กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คนทุ่งพัฒนาปราศจากโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

อาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 13 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

1.นางสาวนัสสิมาดันงุ่น
2.นางพรทิพชายเหตุ
3.นางสาวจุฬาลักษณ์โอมณี
4.นางสาวรอน้าสงบ
5.นายธีรศักดิ์ง๊ะหมาด

หมู่ที่13 บ้านทุ่งพัฒนา ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากรายงานสรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2561 (กรมควบคุมมลพิษ, ๒๕๖๒) มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้นประมาณ 27.8 ล้านตัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2560 มีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนเมือง ส่งผลให้ปริมาณขยะมูลฝอยในหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
จากการศึกษาบริบทของชุมชนของตำบลละงู พบว่ามีการเพิ่มของร้านค้า และตลาดนัดในทุกหมู่บ้าน ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะในชุมชน และที่สำคัญไปกว่านั้น ปริมาณขยะที่เพิ่มเกิดขึ้นมีความสัมพันธ์กับสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน บ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลละงู พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในปี 2562 จำนวน 19 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2204.18 ต่อแสนประชากร (เกณฑ์ < 50 ต่อแสน) สถานการณ์ป่วยเกินค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี (Median = 1.5) เมื่อพิจารณาปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั่วพบว่ามีการกระจายของเศษขยะ แก้ว ถุงพลาสติก มีน้ำขังและลูกน้ำยุงลายตามบ้านเรือน และเส้นทางสาธารณะในหมู่บ้านและถนนสัญจรสายหลัก เมื่อพิจารณาตามปัจจัยบุคคลพบว่าประชาชนมีความรู้สามารถเข้าถึงข่าวสารสาธารณะและสุขภาพ แต่ยังขาดความตระหนัก และมีพฤติกรรมสุขวิทยาไม่ถูกต้อง เมื่อพิจารณาตามปัจจัยด้านเชื้อโรคการเกิดโรค พบว่า การเคลื่อนย้ายของประชากรไปยังพื้นที่ที่มีการป่วยส่งผลให้ติดต่อคนในครอบครัวอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดโดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลละงู ปี 2562 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านทุ่งพัฒนา ประสบความสำเร็จด้าน 1) การจัดการระบบรายงานค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายผ่านระบบออนไลน์เพื่อควบคุมปริมาณยุงมีเชื้อ 2) การสร้างกระแสการมีส่วนร่วมในการเก็บขยะในรูปแบบ Big Cleaning Day 3) การบริหารจัดการวัสดุ เคมีภัณฑ์กำจัดยุง ความทันเวลาในการควบคุมโรค แต่ยังขาดความร่วมมือคนในชุมชน
จากความสำคัญดังกล่าว อสม. ม.13 บ้านทุ่งพัฒนาจึงจัดทำโครงการในปี 2563 เพื่อสร้างความร่วมมือในการจัดการโรคไข้เลือดออกและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เป็นรูปธรรม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และแนวทางปฏิบัติในการคัดแยกขยะและป้องกันโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐

0.00
2 เพื่อลดปริมาณขยะ แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้าน

-จัดกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ปีละ ๔ ครั้ง - ระบบรายงานการคัดแยกขยะและสำรวจลูกน้ำยุงลายประจำเดือน

0.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน

อัตราป่วยน้อยกว่า ปี ๒๕๖๒

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ปร

ชื่อกิจกรรม
ปร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน/เครือข่าย     จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงาน     พัฒนาระบบรายงาน HICI, การกำจัดขยะ ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๓๐ คน  = ๑,๕๐๐ บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x ๓๐ คน = ๑,๕๐๐ บ. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ๕๐๐ บาท x ๒ แผ่น = ๑,๐๐๐ บ.
รวมเงิน ๔,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ โรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ โรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้การจัดการขยะ,โรคไข้เลือดออก 1.1 กิจกรรมย่อย
บรรยายให้ความรู้โดยวิทยากรทางสาธารณสุข ค่าวิทยากร ๓๐๐ บ.x ๓ ชม.x ๒ ครั้ง = ๑,๘๐๐ บ. ค่าอาหารกลางวัน ๕๐ บ.x ๕๐ คน x ๒ ครั้ง = ๕,๐๐๐ บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๒ มื้อ x ๕๐คน x ๒ ครั้ง= ๕,๐๐๐บ. รวมเงิน 11,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11800.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน 2.1 กิจกรรมย่อย     - ประชุมรายงานสถานการณ์โรค ประจำเดือน     - รณรงค์การเก็บขยะ / ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย มัสยิด  ถนนสาธารณะ
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ.x ๑ มื้อ x 30คน x 4ครั้ง = ๓,๐๐๐บ. ถังขยะแยกสี ๑ ชุด = ๓,๕๐๐ บ. ถุงดำ ๑๒ แพ็คx55บ. = ๖๖๐ บ. รวมเป็นเงิน ๗,๑๖๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7160.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนผู้ป่วย ปี 2563 ลดลง
2. มีระบบรายงานค่า HI CI และระบบรายงานการคัดแยกขยะออนไลน์
3. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีพฤติกรรมสุขวิทยาที่ถูกต้องในระดับครัวเรือน เด็ก นักเรียนและเยาวชนเกิดจิตสำนึกนิสัยรักสะอาด และปริมาณขยะในชุมชนลดลง
4. ความสามัคคีในชุมชนเอื้อต่อการพัฒนาระบบสุขภาพด้านอื่นๆ


>