กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาการด้านร่างกายและการดูแลสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง

โรงเรียนบ้านตูแตหรำ

1. นายบาฮารูดิน ยาโงะผู้ประสานงานคนที่ 1
2. นางสาววิละยาเหมราผู้ประสานงานคนที่ 2
3. นางมาลัยวรรณ ลัดเลีย
4. นางสาวมาลินี หลีมานัน
5. นายธีรพงศ์นาคสง่า

โรงเรียนบ้านตูแตหรำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัญหาด้านสุขภาพของเด็กวัยเรียนในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากปัญหาสุขภาพของเด็กวัยเรียนในอดีต ทั้งนี้อาจมีสาเหตุเนื่องมาจากสภาพสังคม วัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์ ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก่อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพมากขึ้น มีปัญหาต่อสุขภาพส่งผลกระทบต่อการเรียนและอนาคตของประชากรกลุ่มนี้ ดังนั้นงานอนามัยโรงเรียน จึงเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ สร้างให้เด็กเกิดความรู้ ความเข้าใจ มีทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพ เป็นการลดปัญหาสุขภาพ ส่งผลบวกต่อการเรียน ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานจากทุกฝ่ายทั้งครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน

จากการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนโรงเรียนบ้านตูแตหรำ ปี 2562 ที่ผ่านมา ปัญหาสุขภาพนักเรียนที่ยังพบมาตลอดในโรงเรียน เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 20 ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการสนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนได้แปรงฟันหลังอาหารกลางวันที่โรงเรียนทุกวัน แต่ยังพบว่านักเรียนบางคนไม่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและไม่ได้ใส่ใจเรื่องการแปรงฟันขณะอยู่ที่บ้าน ปัญหานักเรียนขาดการดูแลใส่ใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง ประมาณร้อยละ 60 ส่วนหนึ่งมาจากสภาพแวดล้อมในครอบครัว การประกอบอาชีพ ทำให้การดูแลเด็กไม่เหมือนกัน เนื่องจากเด็กบางคนไม่ได้อาศัยอยู่กับผู้ปกครองโดยตรง รวมทั้งสภาพแวดล้อมในชุมชนพื้นที่หมู่ที่ 12 เป็นชุมชนแออัด การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทำการประมง มีสภาพแวดล้อมรอบๆ ชุมชนเป็นที่ชุกของยุง ที่เป็นพาหะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ซึ่งในปีที่ผ่านมาโรงเรียนได้แกนนำ อสม.น้อย รณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก พร้อมทั่งให้ประชาชนในชุมชนจัดบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ลดลงมา แต่ยังไม่หมดไปจากชุมชน ปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด เนื่องมาจากประชาชนที่อาศัยในชุมชนมีความหลากหลาย ทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ ทำให้มีการนำเข้ายาเสพติดมาในชุมชน ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางโรงเรียนและชุมชนจะต้องให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อเป็นการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งโรงเรียนได้ส่งเสริมกิจกรรมทางกายให้กับนักเรียน เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เช่น การเล่นกีฬาประเภทต่างๆ ส่งเสริมพัฒนาการ ปลูกผักสวนครัว เล่นกีฬาพื้นบ้าน เป็นต้น

โรงเรียนบ้านตูแตหรำได้ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาการด้านร่างกายและการดูแลสุขภาพนักเรียน ได้มีการต่อยอดโครงการจากที่ผ่านมา โดยได้ส่งเสริมจากกลุ่มแกนนำในการทำหน้าที่เฝ้าระวังและส่งเสริมกิจกรรมด้านสุขภาพให้กับนักเรียน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของนักเรียนในการดูแลสุขภาพของตนเอง
  1. นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง
  2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 60 มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น
  3. นักเรียนในโรงเรียน ร้อยละ 90 มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง
90.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและส่งเสริมด้านสุขภาพของนักเรียนทั้งในโรงเรียนและชุมชน
  1. แกนนำสุขภาพในโรงเรียน ร้อยละ 100 ดำเนินงานเฝ้าระวังและส่งเสริมด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
  2. ร้านค้าในชุมชนจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย ร้อยละ 100
  3. โรงเรียนและสถานที่ในชุมชน ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
  4. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดของนักเรียนและประชาชนในชุมชนลดลง
100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
บุคลากรทางการศึกษา 14
ผู้ปกครอง 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 เยาวชนรุ่นใหม่ เรียนรู้ดูแลสุขภาพตนเอง (Self Care)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 เยาวชนรุ่นใหม่ เรียนรู้ดูแลสุขภาพตนเอง (Self Care)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

1.1 จัดหลักสูตรการอบรมให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษา

1.2 จัดทำแบบบันทึกสุขภาพด้วยตนเอง

1.3 ทำแบบประเมินสุขภาพก่อนและหลังอบรม

เป้าหมาย

  • นักเรียนจำนวน 73คน
  • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน
  • ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน

งบประมาณ

  • ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม ขนาด 1X6 ม. เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 137 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 6,850 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 137 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 8,905 บาท
  • ค่าจัดทำแบบบันทึกสุขภาพจำนวน 73 เล่ม ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 2,920 บาท
  • ค่าจัดทำแบบประเมินก่อนและหลังอบรม เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าวัสดุสำนักงานประกอบการอบรม เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 วัน จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนร้อยละ 90 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของตนเอง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25175.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมทันตกรรม แก่นักเรียน (กิจกรรมต่อเนื่อง)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ส่งเสริมทันตกรรม แก่นักเรียน (กิจกรรมต่อเนื่อง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

