กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงอายุ ยิ้ม ยิ้ม อย่างมีสุขปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

1.นายสมศักดิ์ปุรินทราภิบาลประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
2.นางสุกัญญาขำยา
3.นางหทัยพรดำฝ้าย
4.นางยุพาเกื้อสกุล
5.นางปรีดามืดมาก
6.นางสุรีรัตน์คงชู
7.นางจำนงค์ หอยสกุล

ห้องประชุมต้นไทรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)เพิ่มมากขึ้น

 

2.00
2 ผู้ดูแลขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

 

2.00

ปัจจุบันจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากการที่ได้ออกสำรวจผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในปี พ.ศ. 2561 ผู้สูงอายุติดบ้านจำนวน 11 คน ผู้สูงอายุติดเตียงจำนวน 2 คน และในปี พ.ศ.2562 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเพื่อจำนวน ติดบ้านจำนวน 22 คน ติดเตียง 3 คน จากการที่ไม่เห็นความสำคัญขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลให้ผู้สูงอายุรับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง
ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เห็นความสำคัญเพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จึงได้จัดโครงการผู้สูงอายุ ยิ้ม ยิ้ม อย่างมีสุขปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพิ่มขึ้นอีกจำนวน 44 คน เพื่อให้ผู้สุงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่ถูกต้องสามารถกลับมาดูแลและช่วยเหลือตนเองได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 171คนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยงกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้ถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 171 คนได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยงกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างถูกต้อง

2.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสามารถกลับมาดูแลและช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้

ร้อยละ 10 ของจำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง(ADL น้อยว่า 11 คะแนน)ลดลง

2.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 82
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2020

กำหนดเสร็จ 31/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ดูแลและผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 171 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ดูแลและผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 171 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง “อาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลสุขผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง” รวมจำนวน 171 คน โดยแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม (กลุ่มที่ 1 จำนวน 86 คน กลุ่มที่ 2 จำนวน 85 คน) วันที่ 31 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.30 – 16.30 น. กลุ่มที่ 1 ใช้สถานที่ ณ.ห้องประชุมต้นไทร รพ.สต.บ้านต้นไทร และ กลุ่มที่ 2 ใช้สถานที่ ศาลาเอนกประสงค์เทศบาลตำบลนาโหนด ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าอบรม จำนวน 171 คนๆละ 2 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 6,840 บาท ค่าอาหารกลางวันสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงเข้าอบรมจำนวน 171 คนๆละ 1 มื้อๆละ50 บาท เป็นเงิน 8,550 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้สูงอายุในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในวัยสูงอายุ จำนวน 3 คนๆละ 4 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท ค่าสำเนาเอกสาร จำนวน 171 คนๆละ 1 ชุดๆละ 20 บาท(สมุด ปากกา เอกสาร) เป็นเงิน 3,420 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 171 คนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดูแล สุขภาพในวัยผู้สูงอายุได้ถูกต้อง ๒. ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 171 คนได้รับการการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง
๓. ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 171 คน ได้รับการดูแลและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22410.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,410.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 171 คนมี ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ดูแล สุขภาพในวัยผู้สูงอายุได้ถูกต้อง
๒. ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 171 คนได้รับการการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ได้อย่างถูกต้อง
๓. ร้อยละ 80 ของอาสาสมัครสาธารณสุขและญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จำนวน 171 คน ได้รับการดูแลและไม่มีภาวะแทรกซ้อน


>