กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กรุ่นใหม่ ไม่เอาบุหรี่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ

อาสาสมัครสาธารณสุข ม.1

นายนาวีวัฒน์หะยีบาสอประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ม.1
นางสาวนูรุลฮูดากอแนงรองประธานอาสาสมัครสาธารณสุข ม.1
นางสาวสาปูเราะดือราแมอาสาสมัครสาธารณสุข ม.1
นางสาวสารีฮ๊ะมูซออาสาสมัครสาธารณสุข ม.1
นางสาวรอฮานาบือราเฮงอาสาสมัครสาธารณสุข ม.1

โรงเรียนในพื้นที่ตำบลท่ากำชำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี (คน)

 

24.00

กฎหมายเกี่ยวกับการห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะที่มีการห้ามสูบบุหรี่ในห้องอาหาร ในลิฟต์ ในโรงพยาบาล ฯลฯ โดยมีโทษเอาผิดกับทั้งผู้สูบและเจ้าของสถานประกอบการค่อนข้างหนัก ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายในการคุ้มครองผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ จากการถูกคุกคามทางด้านสุขภาพจากควันบุหรี่ของผู้ที่สูบในที่สาธารณะ แต่ถึงแม้จะมีกฎหมายต่าง ๆ เหล่านี้ออกมาในความจริงกลับปรากฏว่าจำนวนคนสูบบุหรี่ที่เป็นวัยรุ่นกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะเพียงแค่ลำพังการออกกฎหมายมากำกับเพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ แต่จะต้องให้ความรู้ความเข้าใจต่อคนทั่วไปถึงพิษภัยของบุหรี่ และมุ่งเป้าไปในแง่ของการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ยังไม่เคยสูบบุหรี่นั้นเป็นเหยื่อของการโฆษณาบุหรี่และรู้สึกอยากลองสูบจนตกเป็นทาสของบุหรี่ในที่สุด ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญมากคือกลุ่มวัยรุ่น วัยรุ่นติดบุหรี่ด้วยเหตุผลต่าง ๆ หลายอย่าง ส่วนใหญ่เป็นจากสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการมีเพื่อนที่สูบบุหรี่ หรือการที่คนในครอบครัวสูบบุหรี่จะเป็นสิ่งที่ทำให้วัยรุ่นผู้นั้นมีโอกาสสูบบุหรี่ได้มาก บางคนสูบบุหรี่โดยเข้าใจว่าจะทำให้เข้าสังคมเพื่อน ๆ ได้ง่ายขึ้น อย่างน้อยก็เขินเมื่อตอนไม่รู้ว่าจะทำอะไรดีกับมือที่ว่างอยู่ บางคนรู้สึกการสูบบุหรี่ทำให้ดูว่าเขาเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ไม่เป็นเด็กเหมือนก่อน สาววัยรุ่นมักจะเข้าใจว่าการสูบบุหรี่สามารถลดน้ำหนักลงได้ง่ายขึ้น เพราะทั้งมือและปากไม่ว่างที่จะทำให้อาหารได้ บางคนก็สูบบุหรี่เพื่อระบายความเครียดจากปัญหาที่บ้านหรือเรื่องแฟน มีหลายครอบครัวที่ไม่พบว่ามีใครในบ้านสูบบุหรี่เลย แต่มีเฉพาะลูกคนที่เป็นวัยรุ่น เพราะวัยรุ่นหลายรายเลือกการสูบบุหรี่เป็นการแสดงออกเพื่อต่อต้านพ่อแม่ เพื่อต้องการแสดงให้พ่อแม่เห็นว่าตนเองนั้นโตแล้ว และไม่ต้องการให้พ่อแม่มาบังคับเขา เขาโตพอที่จะเลือกตัดสินใจทำอะไรกับตัวของเขาเองแล้ว และต้องการให้ความสำคัญในปัญหาของเด็กและเยาวชนในเรื่องของการสูบบุหรี่ จึงได้มีโครงการเด็กรุ่นใหม่ ไม่เอาบุหรี่ เพื่อเด็กและเยาวชน จะได้รู้เท่าทันและปลอดภัยจากบุหรี่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี

จำนวนผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในกลุ่มเด็ก-เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี ลดลงเหลือ (คน)

24.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 300
กลุ่มวัยทำงาน 292
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/02/2020

กำหนดเสร็จ 21/02/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • อบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของบุหรี่/ยาเสพติด การป้องกันและการแก้ปัญหาของบุหรี่/ยาเสพติด
  • อบรมการดูแลบุตรหลานในครอบครัวในการแก้ปัญหาบุหรี่/ยาเสพติด
    -ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 25 บาท x 592 คน  = 14,800 บาท
    -ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ชั่วโมง x 600 บาท x 7 วัน = 8,400 บาท
    -ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 x 2.4 เมตร       = 800 บาท
    ค่าวัสดุที่ใช้ในการอบรม
    -สมุดเล่มละ 15 บาท × 300 คน             = 4,500 คน
    -ปากกา แท่งละ 5 บาท × 300 คน       = 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยบุหรี่/ยาเสพติด
2. เข้ารับการอบรมรู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากพิษภัยของบุหรี่/ยาเสพติด
3. เข้ารับการอบรมนำความรู้เกี่ยวกับพิษภัยไปขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
30000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ไม่มีกลุ่มผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่ในเยาวชน นักเรียนในสถานศึกษา
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยบุหรี่/ยาเสพติด
3. ผู้เข้ารับการอบรมรู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากพิษภัยของบุหรี่/ยาเสพติด
4. ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้เกี่ยวกับพิษภัยไปขยายผลสู่ครอบครัวและชุมชน


>