนำสุขภาพที่มีความรู้และทักษะในการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ (ADL) 16 คน
2.ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง เพิ่มขึ้น
3.ผู้สูงอายุ จำนวน50คน ได้รับการตรวจฟัน ประเมินภาวะสุขภาพกายและจิต ฯลฯ โดย จนทและแกนนำสุขภาพ


>