กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชน ปี 2
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลละงู
กลุ่มคน
1. ทพญ.กนกวรรณฮ่องสายผู้ประสานงานคนที่ 1
2. ทพญ.วิไลลักษณ์หนูฤทธิ์ผู้ประสานงานคนที่ 2
3. นางสาวทิราภรณ์ ทองรักษา
4.นางสาวนุรรัยมีย์แยบคาย
5. นางสาวจุฑาทิพย์รอเกตุ
3.
หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุและปริทันต์อักเสบ เป็นปัญหาที่เด่นชัดซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย การสบฟัน ตลอดการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560 ในกลุ่มวัยทำงานอายุ 35-44 ปี ปัญหาที่พบเกิดจากรอยโรคสะสม ทั้งปัญหาสภาวะปริทันต์ ที่พบการอักเสบของเหงือก มีเลือดออกง่าย ร้อยละ 62.4 ปัญหาปริทันต์อักเสบที่มีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟันร่วมด้วยซึ่งพบร้อยละ 25.9 และปัญหาโรคฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ 43.3 โดยปัญหาดังกล่าว จะแสดงอาการที่รุนแรงจนเกิดความเจ็บปวดและการสูญเสียฟันในช่วงอายุต่อไป ถ้าไม่ได้รับการดูแล ป้องกัน รักษาที่เหมาะสมทันเวลา นอกจากนี้ในวัยนี้ยังมีพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ ที่พบร้อยละ 17.9เฉลี่ย 10.4 มวนต่อวัน รวมทั้งพฤติกรรมการไปใช้บริการในรอบปีร้อยละ 42.3 ซึ่งในจำนวนนี้ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.3 ไปรับบริการเมื่อมีหินน้ำลายและร้อยละ 27.8 ไปรับบริการเมื่อมีอาการปวดและเสียวฟันแล้ว มีเพียงร้อยละ 15.8 เท่านั้น ที่ไปรับบริการเพื่อต้องการตรวจเช็คโดยไม่มีอาการ กลุ่มวัยทำงานส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.5 ที่ไม่ไปใช้บริการในรอบปีที่ผ่านมา เนื่องจากร้อยละ 68.6 ยังไม่รู้สึกว่าสุขภาพช่องปากมีปัญหา เพราะยังไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติใดๆ และร้อยละ 25.7 เนื่องจากไม่มีเวลา ดังนั้น สำหรับกลุ่มวัยทำงานนอกจากการทำให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และความรู้เพื่อการดูแลอนามัยช่องปากตนเองแล้ว ยังจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมป้องกันโรค โดยเฉพาะสนับสนุนให้ใช้อุปกรณ์เสริมทำความสะอาดซอกฟันเพื่อป้องกันโรคปริทันต์และฟันผุบริเวณด้านประชิด

จากผลสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากในโครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชนในเขตตำบลกำแพง จำนวน 7 หมู่บ้าน โดยฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู ปีงบปรมาณ 2562 พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 404 คน อายุเฉลี่ย 42.9 ปี มีปัญหาเหงือกอักเสบและหินปูน คิดเป็นร้อยละ 83.95มีฟันผุเฉลี่ย 3.22 ซี่ต่อคน มีฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้เพียง 23.65 ซี่ต่อคน และมีคู่สบฟันแท้ที่สามารถใช้งานได้ 4.03 คู่ต่อคนเท่านั้น และในปีงบประมาณ 2562 มีประชาชนในเขตตำบลกำแพงมีปัญหาบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าทั้งหมด 46 ราย ประกอบกับอัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59ปี ในปีงบประมาณ 2562 ในเขตตำบลกำแพงยังมีจำนวนน้อย เพียงร้อยละ 13.39

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดอาการบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าที่มีสาเหตุจากโรคฟันผุและโรคปริทันต์อักเสบในเขตตำบลกำแพง ฝ่ายทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลละงู จึงได้จัดทำโครงการออกหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในหมู่บ้าน โดยทำต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่สู่ชุมชน ปีงบประมาณ 2562 และขยายบริการไปยังหมู่บ้านทั้ง 12 หมู่ในเขตตำบลกำแพง เพื่อให้ประชาชนในเขตตำบลกำแพงเข้าถึงบริการทันตกรรมได้สะดวกขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดปัญหาโรคฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันและโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 15-59 ปี
    ตัวชี้วัด : 1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ที่มีปัญหาโรคฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันและโรคปริทันต์อักเสบได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ร้อยละ 90 2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี ร้อยละ 95 3. อัตราการเข้าถึงบริการทันตกรรมของกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59ปี ในเขตตำบลกำแพง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15.00
    ขนาดปัญหา 83.95 เป้าหมาย 90.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ออกหน่วยให้บริการทันตกรรมภายในหมู่บ้าน ทั้งหมด 12 หมู่ๆ ละ 2 วัน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับทันตสุขศึกษา การแปรงฟันที่ถูกวิธี แก่กลุ่มเป้าหมาย

