กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

วัยรุ่นยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพกายและจิตใจ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา

-

โรงเรียนยะหาศิริยานุกูลและโรงเรียนธรรมอิสลามวิทยา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานกาณ์วัยรุ่นที่มารับบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น พบว่าในปี 2562 มีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์

 

5.00
2 วัยรุ่นที่รับการบำบัดยาเสพติด

 

24.00
3 วัยรุ่นที่ถูกกระทำรุนแรง

 

16.00

วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นช่วงวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสิ่งสำคัญและอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิกฤตแห่งชีวิตหากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม หรือการได้รับข้อมูล การสนับสนุนจากครอบครัวและบุคคลรอบข้างก็อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางเหมาะสมได้เช่นกัน จากค่านิยมในสังคมไทยในชนบทและชาวเขาที่นิยมส่งบุตรสาวไปประกอบอาชีพประเวณี เพื่อเป็นการหารายได้จุนเจือครอบครัว วัยรุ่นกลุ่มนี้จึงจัดว่าเป็นกลุ่มเสี่ยวต่อการตกเป็นเหยื่อของขบวนการค้าประเวณี ค้ามนุษย์ และขาดโอกาสในการศึกษาต่อ ความรู้ในเรื่องเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การถูกกระทำรุนแรง การถูกล่อลวงให้ใช้สารเสพติด จึงมีมากขึ้น
ดังนั้น การได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและการสนับสนุนจากครอบครัวและบุคคลรอบข้าง รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และการศึกษาที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีผลต่อวัยรุ่น ในการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดการปรับตัว และเกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะเพื่อลดปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น การถูกล่อลวงเพื่อค้าประเวณี การถูกกระทำรุนแรง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาทางการดูแลสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม ปัญหาการคบเพื่อนต่างเพศ เป็นต้น อีกทั้งปัญหาการปรับตัวของวัยรุ่นที่ขาดความรู้ ประสบการณ์และขาดการสนับสนุนจากผู้ปกครอง สถาบันการศึกษา และบุคลากรทีมสุขภาพ อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ เช่น ปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธ์ุ เพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด ปัญหาการคบเพื่อน เป็นต้น การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองจะช่วยสร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกให้แก่วัยรุ่น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีผลต่อสุขภาพได้
จากข้อมูลผู้มารับการบริการในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะหา ในปี 2562 พบว่า มีวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์จำนวน ราย วัยรุ่นที่ถูกกระทำรุนแรง จำนวน 16 ราย วัยรุ่นที่รับการบำบัดยาเสพติด จำนวน 24 ราย วัยรุ่นที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต จำนวน 15 ราย จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการวัยรุ่นยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพกายและจิตใจ เพื่อเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนตามพัฒนาการด้านต่าง ๆ สุขอนามัยการปฏิบัติตัว และทักษะการใช้ชีวิตโดยให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้ว วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ปรับตัวให้ผ่านภาวะวิกฤต และก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างมีคุณค่าต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้วัยรุ่น มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องพัฒนาการด้านต่างๆในวัยรุ่น

ร้อยละ 80 วัยรุ่นมีความความเข้าใจเรื่องพัฒนาการด้านต่างๆในวัยรุ่น

0.00 150.00
2 เสริมสร้างความภาคภูมิใจในตนเองของวัยรุ่นและมีทักษะในการปฏิเสธต่อพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการ ดำรงชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

ร้อยละ 75 วัยรุ่นมีทักษะในการจัดการกับสถานการณ์เกี่ยวข้องกับเพศ ยาเสพติด การป้องกันถูกกระทำรุนแรง และปัญหาสุขภาพจิต

150.00 150.00
3 เพื่อให้วัยรุ่นมีทักษะชีวิตทางสังคม

ร้อยละ 80 วัยรุ่นมีทักษะชีวิตทางสังคม

150.00 150.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/03/2020

กำหนดเสร็จ 24/08/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมวัยรุ่นยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพกายและจิตใจ

ชื่อกิจกรรม
อบรมวัยรุ่นยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพกายและจิตใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เป็นการอบรมให้ความรู้แก่วัยรุ่นในหัวข้อเรื่อง1.การป้องกันตั้งครรภ์ในวัยรุ่น/เพศศึกษา 2.การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง 3.การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยมีวิทยากร 1 คนจำนวน 1 วัน โดยมีรายละเอียดงบประมาณที่ใช้จ่าย ดังนี้- 1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 150 คน50บาท1มื้อเป็นเงิน 7,500 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน 25 บาท2 มื้อ เป็นเงิน 7,500 บาท 3.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน1 คน จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงินทั้งหมด 18,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะภูมิคุ้มกันในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ ยาเสพติด ความรุนแรง และด้านสุขภาพจิตได้
  2. แกนนำวัยรุ่นในโรงเรียนสามารถให้คำปรึกษาและสามารถช่วยเหลือเพื่อนในโรงเรียนเบื้องต้น ในเรื่องปัญหาทางเพศ ยาเสพติด ความรุนแรง และด้านสุขภาพจิตได้
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. วัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์ ยาเสพติด ความรุนแรงและด้านสุขภาพจิต
2. วัยรุ่นมีทักษะการป้องกันปัญหาตั้งครรภ์ไม่พึ่งประสงค์ ยาเสพติด ความรุนแรงและด้านสุขภาพจิต


>