กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว

โรงเรียนบ้านบ่อหิน

นายธีระชัย ทีปรักษพันธ์
นายยุทธนาแคยิหวา
นายรัฐกรณ์บุญแก้วสุข
นายอาหลี แดงงาม
นางสาวสุกัญญา สานิง

โรงเรียนบ้านบ่อหิน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตมีการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย ด้านสติปัญญา ด้านอารมณ์และการอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อาหารเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้วัยเด็กได้รับการพัฒนาที่ดีมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง รวมทั้งการออกกำลังกาย การดูแลความสะอาดของร่างกายการป้องกันตนเองจากการเกิดโรคติดต่อ หลักเลี่ยงสิ่งเสพติดให้โทษ เพื่อให้นักเรียนซึ่งอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตได้มีความรู้ความเข้าใจเห็นคุณค่าในการดูแลสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย นำไปปฏิบัติได้เองในชีวิตประจำวันและเป็นแบบอย่างให้กับคนในครอบครัวและชุมชนในโอกาสต่อไปได้
ซึ่งทางโรงเรียนบ้านบ่อหินจะดำเนินทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพ นักเรียนแบบองค์รวม ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชน เพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน ซึ่งการดำเนินการโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพด้วยสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ และสามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพนักเรียนโรงเรียนบ้านบ่อหิน ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพนักเรียนตามตัวชี้วัด และโรงเรียนจะเน้นกระบวนการของกิจกรรมให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่เน้นการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมของนักเรียน ซึ่งการดำเนินการพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้นั้นโรงเรียนจะต้องได้รับความร่วมมือ และสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเรื่องยาสามัญประจำบ้านและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เด็กปฐมวัยและประถมศึกษามีความเข้าใจการใช้ยาสามัญประจำบ้านและปฐมพยาบาลเบื้องต้นร้อยละ ๙๐

เด็กปฐมวัยและประถมศึกษามีความเข้าใจการใช้ยาสามัญประจำบ้านและปฐมพยาบาลเบื้องต้นร้อยละ ๙๐

0.00
2 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับปฐมวัยและนักเรียนประถมศึกษาที่มีความเสี่ยงต่อ ภาวะทุพโภชนาการ

นักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ ๘๐ มีภาวะโภชนาการสมส่วน

0.00
3 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เด็กระดับปฐมวัยและนักเรียนประถมศึกษามีสุขภาพฟันที่แข็งแรง รับประทานผักที่ปลอดภัย

นักเรียนระดับชั้นปฐมวัยและชั้นประถมศึกษา ร้อยละ ๙๐ มีสุขภาพฟันที่ดี

0.00
4 เพื่อสร้างจิตสำนึกการมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดห้องสุขาของโรงเรียน ด้วยสมุนไพร
  • ร้อยละ ๘๕ ของนักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ส้วมถูกสุขลักษณะและสุขนิสัย
  • ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนมีจิตสำนึก การมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดห้องส้วม
  • โรงเรียนสามารถดำเนินการพัฒนาห้องส้วมให้สะอาด สวยงาม น่าใช้
0.00
5 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและสามารถแปรรูปเป็นอาหารได้
  • นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ ๙๐ มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร
  • นักเรียนและผู้ปกครองร้อยละ ๘๐ สามารถแปรรูปอาหารจากสมุนไพรได้
0.00
6 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)

นักเรียน คณะครูและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน)

0.00

เด็กปฐมวัยและประถมศึกษามีความเข้าใจการใช้ยาสามัญประจำบ้านและปฐมพยาบาลเบื้องต้นร้อยละ ๙๐

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 280
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/10/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลและการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างถูกวิธี

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลและการใช้ยาสามัญประจำบ้านอย่างถูกวิธี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

*ค่าตอบแทนวิทยากร 4 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 2,400 บาท *ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คนๆละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน4,500 บาท *ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท *ค่าป้ายไวนิลโครงการ/ป้ายความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลและใช้ยาสามัญประจำบ้านจำนวน 5 แผ่นๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท *ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรมแฟ้ม สมุด ปากกา ฯลฯ จำนวน 60 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
*สรุปและรายงานผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในกรณีเกิดอุบัติเหตุกับนักเรียนทางร่างกาย และมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาสามัญประจำบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13600.00

กิจกรรมที่ 2 เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
เฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

