กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ประกอบอาชีพทำนา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

เทศบาลตำบลนาโหนด (งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล)

สำนักงานเทศบาลตำบลนาโหนด หรือสถานที่อื่น ๆ ที่เหมาะสม

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การได้รับอันตรายจากสารเคมีของกลุ่มเกษตรกร

 

1.00
2 การปวดเมื่อยร่างกายจากการใช้ท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสม

 

2.00
3 การได้รับผลกระทบกระทบจากการต้องแช่น้ำเป็นเวลานาน

 

2.00

เทศบาลตำบลนาโหนด โดยงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาลได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลแรงงานนอกระบบในพื้นที่ตำบลนาโหนด พบว่า มีกลุ่มแรงงานนอกระบบ หลายกลุ่ม ที่ประสบปัญหาด้านสุขภาพ ทั้งกลุ่มแรงงานภาคเกษตรกร กลุ่มแรงงานภาคบริการ และกลุ่มแรงงานอื่น ๆโดยเฉพาะกลุ่มแรงงานภาคการเกษตร ในกลุ่มเกษตรกรผุ้ประกอบอาชีพทำนา ในหมู่บ้านที่ 4หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 7 ตำบลนาโหนด จำนวน 161 คน พบว่า มีปัญหาเกี่ยวกับการได้รับผลกระทบจากการใช้สารเคมีในนาข้าว การปวดเมื่อยร่างกายจากการใช้ท่าทางการทำงานที่ซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน การประสบปัญหาการต้องแช่น้ำเป็นเวลานาน
เทศบาลตำบลนาโหนด ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดกับแรงงานกลุ่มดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ประกอบอาชีพทำนา ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ประกอบอาชีพทำนา ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงาน

ผู้ประกอบอาชีพทำนา ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการทำงาน ร้อยละ 60

2.00 100.00
2 ผู้ประกอบอาชีพทำนาที่มีความเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง

ผู้ประกอบอาชีพทำนาที่มีความเสี่ยง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยง ร้อยละ 60

2.00 60.00
3 มีแกนนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงในกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพการทำนา

มีแกนนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเสี่ยงในกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพการทำนา อย่างน้อย 10 คน

1.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 30/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงกลุ่มเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองความเสี่ยงในกลุ่มเกษตกรกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้แบบสำรวจ/สอบถามภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานและความรอบรู้ของแรงงานนอกระบบ  โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
1.ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรอง เป็นเงิน 3,500 บาท
  1.1 ค่าวัสดุ (แบบประเมิน และอื่น ๆ) จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท
  1.2 ค่าจ้างเหมาบริการตรวจคัดกรอง จำนวน 100 คน ๆล ะ30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนา ได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงตามแบบตรวจคัดกรอง ไม่น้อย 97 คน
2.เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนา ที่พบความเสี่ยงจากการตรวจคัดกรอง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ แก่เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนา เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงาน  เป็นเงิน    บาท ประกอบด้วย
   1.1 ค่าอาอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆล ะ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
   1.2 ค่าสมนาคุณวิทยากร  (วิทยากรกลุ่ม) จำนวน 3 คน  ๆละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 5,400 บาท
   1.3 ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 100 ชุด ๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
   1.4 ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้พฤติกรรมที่ถูกต้องในการทำงาน ร้อยละ 100 มีแกนนำในการปรับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนา อย่างน้อย 10 คน
มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพทำนา อย่างน้อย 1 กลุ่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามเยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเกษตรกรผู้ผ่านการอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกษตรกรผู้ผ่านการอบรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน อย่างน้อย คนละ 2 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>