กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการจัดการสุขาภิบาลอาหารในผู้ประกอบการร้านแผงลอย ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกงูปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารที่ไม่สะอาดเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ โดยมีเชื้อโรคและสารปนเปื้อนหลายชนิดที่เป็นอันตรายถึงชีวิต หลักสำคัญในการเลือกรับประทานอาหารนอกเหนือจากรสชาติอาหารแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงและพิจารณาควบคู่ไปด้วย คือ คุณค่าตามหลักโภชนาการคุณภาพความสะอาดและปราศจากสารปนเปื้อน
การบริโภคอาหารเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดปลอดภัยมีคุณค่าตามหลักโภชนาการและปราศจากสารปนเปื้อนนั้น จำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารทุกกระบวนการ ฉะนั้นเพื่อให้ประชาชนสามารถจัดหาอาหารที่สะอาดปลอดภัยมาบริโภคได้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องมีระบบการดูแลควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหาร และดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับทราบข้อมูลและเข้าถึงการบริโภคอาหารที่สะอาดและปลอดภัยได้
ในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง มีแผงลอยอยู่หลายร้าน ทั้งที่เปิดเป็นประจำ และเปิดเป็นครั้งคราว ตามฤดูกาล ตามวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งร้านเหล่านี้จะมีประชาชนในพื้นที่เป็นลูกค้าหลัก หากร้านเหล่านี้ จัดการประกอบอาหารให้สะอาด ปลอดภัยผู้บริโภคก็จะปลอดภัยไปด้วย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นครั้งแรกในปี 2562 ซึ้งได้ผล ในระดับหนึ่ง แต่ยังมีที่ต้องปรับปรุงอีกหลายร้านเพื่อเป็นการพัฒนาและสร้างความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภคให้ตระหนักถึงความสำคัญของการประกอบอาหารที่เหมาะสมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกงู จึงจัดทำโครงการนี้อีกครั้ง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของอาหารและร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร ในพื้นที่

จำนวนรายการอาหารที่ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของอสม. ในด้านการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคใน ชุมชน

จำนวนร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์การตรวจมาตรฐานร้านจำหน่ายอาหารตามหลักสุขาภิบาล  ร้อยละ 30

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านแผงลอย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมเรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านแผงลอย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่องสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านค้าแผงลอยในพื้นที่ -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม มื้อละ 25 บาท 2 มื้อ จำนวน20 คน เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ ๆละ 50 บาทจำนวน20 คน เป็นเงิน 1,000 บาท -ค่าวิทยากร จำนวน 1 คนๆละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 2, 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอยมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปรุงประกอบอาหารที่ถูกหลักอนามัยและการจัดสภาพแวดล้อมภายในร้านแผงลอย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม สำรวจ ตรวจร้านอาหาร แผงลอย ก่อนการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม สำรวจ ตรวจร้านอาหาร แผงลอย ก่อนการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม. จำนวน 4 หมู่บ้านๆละ 2 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 400 บาท -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม. จำนวน 4 หมู่บ้านๆละ 2 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 400 บาท รวมเป็นเงิน 800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อสำรวจดูว่าร้านอาหารแผงลอยปฏิบัติการปรุงประกอบอาหารและจัดการสภาพแวดล้อมร้านถูกต้องหรือเปล่า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม ตรวจประเมินร้านอาหาร แผงลอยหลัง การดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม ตรวจประเมินร้านอาหาร แผงลอยหลัง การดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับ อสม. จำนวน 4 หมู่บ้านๆละ 2 คน จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 400 บาท -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับ อสม. จำนวน 4 หมู่บ้านๆละ 2 คน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 400 บาท รวมเป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตรวจร้านอาหารแผงลอยในพื้นที่หลังจากได้รับการอบรมแล้วและสามารถปรุงประกอบอาหารที่ถูกหลักอนามัยและการจัดการสภาพแวดล้อมที่ถูกต้อง ประชาชนในพื้นที่จะได้บริโภคอาหารที่สะอาดถูกหลักอนามัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,100.00 บาท

หมายเหตุ :
วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
1.เสนอโครงการและแผนงานเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
2. ดำเนินการตรวจร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารภายในเขตตำบลบางขุนทองตามมาตรฐานการจัดตั้งร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ถูกหลักสุขาภิบาล
3.จัดอบรมให้ความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหาร แก่ผู้ประกอบการ
4. เชิญชวนร้านอาหารให้ดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการของตนเองให้ได้มาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหาร
5. ติดตาม ตรวจร้านขายอาหารและแผงลอย พร้อม ดำเนินการตรวจสอบความสะอาดปราศจากเชื้อแบคทีเรียของร้านขายอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหารโดยใช้ชุดตรวจหาโคลิฟอร์มแบคทีเรีย SI-2
6. สรุปผลการดำเนินงาน

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมายได้บริโภคอาหารที่สะอาดปลอดภัยปราศจากสารเคมีและสิ่งปนเปื้อน
2. ผู้ประกอบการมีความรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหาร ที่ถูกต้องอันจะส่งผลให้อาหารที่จำหน่ายสะอาด และปลอดภัย


>