    1.2 ฝึกทักษะการแปรงฟันและย้อมสีฟันให้แก่ผู้มารับบริการและผู้ที่สนใจ โดยมี อสม.เป็นวิทยากร 3 คน (วิทยากร คือ อาสาสมัครแกนนำที่ผ่านการอบรมจากโครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน สำหรับ อสม.) และมีเจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข เป็นพี่เลี้ยง

    1.3 ตรวจสุขภาพช่องปากแก่ประชาชนในหมู่บ้านที่มารับบริการทันตกรรม โดยบริการถอนฟันวันละ 20 ราย และขูดหินน้ำลายวันละ 18 ราย

    เป้าหมาย

    • ประชาชนในในเขตตำบลกำแพงที่มารับบริการทันตกรรม จำนวน 912 ราย

    งบประมาณ

    • ค่าวิทยากรสำหรับ อสม.แกนนำ..300..บ. x 3 คน X 24 วัน = 21,600 บ.
    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับคณะทำงาน.65..บ.x.13..คน X 24 วัน = 20,280 บ.
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม..25..บ.x 13 คน x 2 มื้อ X 24 วัน = 15,600 บ
    • ค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกทักษะการแปรงฟัน..50..บ.x 912 คน = 45,600 บ.
    • ค่าไวนิล ขนาด 80 x 120 ซม. ราคา 300บ. X 2 ผืน = 600 บ.

    ค่าวัสดุทางทันตกรรม

    • ยาชา 2% lidocaine 440 บ X 11 กล่อง= 4,840 บ
    • ยาชา 4% artricaine 590 บ X 5 กล่อง= 2,950 บ
    • หลอดดูดน้ำลาย 75 บ X 10 ถุง = 750 บ
    • เข็มสั้น 200 บ X 4 กล่อง = 800 บ
    • เข็มยาว 200 บ X 2 กล่อง = 400บ

    ค่าเครื่องมือทันตกรรม

    • หัวขูดหินน้ำลาย P10730 บ x 3 อัน =2,190 บ
    • คีมถอนฟัน cow horn2,270 บ x 5 อัน = 11,350 บ.
    • bone curette 1460 บ x 20 อัน = 29,200 บ.

    ค่าครุภัณฑ์ทางทันตกรรม

    • โคมไฟสนามส่องปาก LED พร้อมกระเป๋า 12,000 บ x 2 เครื่อง= 24,000 บ
    งบประมาณ 180,160.00 บาท
  • 2. ติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่มารับบริการทันตกรรม
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    2.1 ตรวจ/ติดตามสุขภาพช่องปากกลุ่มเป้าหมายหลังมารับบริการ โดย อาสาสมัครแกนนำประจำหมู่บ้าน

    2.2 กรณีพบปัญหาหาหรือภาวะแทรกซ้อนภายหลังการรักษา ส่งต่อเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

    เป้าหมาย

    • กลุ่มเป้าหมายที่พบปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน

    งบประมาณ

    ไม่ขอใช้งบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 3. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    3.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง 3.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

    งบประมาณ

    • ค่าเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้งๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
    งบประมาณ 2,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่ในหมู่บ้านตำบลกำแพง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 182,160.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ประชาชนกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ที่มีปัญหาโรคฟันผุและปริทันต์อักเสบได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
  2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 15-59 ปี ได้รับทันตสุขศึกษา และฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี
  3. ภาวะบวมติดเชื้อบริเวณใบหน้าที่มีสาเหตุจากโรคฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบในกลุ่มวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ลดลง
  4. ประชาชนในเขตตำบลกำแพงสามารถเข้าถึงบริการทันตกรรมได้สะดวกขึ้น และได้รับการรักษา/ติดตามอย่างต่อเนื่อง
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 182,160.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................