กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

ส่งเสริมผู้สูงวัยสุขภาพดี ชีวีมีสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ควนโดน

ชมรมผู้สูงอายุตำบลควนโดน

1. นายสอาดหมาดทิ้ง
2. นายสอแล๊ะแกสมาน
3. นายอับดลรอเสดแกสมาน
4. นายสงบ รักงาม
5. นางส๊ะปะดุกา

รพ.สต.ควนโดน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่ได้ทำประโยชน์ต่อสังคมในช่วงชีวิตที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีคุณค่าสมควรที่จะได้รับการดูแลเอาใจใส่จากบุตรหลานและบุคคลในสังคม โดยเฉพาะในด้านสุขภาพ ซึ่งวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมทั้งทางด้านกายภาพ และสรีรวิทยาเป็นผลให้สุขภาพอนามัยไม่ดี ภูมิต้านทานต่ำ เกิดความเจ็บป่วยได้ง่ายสถานการณ์ด้านสุขภาพผู้สูงอายุไทยร้อยละ ๙๕มีความเจ็บป่วยด้วยโรคและปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้ คือ โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานโรคข้อเข่าเสื่อมโรคหัวใจและหลอดเลือดและตาต้อกระจกรัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีนโยบายมุ่งเน้นในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ มีการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป บุคคลเมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุภาระหน้าที่และบทบาทในสังคมลดลง ทำให้โอกาสในการติดต่อพบปะบุคคลอื่นลดน้อยลงทำให้รู้สึกว่าคุณค่าและประโยชน์ของตนไม่เป็นที่ต้องการหรือยอมรับของสังคมดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นบริการด้านสุขภาพหรือการส่งเสริมด้านจิตใจโดยการดำเนินการตามยุทธศาสตร์รวมพลังสร้างสุขภาพที่เน้นการสร้างมากกว่าซ่อม ในการที่จะให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีโดยยึดหลักการชีวิตสดใสไม่ต้องพึ่งพา
สถานการณ์ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยในเขตตำบลควนโดนปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ผ่านมาพบว่าสถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ได้แก่กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด พบในผู้สูงอายุร้อยละ ๕๐ จากภาวะสุขภาพของสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวดังกล่าวทำให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุจึงต้องอาศัยความรู้ความชำนาญจากบุคลากรสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จึงมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งในสังคมที่กําลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เนื่องจากประชากรผู้สูงอายุมีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มอายุยืนยาวขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับระบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสําคัญ ซึ่งจะทําให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและดํารงชีวิตอยู่ในสังคมไทยได้อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ร้อยละของผู้สูงอายุได้รับ การพัฒนาทักษะทางกายและใจ

60.00 80.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง สามารถดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละของผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์

30.00 50.00
3 3. เพื่อสร้างแกนนำด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุให้มีความรู้ ทักษะในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ

จำนวนของผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงได้รับการเยี่ยมบ้านและดูแลตามเกณฑ์

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 24
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมฟื้นฟูแกนนำด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมฟื้นฟูแกนนำด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
  2. จัดเตรียมแบบสำรวจข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น และแบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ
  3. แกนนำออกสำรวจปัญหาสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุ และแยกประเภทผู้สูงอายุ
  4. จัดเตรียมหลักสูตร การอบรมสำหรับแกนนำ ด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้นและฝึกทักษะการเยี่ยมติดตาม ผู้สูงอายุที่บ้าน งบประมาณ

- ค่าอาหารว่าง จำนวน 24 คน คนละ 25 บาทx 2 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 24 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บ. เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าตอบแทนการสำรวจ ปัญหาสุขภาพเบื้องต้นของผู้สูงอายุ และแยกประเภทผู้สูงอายุจำนวน24 คนคนละ 100 บาทเป็นเงิน 2,400 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำมีส่วนร่วมในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กำหนดวันและประชาสัมพันธ์โครงการให้แก่ แกนนำ เพื่อคัดเลือกผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ จำนวน 60 คน 2.จัดเตรียมหลักสูตรการอบรมดูแลผู้สูงอายุทางด้านกาย และจิต การปฏิบัติตัวให้ห่างไกลโรค 3.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดอบรม - ค่าอาหารกลางวันจำนวน60 คนคนละ 50 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าอาหารว่าง จำนวน 60 คน คนละ 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,000 บาท - ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บ. x 2 คน เป็นเงิน 1,800 บาท - ค่าวัสดุ อุปกรณ์ เป็นเงิน 600 บาท 4.สรุปกิจกรรมและประเมินผลกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการดูแลสุขภาพทางกาย และจิตที่ดีสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
  2. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชมรมมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง
  3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการดูแลสุขภาพทางกาย และจิตที่ดีสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
2. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชมรมมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเอง
3. ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่ป่วยด้วยโรคหรือได้รับอุบัติเหตุที่เกิดจากการปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้อง
4. แกนนำมีส่วนร่วมในการดูแล ส่งเสริม ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ผู้สูงอายุ ติดบ้าน ติดเตียงลดลง


>