กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพะเยา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพะเยา

เทศบาลเมืองพะเยา

นางอรพรรณมงคุณ

พื้นที่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)

 

4.00

โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญโรคหนึ่งของท้องถิ่นและประเทศ โรคนี้เป็นภัยต่อสุขภาพและความปลอดภัยของเด็กและประชาชนชาวไทยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นโรคติดต่อสามารถเป็นได้ทุกกลุ่มอายุทั้งเพศชายและหญิงสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสโดยมียุงลายเป็นพาหนะนำโรค สามารถเกิดการระบาดโรคได้ทุกฤดูและทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กอายุ0 – 15ปีจะมีความรุนแรงของโรคมาก
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยรายงานจากสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลงพบว่าปี2562 (ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค 31 กรกฎาคม 2562) มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 59,167 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 89.57 ต่อแสนประชากรเสียชีวิต 67 รายคิดเป็นอัตราตาย 0.11 (เป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้อัตราป่วยไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากรและอัตราตายไม่เกินร้อยละ 0.13) ซึ่งจะพบว่าอัตราป่วยที่สูงที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (118.89 ต่อแสนประชากร) รองลงมาได้แก่ภาคใต้ (90.22 ต่อแสนประชากร) ภาคกลาง (72.18 ต่อแสนประชากร) และภาคเหนือ (68.43 ต่อแสนประชากร) โดยส่วนใหญ่พบในกลุ่มอายุ 5 – 14 ปี รองลงมาได้แก่อายุ15 – 34 ปี และ 0 – 4 ปี
ข้อมูลจังหวัดพะเยา พบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในจังหวัดพะเยา ตั้งแต่เดือน ม.ค. – 10 ส.ค. 2562พบผู้ป่วยจำนวน 279 รายคิดเป็นอัตราป่วย 58.76 ต่อแสนประชากรอำเภอที่มีปัญหาโรคไข้เลือดออกสูงสุด 3 อันดับแรกของจังหวัด ได้แก่ อำเภอแม่ใจ(167 รายคิดเป็นอัตราป่วย 492.12 ต่อแสนประชากร)อำเภอภูกามยาว (13 รายคิดเป็นอัตราป่วย 61.61 ต่อแสนประชากร)อำเภอภูซาง (31 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 40.99ต่อแสนประชากร)สำหรับในเขตของเทศบาลเมืองพะเยาทั้งหมดมีจำนวน 14 ชุมชน ประชากร 16,801 คนจำนวนหลังคาเรือน 8,157 หลังคาเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 ส.ค. 2562 ) พบจำนวนผู้ป่วย 4 ราย (ชุมชนวัดภูมินทร์)คิดเป็นอัตราป่วย 20.20 ต่อแสนประชากร ซึ่งในช่วงฤดูฝนจะพบว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น การเตรียมความพร้อมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกประกอบด้วย 3 เรื่องสำคัญคือ 1) การป้องกันการถูกยุงกัด โดยทายากันยุง นอนในมุ้ง กำจัดยุงตัวเต็มวัยด้วยสเปรย์ ไม้ช็อตไฟฟ้า พร้อมกำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในภาชนะที่มีน้ำใสนิ่ง เช่น ถาดรองขาตู้เย็น ยางรถยนต์เก่า กระถางต้นไม้ เป็นต้น2) การเฝ้าระวังอาการของโรค เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร หน้าแดง ผิวหนังเป็นจุดเลือด อาเจียน ปวดท้องและ 3) การไปพบแพทย์เร็วเมื่อป่วยและมีไข้สูง เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคและเฝ้าระวังพิเศษในช่วงไข้ลดหากเกิดอาการช็อคจากไข้เลือดออก ต้องรีบกลับไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดพร้อมทั้งประชาชนต้องให้ความสำคัญกับมาตรการ 3 เก็บ

