กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองสุขภาพค้นหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกร ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

1.นายสมศักดิ์ปุรินทราภิบาล ประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
2.นางสุกัญญาขำยา
3.นางปรีดามืดมาก
4.นางจำนงค์หอยสกุล
5.นางสุรีรัตน์ คงชู
6.นางยุพาเกื้อสกุล
7.นางสาวสุภาพรช่วยอนันต์
8.นางหทัยพรมืดมาก

ห้องประชุมต้นไทรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการทำสวน

 

2.00
2 ผลผลิตที่ได้จากทำเกษตรตรวจพบสารปนเปื้อนมีสารเคมีตกค้างในอาหารหรือผลผลิต

 

2.00

ประชากรในเขตพื้นที่ตำบลนาโหนด และเขตบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ 80ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำนา ปลูกผักทำสวนผลไม้และสวนยางพาราผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืชจึงกระจายและขยายเป็นวงกว้างและยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่ ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรที่มีสารเคมีตกค้างในเลือดจึงได้จัดทำโครงการตรวจสารพิษตกค้างในเลือดเกษตรกร ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ พบกลุ่มเสี่ยงมีสารเคมีตกค้างจำนวน ๘๕ คน แนะนำการปรับเปลี่ยน และในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ พบกลุ่มเสี่ยงมีสารเคมีตกค้างเพิ่มขึ้น จำนวน ๑๐๖ คน
ดังนั้น ทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านต้นไทร ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดโครงการตรวจคัดกรองสุขภาพค้นหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดของเกษตรกร ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ เพื่อให้การดำเนินงานการสร้างสุขภาพตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด และเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดความรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของเกษตรกร จำนวน 350 คน มีความรู้ความเข้าในการทำเกษตรอินทรี/เกษตรปลอดภัย

2.00 80.00
2 ๒. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด

ร้อยละ 80 ของเกษตรกรจำนวน 350 คน ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง

2.00 80.00
3 ๓. เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรที่เสี่ยง ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ มีภาวะเสี่ยงลดลง

ร้อยละ 100 ของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยง ได้รับการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงและได้รับการตรวจซ้ำ

2.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 350
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/06/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเกษตรกร จำนวน 350 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเกษตรกร จำนวน 350 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง “พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด”, “และการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยง”พร้อมเจาะเลือดตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด รวมจำนวน 350 คน วันที่ 2 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ.รพ.สต.บ้านต้นไทร จำนวน 88 คน วันที่ 2 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ.รพ.สต.บ้านต้นไทรจำนวน 88 คน วันที่ 3 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ.รพ.สต.บ้านต้นไทร จำนวน 87 คน วันที่ 3 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ.รพ.สต.บ้านต้นไทรจำนวน 87 คน ๑. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเกษตรกรเข้าอบรม(จะแบ่งอบรมเป็น 4 รุ่นๆละจำนวน 87 - 88 คน พร้อมรับการเจาะเลือดตรวจสารเคมีตกค้าง) รวมจำนวน 350 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
๒. ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้มีสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด”,“และการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยง” จำนวน 1 คนๆละ 2 วันๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท ๓. วัสดุชุดตรวจสารเคมีในเลือด จำนวน 3 กล่องๆละ 950 บาท (100ชิ้น/กล่อง) เป็นเงิน 2,850 บาท ๔. วัสดุการแพทย์เข็มเจาะเลือด จำนวน 2 กล่องๆละ 570 บาท (200 ชิ้น/กล่อง) เป็นเงิน 1,140 บาท ๕. วัสดุการแพทย์ Tube สำหรับเก็บเลือดตรวจ จำนวน 3 กล่องๆละ 350 บาท (100ชิ้น/กล่อง) เป็นเงิน 1,050 บาท ๖. ค่าอุปกรณ์สำหรับอบรมและจ้างสำเนาเอกสาร จำนวน 350ชุดๆละ 21 บาท เป็นเงิน 7,350 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑.  ร้อยละ 80  ของเกษตรกร ทั้ง ๗ หมู่บ้าน หมู่ ๒,๔,๕,๗,๘,๙,๑๑  จำนวน  350  คน   มีความรู้ความเข้าใจและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงสารเคมีตกค้างในเลือดได้อย่างถูกต้อง ๒.  ร้อยละ 80 ของเกษตรกร ทั้ง ๗ หมู่บ้าน หมู่ ๒,๔,๕,๗,๘,๙,๑๑  จำนวน  350  คน   ได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด ๓.  ร้อยละ 80 ของเกษตรกร ทั้ง ๗ หมู่บ้าน หมู่ ๒,๔,๕,๗,๘,๙,๑๑  พบเสี่ยงมีสารเคมีตกค้างในเลือดได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และลดภาวะเสี่ยง ได้รับการติดตามตรวจซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21190.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,190.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกษตรกร ทั้ง ๗ หมู่บ้าน หมู่ ๒,๔,๕,๗,๘,๙,๑๑จำนวน350คน มีพฤติกรรมในการทำเกษตรอินทรี เกษตรปลอดภัยได้ถูกต้อง ร้อยละ 80
๒. เกษตรกร ทั้ง ๗ หมู่บ้าน หมู่ ๒,๔,๕,๗,๘,๙,๑๑จำนวน350คน ได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดพบผิดปกติลดลง ร้อยละ ๑๐
๓. ผลผลิตจากการเกษตรตรวจพบสารเคมีตกค้างลดลง ร้อยละ ๑๐


>