กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบริการด้วยใจผู้สูงวัยสุขภาพดี องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสประจำปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงลิมอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบริการด้วยใจผู้สูงวัยสุขภาพดี องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงลิมอ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

พื้นที่ตำบลตันหยงลิมอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2547 และในปี 2560 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป 11.3 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 17.1 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยคาดว่าในปี 2564 ไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง เกิดเป็นภาระพึ่งพิงโดยที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม จากสถิติพบว่าประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีความต้องการ การช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง หรือคนดูแล คิดเป็นร้อยละ 22.00 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี (สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย, 2551) เนื่องจากวัยสูงอายุมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไปเริ่มอ่อนแอและเกิดโรคง่าย ซึ่งปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มโรคสามัญทั่วไปที่เป็นได้แม้ยังไม่เข้าสู่วัยผู้สูงอายุ เช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ ไตและกลุ่มอาการที่เกิดเฉพาะกับผู้สูงอายุ คือเกิดจากความชราภาพของร่างกายหรือจากผลข้างเคียงจากโรคที่มารุมเร้าทำให้การดูแลตนเองถดถอยลง ซึ่งผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยรวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบกับที่ผ่านมาผู้สูงอายุในชุมชนจะใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่ ขาดการรวมกลุ่มและขาดการดูแลคุณภาพชีวิตให้เหมาะสม บางรายขาดการเหลียวแลจากสังคม ซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นภาระของสังคมในระยะยาว
ตำบลตันหยงลิมอประกอบไปด้วย 8 หมู่บ้าน มีประชากร 7,825 คน มีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปจำนวน 942 คนคิดเป็นร้อยละ 12.04 ของประชากรทั้งหมด ในตำบลตันหยงลิมอมีชมรมผู้สูงอายุ 3 ชมรม คิดเป็นร้อยละ 37.5 ของหมู่บ้านทั้งหมด ซึ่งชมรมผู้สูงอายุ ถือเป็นองค์กรภาคประชาชนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบงานผู้สูงอายุ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและระดับชุมชน เปรียบเสมือนเครื่องมือขับเคลื่อนและจัดการกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นด้วยตัวผู้สูงอายุเอง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตันหยงลิมอ จึงได้จัดทำโครงการบริการด้วยใจสูงวัยสุขภาพดี โดยมีการจัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุ พร้อมทั้งจัดตั้งชมรมในหมู่บ้านที่ยังไม่มีการดำเนินการ ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรในการอบรมให้ความรู้จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้นได้
  1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 70
250.00 175.00
2 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพดี และได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพขั้นพื้นฐาน
  1. ร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองสุขภาพขั้นพื้นฐาน
250.00 225.00
3 3. เพื่อจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ
  1. ร้อยละ 60 ของหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการมีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ
5.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 250
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 20/01/2020

กำหนดเสร็จ 27/01/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (เพิ่มเติม) ขั้นเตรียมการ 1. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ 2. ประชุมตัวแทนสมาชิกผู้สูงอายุ อสม. ผู้นำชุมชนที่ส่วนเกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงและประชาสัมพันธ์การจัดโครงการ 3. แต่งตั้งคณะทำงาน/ ประชุมคณะทำงาน

ขั้นดำเนินการ 1. การตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น 2. อบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเบื้องต้น 3. จัดกิจกรรมออกกำลังกายด้วยท่ากายบริหารมณีเวช เพื่อปรับโครงสร้างสมดุลร่างกาย 4. จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ

ขั้นหลังดำเนินการ 1. สรุปและประเมินผลโครงการ 2. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลตันหยงลิมอ

งบประมาณทั้งสิ้น 63,720 บาท - ค่าวิทยากร600 บาท X 6 ชั่วโมงx 5 วัน= 18,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 50 คน X 1 มื้อ X 5 วัน= 12,500 บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท X 50 คน X 2 มื้อX 5 วัน=12,500บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรม(กระเป๋าผ้า 80 บาท x 250 คน=20,000 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 X 2.4ตารางเมตร = 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายใจที่ดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข 2.ชมรมผู้สูงอายุมีการวางแนวทางให้มีการพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ ต่อไปได้อย่างยั่งยืนในอนาคต 3.ชมรมผู้สูงอายุมีการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในชมรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
63720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 63,720.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณ
- ค่าวิทยากร600 บาท X 6 ชั่วโมงx 5 วัน= 18,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท X 50 คน X 1 มื้อ X 5 วัน= 12,500 บาท
- ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท X 50 คน X 2 มื้อX 5 วัน=12,500บาท
- ค่าวัสดุในการจัดอบรม(กระเป๋าผ้า 80 บาท x 250 คน=20,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.2 X 2.4ตารางเมตร = 720 บาท

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบ มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองและสามารถลดการภาระพึ่งพิงแก่ผู้ดูแล
2. ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของชุมชนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการดูแลสุขภาพตนเองเบื้องต้นได้
3. จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุเพื่อประสานความร่วมมือให้เกิดการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง


>