กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญสะอาด ปลอดภัย ห่างไกลโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมือง คอหงส์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
สืบเนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศการผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ในการประชุมคณะกรรมการสาธารณสุขครั้งที่54-2/2552 มีมติให้การประกอบกิจการตู้น้ำ หยอดเหรียญเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศฯ ดังกล่าว ซึ่งต้องควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคที่กำหนด และนอกจากนี้น้ำยังเป็นสิ่งจำเป็นเพราะมนุษย์ต้องนำน้ำไปใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะน้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด มีคุณภาพ มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย นอกจากนี้น้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วย ด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร ปัสสาวะอาหารเป็นพิษ นิ่วในไต ระบบประสาท มะเร็ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยตรง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทำให้ประกอบอาชีพไม่ได้และกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งโรคเหล่านี้เราสามารถป้องกันได้โดยการปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอนามัย
ประกอบกับในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จากการสำรวจข้อมูลพบว่ามีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญประมาณ 49 ตู้ ที่จะมีการตั้งอยู่ในบริเวณแหล่งชุมชน บริเวณหอพัก อพาร์ทเม้นท์ และภายในบริเวณสถานศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยจะมีประชาชนได้ใช้น้ำเพื่อการบริโภคเป็นจำนวนมากและสืบเนื่องจากการจัดทำโครงการดังกล่าวในปี 2562 ที่มีการเก็บตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการ พบว่า มีน้ำผ่านเกณฑ์ 30 ตู้ คิดเป็นร้อยละ 61.22 และไม่ผ่านเกณฑ์ 19 ตู้ คิดเป็นร้อยละที่ 38.77
ดังนั้น จากข้อมูลดังกล่าว งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองคอหงส์ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ สะอาด บริโภคปลอดภัยขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังบริโภค ลดปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากน้ำ เป็นสื่อและประชาชนดื่มน้ำที่สะอาด ปลอดภัย และมีสุขภาพดี ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและตัวแทนผู้บริโภคมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษาตู้น้ำดื่ม อย่างน้อย ร้อยละ 70

0.00
2 เพื่อให้เจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญนำความรู้ที่ได้ไปดูแลตู้น้ำดื่มให้ได้มาตรฐานและถูกสุขลักษณะ

ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญได้รับการเฝ้าระวัง อย่างน้อย ร้อยละ 70 ของตู้น้ำทั้งหมด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 23/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจประเมิน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจประเมิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย สุ่มตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยส่งตรวจวิเคราะห์ยังห้องปฏิบัติการ จำนวนร้อยละ 80 ของจำนวนตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้งหมดในเขตเทศบาล
- ค่าส่งตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการ 50 ตู้ x 3,300 บาท = 165,000 บาท
(จากบันทึกข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ร้อยละ 50)
ฉะนั้น งบประมาณจะออกร่วมกัน คนละ 82,500 บาท
- ค่าป้าย/ สติกเกอร์ รับรองคุณภาพ = 2,100 บาท
- ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์ความรู้ จำนวน 200ใบ x 5 บาท = 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
85600.00

กิจกรรมที่ 2 สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการ= 1,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 86,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีองค์ความรู้ ตระหนักต่อปัญหาที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
2. ใช้เป็นแนวทางในการควบคุม ดูแลกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ประเภทตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535
3. ประชาชนทราบและให้ความสำคัญในการใช้บริการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเพิ่มมากขึ้น


>