กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัตินำ้ท่วมในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนทอง

1. นายสะมาน เซ็งโต๊ะ
2. จ่าสิบตำรวจศักดิ์นรินทร์ ศรีฉำ่
3. นายนุ้ย ขุนพรม
4. นางวรรณดี หมวกรอง
5. นางสาวสุธิสา สุขเพ็ชร

ตำบลบางขุนทอง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม(คน)

 

800.00

จากสถานการณ์เกิดฝนตกหนักทำให้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่ วันที่1 ธันวาคม 2562 ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนหลายพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนทองมีประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อน ทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย ไม่สะดวกต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนพื้นที่ตำบลบางขุนทองเป็นพื้นที่ประสบภัยดังกล่าว จึงสามารถให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วม ตลอดจนถึงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้ว จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่/ท้องถิ่น ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2557 ข้อ7(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ได้ องค์การบริหารส่วนตำบลบางขุนทองมีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคทางเดินอาหารจากการดื่มน้ำ/รับประทานอาหารที่ปนเปื้อนหรือแหล่งน้ำ/บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วม ส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่ม โรคผิวหนัง เช่น น้ำกัดเท้าการระบาดของโรคฉี่หนู โรคไข้เลือดออก ปัญหาสุขภาพจิต มีภาวะซึมเศร้าจากการสูญเสียญาติพี่น้องหรือทรัพย์สินจากปัญหาสุขภาพดังกล่าวจึงจำเป็นต้องดำเนินการบรรเทาและป้องกันผลกระทบจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความรวดเร็วทันต่อสถานการณ์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะนำ้ท่วม

สามารถลดปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาทุกประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะนำ้ท่วมร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 270
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ดำเนินการสำรวจสภาพปัญหาสุขภาพประชาชนในพื้นที่จำนวน 1142 ครัวเรือน

ชื่อกิจกรรม
1. ดำเนินการสำรวจสภาพปัญหาสุขภาพประชาชนในพื้นที่จำนวน 1142 ครัวเรือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทีมเยี่ยมสำรวจปัญหาสุขภาพประชาชนในพื้นที่ (เน้นกลุ่มยากไร้ มีโรคเรื้อรัง พิการ ผู้สูงอายุ) 2.รายงานข้อมูลสภาพปัญหาสุขภาพให้ อปท.พื้นที่และจัดทำแผนดูแล/ช่วยเหลือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ฯลฯ ช่วงอุทกภัย 3.เยี่ยมผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลด้านสุขภาพช่วงอุทกภัย 4 . จัดหายา/เวชภัณฑ์เพื่อจัดบริการในชุมชนช่วงอุทกภัย ได้แก่ สามัญประจำบ้านครัวเรือนละ 1 ชุดยาที่ จำเป็นเพื่อการรักษา/ป้องกันโรค เช่นยาทารักษาโรคน้ำกัดเท้า ชุดทำแผลแบบใช้ครั้งเดียวผ้ายืดพันแผล ฯลฯ 5.จัดทีมคัดกรองภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเสี่ยงหลังน้ำท่วม 6.ลงพื้นที่ให้คำแนะนำการจัดระบบสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมหลังอุทกภัย 7.สรุปและประเมินผลกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาทุกของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะนำ้ท่วม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาทุกของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะนำ้ท่วม
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจสามารถดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวได้


>