กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านทุ่งรี 2 ปี 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในชุมชนบ้านทุ่งรี 2 ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองคอหงส์

ชุมชนบ้านทุ่งรี 2

1. นายประมูล ไชยประภา
2. นางเล็ก โสดา
3. นางอนงค์ วิสมิตะนันท์
4. นายสมบูรณ์ ลูกมณี
5. นางจุฑา โชยประภา

ชุมชนบ้านทุ่งรี 2

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและถือเป็นภัยเงียบ เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฎอาการ และเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ภาวะเครียด ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วนการดื่มสุรา การสูบบุหรี่
เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพ และการบริโภคอาหารที่เสียงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงของคนในชุมชน ประกอบกับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารหวานจัด เค็มจัด และอาหารมัน ของคนในชุมชน เนื่องจากมีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทย การผลิตอาหาร ในช่วงงานเลี้ยงหรืองานเทศกาลต่างๆ โดยที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาหารแกงกะทิเป็นหลัก ซึ่งมีความมัน และการบริโภคอาหารว่าง ชาวบ้านมักจะบริโภคอาหารประเภทที่มีรสหวานเป็นส่วนใหญ่ และผู้ป่วยเบาหวานหลายรายที่อยู่ในภาวการณ์พึ่งพาอาศัยร่วมกับลูกหลาน ซึ่งลูกหลานจะต้องประกอบอาหารให้กับผู้ป่วย ในขณะเดียวกันการประกอบอาหารต่างไม่คำนึงถึงพลังงานที่จะได้รับ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดพลังงานและไขมันในร่างกาย ส่งผลต่อการป่วยเป็นโรคของคนในชุมชน
จากการดำเนินงานคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ของชุมชนบ้านทุ่งรี 2 ซึ่งมีประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 50 คน ในปี 2562 กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการคัดกรองปกติ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 50 อยู่ในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 48และได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการคัดกรองปกติ 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22 อยู่ในกลุ่มเสี่ยง 18 คน คิดเป็นร้อยละ 36 กลุ่มป่วย 21 คน คิดเป็นร้อยละ 42 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มต่อการเพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ การบริโภคอาหารหวาน มัน เค็มและอาหารจานด่วนของคนในชุมชนบ้านทุ่งรี 2 ซึ่งเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีสถานที่จำหน่ายอาหารที่หาได้ง่าย
ดังนั้น ชุมชนบ้านทุ่งรี 2ได้จัดทำโครงการติดตามและเฝ้าระวังผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกในชุมชนบ้านทุ่งรี 2 ประจำปี 2563 เพื่อติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่มีภาวะเสี่ยง ไม่ให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและเพื่อติดตามและสร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สามารถลดหรือควบคุมค่าดัชนีมวลกายได้ดีกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลก่อน – หลังเข้าร่วมโครงการ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะเสี่ยงจากโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการเสริมสร้างสุขภาพของตนเองมากขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 3. กลุ่มเป้าหมายเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไป

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่ามาตรฐาน สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการโรค
  1. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ไม่น้อยกว่าร้อยะ 70
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจต่อการปฏิบัติตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. กลุ่มเป้าหมายสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติมากกว่า ร้อยละ 20
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 03/02/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างความเข้าใจให้แกนนำสุขภาพของชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างความเข้าใจให้แกนนำสุขภาพของชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
25.- บาท x 15 คน x 2 ครั้ง
=  750.-  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
จัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจคัดกรองสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1 ค่าเครื่องวัดระดับน้ำตาล
2,500.- บาท x 2 เครื่อง
= 5,000.- บาท
2.2 ค่าแถบตรวจวัดน้ำตาล
500.- บาท (25 ชิ้น/กล่อง)
x จำนวน 10 กล่อง
= 5,000.- บาท
2.3 ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต
2,500.- บาท x 2 เครื่อง
= 5,000.- บาท
2.4 ค่าสมุดบันทึก
20.- บาท x 50 เล่ม
= 1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
25.- บาท x 50 คน x 1 ครั้ง
= 1,250.-  บาท 3.2 ค่าจัดทำแผ่นพับ 5.- บาท x 50 แผ่น  =  250.-  บาท 1.2 x 2.4 x 150.- บาท
3.3 ค่าป้ายไวนิล
1.2 x 2.4 x 150.- บาท
= 432.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1932.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง, สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยง, สรุปผลการดำเนินงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

4.1 ค่าสมนาคุณวิทยากร
600.- บาท x 1 คน x 4 ชั่วโมง
= 2,400.- บาท 4.2 ค่าอาหารกลางวัน
80.- บาท x 50 คน x 1 มื้อ
= 4,000.- บาท
4.3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
25.- บาท x 50 คน x 2 มื้อ
= 2,500.- บาท
4.4 ค่าจัดทำเอกสารสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
1,000.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,582.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>