กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะกาฮะรัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกคน นับเป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขสำคัญที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความกดดันทางด้านเศรษฐกิจและการแข่งขันในอาชีพการงานที่สูงมาก ต้องเผชิญกับปัญหาหลากหลายที่เข้ามาในชีวิต สร้างความบั่นทอนร่างกายและจิตใจให้ถดถอยลง ส่งผลให้ ความดันโลหิต ในร่างกายสูงตามไปด้วย ในรายที่มีภาวะความดันโลหิตสูงมาก อาจนำไปสู่การเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้ ดังนั้น ความดันโลหิตสูงจึงเปรียบเสมือนเพชรฆาตเงียบที่คร่าชีวิตคนจำนวนมากแบบไม่รู้ตัว ในกรณีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังจะต่อยๆ ทำให้หลอดเลือดภายในร่างกายเสื่อมไป โดยเฉพาะ 3 อวัยวะสำคัญ คือ หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ รวมทั้งไต ซึ่งเมื่อมีการตีบหรือแตกของหลอดเลือดในอวัยวะสำคัญเหล่านี้จะทำให้เสียชีวิตได้แบบเฉียบพลัน หรือทำให้เป็นอัมพาตได้ สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขคาดว่า มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ประมาณ 10 ล้านคน ในปีหนึ่งๆ มีผู็เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน ได้แก่ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคไต โรคอัมพาต เป็นอันดับหนึ่งของโรคทั้งหมดร่วมแสนคน และอัตราผู้พิการก็เพิ่มขึ้นพุ่งกระฉูดขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพของผู็ป่วย ดังนั้น การป้องกันตั้งแต่ต้นลมด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เป็นวิธีที่ดีที่สุดและประหยัด เพียงควบคุมความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดเวลา โดยใช้หลัก 3อ2ส โดยเน้น การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัด อาหารกลุ่มไขมัน ลดอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมให้พอควรอย่างสม่ำเสมอพักผ่อนให้เพียงพอไม่เครียดคิดแง่บวกและงดสูบบุหรี่
สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในตำบลปะกาฮะรัง โรคความดันโลหิตสูง มีกลุ่มเสี่ยง 488 ราย ผู้ป่วย 237 ราย ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 17 ราย และโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยง 191 ราย ผู้ป่วย 85 ราย ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน จำนวน 36 ราย ในอนาคตมีแนวโน้มผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น โรงพยาบลส่งเสริมสุขภาพตำบลปะกาฮะรัง เห็นความสำคัญของการป้องกันโรคดังกล่าว จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อให้ความรู้โรคที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดอบรมให้ความรู้ ความเข้าใจ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการออกกำลังกายที่เหมาะสมแก่กลุ่มเป้าหมาย

ร้อยละ 60 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เกี่ยวกับประโยชน์การออกกำลังกายต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน

0.00
2 สอนการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง และการแกว่งแขน

ร้อยละ 40 ของกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการออกกำลังกายและให้คำมั่นสัญญาจะออกกำลังที่ถูกต้องแบบแผนอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 100

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 25/03/2020

กำหนดเสร็จ 26/03/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานรุ่นที่ 1

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานรุ่นที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 50 คน คนละ 1 มือ มือละ 50 บาท เป็นเงิน 2500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน คนละ 2 มื้อ มือละ 25 บาท เป็นเงิน 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรุ่นที่ 2

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรุ่นที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวัน 50 คน คนละ 50 บาท เป็นเงิน 2500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน คนละ 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 2500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง มีภาวะเป็นโรคแทรกซ้อนลดลง
2.กลุ่มเป้าหมายมาออกกำลังกายที่ รพสต.ตามนัด


>