กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการให้ความรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

1.นายสมภพสุวรรณชมภู
2.นางสาวอามีเนาะสาและ
3.นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
4.นางสาวเจะมาสนีเจะและ
5.นางสาวฟาตีฮะบือราเฮง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยงเป็นโรคไต

 

80.00
2 ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความเสี่ยง

 

80.00

จากข้อมูลปี 2559 โดยกระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง จะเกิดโรคแทรกซ้อนถึงเสียชีวิต มีผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รอการผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ประมาณ 40,000 ราย ซึ่งมีขั้นตอนในการรักษายุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูงถึงปีละประมาณ 2 แสนบาทต่อคน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไตมีเพียงปีละ 400 รายเท่านั้นนอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดคือขาดแคลนผู้บริจาคไต ผู้ป่วยจึงต้องรักษาเพื่อยืดอายุโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างของเสียออกทางหน้าท้องโดยในแต่ละปี ได้ใช้งบประมาณในการบำบัดทดแทนไตในสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประมาณกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี และคาดว่าในปี 2560 อาจจะต้องใช้งบประมาณกว่า 17,000 ล้านบาทมีผู้เสียชีวิตจากไตวาย 13,536 คน ประมาณ 1 ใน 3 ตายก่อนวัยอันควร อายุน้อยกว่า 60 ปี จากการรายงานของสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ พบผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังจำนวน 8 ล้านคน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 10,000 คน
สถิติผู้ป่วยโรคไต โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย ปี 2561 มีจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด 73 คนและมีภาวะแทรกซ้อนทางไต จำนวน 37 คน ไตเรื้อรัง ระยะที่ 2 จำนวน 19 คนคิดเป็นร้อนละ 26.03 ไตเรื้อรัง ระยะที่ 3 จำนวน 16 คนคิดเป็นร้อนละ 21.92 ไตเรื้อรัง ระยะที่ 4 จำนวน 1 คนคิดเป็นร้อนละ 1.36 ไตเรื้อรัง ระยะที่ 5และล้างไต จำนวน 1 คนคิดเป็นร้อนละ 1.36 และเสียชีวิตจากโรคไตวาย จำนวน 3คน คิดเป็นร้อยละ 4.11แล้วพบว่าผู้ป่วยทราบและไม่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นโรคไตมาก่อน ก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ
เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตเพิ่มขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไต อันจะส่งผลต่อการต้องล้างไตในอนาคตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุมการ ป้องกันชะลอ โรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงได้จัดทำโครงการให้ความรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังปี ๒๕62ขึ้นโดยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความร่วมมือและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกัน ชะลอโรคไต ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความรู้ เข้าใจ ในเรื่องไตวายเรื้อรัง

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90

80.00 1.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติ เพื่อป้องกัน ชะลอ โรคไต

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 90

80.00 1.00
3 เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100

80.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/12/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ ชะลอ โรคไตแก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    จำนวน 73 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 1วัน เป็นเงิน 3,650 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน  จำนวน 73 คน x 50 บาท x 1 มื้อ x 1วัน        เป็นเงิน 3,650บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร    จำนวน 600 บาท x 6 ชั่วโมง x 1 วัน   เป็นเงิน 3,600 บาท
  • ค่าไวนิลชื่อโครงการ   เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวัสดุ     เป็นเงิน 5,100 บาท
  • ค่าติดตามกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง   จำนวน 30 คน x 100 บาท  เป็นเงิน 3000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ร้อยละ 50
2.ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง
3. ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคไตในผู้ป่วยโรคความดัน  เบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,500.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายสามสรถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง มีความรู้ ความเข้าใจและปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ร้อยละ 50
2.ลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีภาวะเสี่ยงสูง
3. ลดภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรคไตในผู้ป่วยโรคความดันเบาหวาน


>