ป้องกัน 3 โรคคือ 1) เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง2) เก็บขยะ เศษภาชนะรอบบ้าน โดยทำต่อเนื่องสัปดาห์ละครั้ง ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และ 3) เก็บน้ำ สำรวจภาชนะใส่น้ำ ต้องปิดฝาให้มิดชิด ป้องกันยุงลายไปวางไข่ เพื่อป้องกัน3โรคคือโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หากช้าอาจทำให้เสียชีวิตได้
ดังนั้นงานศูนย์บริการสาธารณสุข ต.เวียงจึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกเพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่จะต้องช่วยกันกระตุ้น ตระหนัก ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ช่วยกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.1 เพื่อลดการแพร่ระบาดและลดความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพะเยา 1.2 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในเขตเทศบาล เมืองพะเยา 1.3 เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออกและแหล่งเพาะพันธุ์ ในชุมชน โรงเรียนและวัดในเขตเทศบาลเมืองพะเยา

7.1 อัตราการแพร่ระบาด  ความรุนแรง  อัตราป่วย  อัตราตายลดลง ไม่เกิน  50  ต่อแสน ประชากร  อัตราป่วยตาย  ไม่เกิน  0.13 7.2 ประมาณความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายและยุงลายตัวแก่ ๆ  ลดลงไม่เกิน  HI ≤  10 และ  CI =  0

4.00 0.00

1.1 เพื่อลดการแพร่ระบาดและลดความรุนแรงของโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลเมืองพะเยา
1.2 เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในเขตเทศบาล
เมืองพะเยา
1.3 เพื่อลดความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย พาหะนำโรคไข้เลือดออกและแหล่งเพาะพันธุ์
ในชุมชน โรงเรียนและวัดในเขตเทศบาลเมืองพะเยา

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/12/2019

กำหนดเสร็จ 20/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 2.1 จัดทำโครงการและนำเสนอขออนุมัติโครงการ 2.2 จัดประชุมชี้แจงโครงการ ฯ แก่แกนนำต่าง ๆ และผู้เกี่ยวข้องทั้งในชุมชนและโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ฯ 2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ โดยขอความร่วมมือจากกองสาธารณสุขฯ และกองวิชาการ ฯ ของเทศบาลเม

ชื่อกิจกรรม
2.1 จัดทำโครงการและนำเสนอขออนุมัติโครงการ 2.2 จัดประชุมชี้แจงโครงการ ฯ แก่แกนนำต่าง ๆ และผู้เกี่ยวข้องทั้งในชุมชนและโรงเรียน เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ฯ 2.3 ประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ โดยขอความร่วมมือจากกองสาธารณสุขฯ และกองวิชาการ ฯ ของเทศบาลเม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จากงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพ  เทศบาลเมืองพะเยา  จำนวน  54,000.- บาท        (ห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน)  รายละเอียดดังนี้ -  ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควันและละอองฝอย (ULV) กรณีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก/ หรือคาดว่าเป็นโรคไข้เลือดออกและเกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก  ประมาณ 30  ราย ซึ่งมีการพ่นหมอกควัน/ละอองฝอย  จำนวน  3  ครั้ง  ( 0,1,7) ต่อ 1 ราย โดยจ้างเหมา 1 – 2 คน : 1 ราย : 300.- บาท x 3 ครั้ง  =  1,800.- บาท กรณี เกิดการระบาดหรือการพ่นบริเวณที่มีพื้นที่กว้าง  ใช้คนพ่น 2 คน พ่นแบบ ULV ติดรถยนต์ รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  54,000.-  บาท  (ห้าหมื่นสี่พันบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

7.1 อัตราการแพร่ระบาด  ความรุนแรง  อัตราป่วย  อัตราตายลดลง ไม่เกิน  50  ต่อแสน ประชากร  อัตราป่วยตาย  ไม่เกิน  0.13 7.2 ประมาณความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายและยุงลายตัวแก่ ๆ  ลดลงไม่เกิน  HI ≤  10 และ  CI =  0

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

8.1 อัตราการแพร่ระบาดความรุนแรงอัตราป่วยอัตราตายลดลง ไม่เกิน50ต่อแสน
ประชากรอัตราป่วยตายไม่เกิน0.13
8.2 ประมาณความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายและยุงลายตัวแก่ ๆลดลงไม่เกินHI ≤10
และCI =0


>