2.1 กิจกรรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาโดยทันตแพทย์จากโรงพยาบาลละงู

2.2 ประกวดฟันสวย-ยิ้มใส

2.3 กิจกรรมเล่นเกม/ตอบปัญหา

2.4 ประกวดโครงงาน/ป้ายนิทรรศการด้านทันตสุขภาพ

เป้าหมาย

  • นักเรียนจำนวน 100 คน
  • บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 14 คน

งบประมาณ

  • ค่าอุปกรณ์สาธิตการแปรงฟัน จำนวน 20 ด้าม ๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่ายาสีฟัน 18 หลอด ๆ 90 บาท เป็นเงิน1,620 บาท
  • ค่าผ้าขนหนู 20 ผืน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  • ค่าแก้วน้ำ 20 ใบ ๆ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 วัน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  • ค่าวัสดุอบรม และสื่อการสอนทันตสุขศึกษา เป็นเงิน 3,๕00 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1๑๔ คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25บาท เป็นเงิน 5,700 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 1๑๔ คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน ๗,๔๑๐ บาท
  • ค่าป้ายไวนิลกิจกรรม ขนาด 1X6 ม. เป็นเงิน 900 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 60 มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22630.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกำลังกาย (กิจกรรมต่อเนื่อง)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมการออกกำลังกาย (กิจกรรมต่อเนื่อง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนให้นักเรียนเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการ

3.2 ฝึกฝนการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล ตะกร้อ เป็นต้น

3.3 ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ให้นักเรียนรดน้ำต้นไม้ พืชผักสวนครัว และปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน

3.4 กิจกรรมกีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับโรงเรียน เช่น การวิ่งสามขา เกมอุ้มแตง ชักกะเย่อเดินกะลาเป็นต้น

เป้าหมาย

  • นักเรียน จำนวน 100คน

งบประมาณ

  • ค่าวิทยากรในท้องถิ่นให้ความรู้และฝึกซ้อมนักกีฬา
  • กีฬาฟุตบอล จำนวน 20 ครั้งๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 200บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
  • กีฬาวอลเลย์บอล จำนวน 20 ครั้ง ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนในโรงเรียน ร้อยละ 90 มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเจ็บป่วยของนักเรียนลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเฝ้าระวัง (กิจกรรมต่อยอด)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเฝ้าระวัง (กิจกรรมต่อยอด)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

4.1 เฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก (ต่อยอด อสม.น้อย)

  • แกนนำ อสม.น้อย ร่วมกับนักเรียน ลงพื้นที่สำรวจบริเวณโรงเรียนและชุมชน เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พร้อมทั้งแจกทรายอะเบทให้กับครัวเรือนในชุมชน

4.2 เฝ้าระวังเรื่องอาหาร (ต่อยอด อย.น้อย)

  • แกนนำ อย.น้อย สำรวจร้านค้าจำหน่ายอาหารในชุมชน บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารของแต่ละร้าน

  • แกนนำ อย.น้อย ทำการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร บันทึกผลการตรวจ และแจ้งผลไปยังร้านค้า

4.3 เฝ้าระวังยาเสพติด (ต่อยอด สารวัตร.น้อย)

  • แกนนำ สารวัตรน้อย เดินรณรงค์ในวันต่อต้านยาเสพติดโลก

  • จัดประกวดแข่งขันวาดภาพเกี่ยวกับยาเพสติด

  • จัดทำป้ายโปสเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

เป้าหมาย

  • โรงเรียน 1 แห่ง
  • ชุมชนตูแตหรำ 100 ครัวเรือน

งบประมาณ

  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 ป้ายๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ชุดทดสอบอาหาร 5 ชนิด เป็นเงิน 3,000 บาท
  1. ทดสอบสารบอแร็ก
  2. ทดสอบสารฟอร์มาลีน
  3. ทดสอบสารฟอกขาว
  4. ทดสอบสารกันรา
  5. ทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ
  • ขอความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงพยาบาลละงู
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 5 ป้าย ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 10 ป้าย ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำกิจกรรม เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรม (ช่วงเช้า)จำนวน 164 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 4,100 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์ (ช่วงบ่าย) จำนวน 164 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 3,280 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 164 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 10,660 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำสุขภาพในโรงเรียน ร้อยละ 100 ดำเนินงานเฝ้าระวังและส่งเสริมด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
  2. ร้านค้าในชุมชนจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย ร้อยละ 100
  3. โรงเรียนและสถานที่ในชุมชน ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
  4. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดของนักเรียนและประชาชนในชุมชนลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
37040.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 5 รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

5.1 จัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

5.2 จัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการเมื่อเสร็จโครงการ

งบประมาณ

  • ค่ายานพาหนะในการเดินทาง จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ครั้งๆละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท
  • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานผล จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มีการจัดทำเอกสารนำเสนอโครงการ จำนวน 2 ครั้ง

  • มีการจัดทำรูปเล่มรายงานผลโครงการ จำนวน 4 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 102,245.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
2. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีขึ้น
3. นักเรียนมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
4. แกนนำสุขภาพในโรงเรียน ดำเนินงานเฝ้าระวังและส่งเสริมด้านสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
5. ร้านค้าในชุมชนจำหน่ายอาหารที่ปลอดภัย
6. โรงเรียนและสถานที่ในชุมชน ปลอดยาเสพติดและอบายมุข
7. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดของนักเรียนและประชาชนในชุมชนลดลง


>