กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเลือกอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ ปีงบประมาณ ๒๕๖๓

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

1.นายสมศักดิ์ปุรินทราภิบาลประธานชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
2.นางสุกัญญา ขำยา
3.นางปรีดามืดมาก
4.นางจำนงค์หอยสกุล
5.นางสุรีรัตน์คงชู
6.นางยุพาเกื้อสกุล
7.นางสาวสุภาพรช่วยอนันต์
8.นางหทัยพรดำฝ้าย

ห้องประชุมต้นไทรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาประกอบอาหารรับประทานต้องซื้อจากร้านอาหาร

 

2.00
2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอ้วนจากการเลือกรับประทานอาหารไม่ถูกต้องหรือไม่มีอาหารให้เลือกรับประทานเพราะร้านประกอบการทำอาหารเค็ม มัน ส่วนใหญ่

 

2.00

ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนไป วิถึชีวิตของคนในชุมชนก็เปลี่ยนไป ในเขตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร ต้องทำงานไม่มีเวลาในการดูแลตนเองและครอบครัว ทำงานต้องแข่งกับเวลาไม่มีเวลาทำอาหารต้องซื้ออาหารจากร้านทุกมื้อ ซึ่่งอาหารแต่ละมื้อก็มีตัวเลือกไม่มากในการจะซื้อจึงทำให้มีภาวะเกิดโรคตามมาหลายโรคที่เห็นได้ชัดเจนคือโรคอ้วนทางชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเห็นความสำคัญตามแนวคิดหลักของการพัฒนาสุขภาพ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้มุ่งเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ ดังนั้นจึงมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการได้แก่ ด้านสุขภาพจิต การออกกำลังกาย การอนามัยสิ่งแวดล้อม และอาหารสะอาดปลอดภัย ซึ่งจะนำไปสู่สุขภาวะที่ดีด้วย ปัจจัยพื้นฐานด้านอาหารนับว่าเป็นสิ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน การจัดการอาหารที่ดี นอกจากจะคำนึงถึงรสชาติและ ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะคำนึงถึงรสชาติแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในอาหารเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารจำหน่ายอาหาร เจ้าของร้านขายของชำ รวมถึง อสม. ต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารทุกขั้นตอน และตระหนักถึงความสำคัญในการประกอบอาหารที่สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทรได้เห็นความสำคัญของการปรับปรุงให้ถูกต้องได้มาตรฐานจึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ ประจำปี ๒๕๖๓ เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการผลิตอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยสำหรับผู้บริโภคได้รับอันตรายหรือพิษภัยจากอาหาร ตามหลักสุขาภิบาลอาหารต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประการการร้านอาหารมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการประกอบอาหารให้ถูกหลักธงโภชนาการ

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวน 40 ร้าน มีความรู้ ความเข้าใจในการประกอบอาหารตามหลังธงโภชนาการได้ถูกต้อง

2.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ยกระดับการจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่น

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวน 40 ร้าน ได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่น

2.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำความรู้ในการประกอบอาหารตามหลักธงโภชนาการไปใช้ในการประกอบอาหารจำหน่ายในร้านได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 80 ของผู้ประกอบการร้านอาหารจำนวน 40 ร้าน นำความรู้ในการประกอบอาหารตามหลักธงโภชนาการไปใช้ในการประกอบอาหารจำหน่ายในร้านได้อย่างถูกต้อง

2.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/01/2020

กำหนดเสร็จ 30/04/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 40 ร้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 40 ร้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เรื่อง “การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์หรืออาหารเพื่อสุขภาพ”, “ยกระดับการจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่นของร้านอาหาร”, “การเลือกวัตถุดิบใสการประกอบอาหารที่มีคุณภาพ” รวมจำนวน 40 คน วันที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ. 2563เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ.รพ.สต.บ้านต้นไทร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาทเป็นเงิน 800 บาท
ค่าสมนาคุณวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์หรืออาหารเพื่อสุขภาพ”, “ยกระดับการจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่นของร้านอาหาร”, “การเลือกวัตถุดิบใสการประกอบอาหารที่มีคุณภาพ”จำนวน 1 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท วัสดุน้ำยาชุดตรวจทดสอบ SI-2 จำนวน 40 ชุดๆละ 7 ขวดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท ค่าอุปกรณ์สำหรับอบรมและจ้างสำเนาเอกสาร จำนวน 40 ชุดๆละ 70 บาท เป็นเงิน 2,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. ร้อยละ 80ของผู้ประกอบการร้านอาหาร ทั้ง ๗ หมู่บ้าน หมู่ ๒,๔,๕,๗,๘,๙,๑๑ จำนวน40คน มีความรู้ความเข้าใจความรู้ ความตระหนัก เกียวกับการประกอบอาหารจำหน่ายตามหลักธงโภชนาการได้อย่างถูกต้อง ๒. ร้อยละ 80ของผุู้ประกอบการร้านอาหาร ทั้ง ๗ หมู่บ้าน หมู่ ๒,๔,๕,๗,๘,๙,๑๑จำนวน40คน ได้ยกระดับการจำหน่ายอาหารให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานท้องถิ่น ๓. ร้อยละ 80ของผู้ประกอบการร้านอาหาร ทั้ง ๗ หมู่บ้าน หมู่ ๒,๔,๕,๗,๘,๙,๑๑จำนวน40คน ได้นำความรู้ไปประกอบอาหารในการจำหน่ายตามหลักธงโภชนาการได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนสามารถเลือกซื้ออาหารทีมีคุณภาพจากร้านผุู้ประกอบการได้
๒. ประชาชนได้รับสารอาหารตามหลักธงโภชนาการหรือได้การบริโภคอาหารที่มีคุณภาพถึงแม้จะซื้ออาหารจากร้านผู้ประกอบการ
๓. ประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคลดลงถึงแม้เลือกซื้ออาหารจากร้านผู้ประกอบการ


>