วิธีดำเนินการ (บรรยายเพิ่มเติม) 1. เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการมาให้ความรู้กับนักเรียน คณะครู และผู้ปกครอง ในเรื่องแนวทางการป้องกันและแก้ไขภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) 2. คัดกรองกลุ่มเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) 3. จัดกิจกรรมเพิ่มทักษะการดูแลและลดภาวะทุพโภชนาการเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) ให้กับกลุ่มเด็กที่มีภาวะอ้วน โดยให้ผู้ปกครองและครูมีส่วนร่วมในการออกแบบเมนูอาหารที่เหมาะสมและให้มีการติดตามประเมินทุกระยะทั้งที่บ้านและโรงเรียน 4. จัดตารางเวลาและกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายให้กับกลุ่มเด็กอ้วน 5. สรุปและประเมินผลโครงการ งบประมาณ
1. ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท 2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คนๆละ 75 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 40 คนๆละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท 4. ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรมแฟ้ม สมุด ปากกา ฯลฯ จำนวน 40 คนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นักเรียน คณะครูและผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์ (โรคอ้วน) 2.นักเรียนมีทักษะในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และปริมาณเหมาะสมกับร่างกาย 3.นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการน้ำหนักเกินเกณฑ์และป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็ก 4.นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

กิจกรรมที่ 3 รอยยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี (บ่อหินสวยใส)

ชื่อกิจกรรม
รอยยิ้มสดใสเด็กไทยฟันดี (บ่อหินสวยใส)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม พัฒนา เด็กปฐมวัย และนักเรียนประถมศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการดูแลทันตสุขภาพอย่างถูกวิธี โดยการมีกิจกรรมการประกวดฟันสวย วาดภาพระบายสีฟันสวยยิ้มใส และกิจกรรมอื่นๆ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีการดูแลฟันและช่องปาก รณรงค์การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน งบประมาณ 1. จัดทำป้ายไวนิลให้ความรู้การแปรงฟันถูกวิธี จำนวน 4 ป้าย ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท 2. เชิญวิทยากร รพ.สต.เขาขาว ให้ความรู้การดูแลช่องปากและฟันแท้ จำนวน 2 ชั่วโมง เป็น 1,200 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 90 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กได้ตระหนักถึงสุขภาพในช่องปากในเด็กมากขึ้น ทำให้เด็กทุกคนได้สร้างสุขนิสัยและฝึกทักษาการดูแลความสะอาดช่องปาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5450.00

กิจกรรมที่ 4 สุขาน่าใช้

ชื่อกิจกรรม
สุขาน่าใช้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริม พัฒนา เด็กปฐมวัย และนักเรียนประถมศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการใช้ส้วมอย่างถูกสุขลักษณะและสุขนิสัยได้แก่จัดกิจกรรมบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ทำความสะอาดส้วมป้องกันโรค จัดทำโครงงานจุลินทรีย์พิทักษ์ส้วม จัดทำป้ายโฟมบอร์ด ประชาสัมพันธ์การใช้ส้วมอย่างถูก สุขอนามัยและสุขนิสัย งบประมาณ 1. ทำป้ายโฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์/สื่อ/รณรงค์การใช้ห้องส้วมอย่างถูกวิธีเป็นเงิน 2,000 บาท 2. การเรียนรู้การผลิตน้ำยางล้างห้องน้ำจากสมุนไพรใกล้ตัวพร้อมอุปกรณ์ เป็นเงิน 2,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนระดับปฐมวัยและประถมศึกษามีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมในการรักษาความสะอาดห้องสุขาโรงเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 5 ครัวปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ครัวปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้การปลูกพืชหมุนเวียน ทำเกษตรแบบผสมผสาน โดยไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชและฆ่าแมลง โดยอาศัยการดูแลและเอาใจใส่ ด้วยการใช้อินทรีย์ 1. เชิญวิทยากรจากเกษตรอำเภอละงู มาให้ความรู้ในการปลูกพืชแบบเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและการป้องโรค จำนวน 2 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท 2. ป้ายไวนิลโครงการ(กิจกรรมครัวปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ) จำนวน 1 แผ่น ๆ ละ 500 บาท 3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 90 คนๆละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนและผู้ปกครองเข้าใจในการใช้เกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตห่างไกลโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3950.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>