กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี รพ.สต.ลางา ปี 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา/ตำบลลางา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ทั้ง7หมู่บ้าน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ95ของเด็ก0-5ปี มีการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กตามสมวัย

 

85.00

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาวะ (Well-being) ทั้งมิติทางกาย ใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) และมิติของคน ครอบครัว และสังคมมากขึ้น โดยเริ่มจากวัยต้นของชีวิต คือ เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นวัยที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นวัยที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และเป็นวัยที่เริ่มต้นการรับรู้ เพื่อเป็นพื้นฐานของช่วงวัยต่อไป ปัญหาในการดำเนินส่งเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัย พบว่า เด็กยังประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการเป็นจำนวนมาก จากรายงานการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการเด็ก 0-5 ปี ปี พ.ศ.2560-2562 พบว่า เด็กมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการร้อยละ 5.44 , 5.02 และ 4.14 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแม้จากรายงานขนาดของปัญหาจะลดลง แต่ก็ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ระดับภาคและเป้าหมายแผนสาธารณสุขฉบับที่ 10 ที่กำหนดไว้ว่า ภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต การแก้ไขปัญหาโดยการมีมุมส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการเด็กในสถานพยาบาล และการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยเจ้าหน้าที่เพียงฝ่ายเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดน้อยหรือหมดไปได้ สิ่งสำคัญจะต้องมีการให้ความรู้แก่พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก และส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก จากสภาพปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา จึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักให้ครอบครัวและชุมชนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0- 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ

มีเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ในกลุ่มเด็ก 0- 5 ปี ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะทุพโภชนาการ ร้อยละ95

65.00 1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

เด็ก0-5ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ95

92.00 1.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็กและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี

ผู้ปกครองของเด็กมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงภาวะโภชนาการในเด็กและพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ร้อยละ100

85.00 1.00
4 เพื่อให้เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

เด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ได้รับการติดตาม ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์  ร้อยละ100

95.00 1.00
5 เพื่อให้ครูศูนย์เด็กเล็กตำบลลางา มีความรู้ในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 30,42,60 เดือน

ครูศูนย์เด็กเล็กตำบลลางา มีความรู้ในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 30,42,60 เดือน ร้อยละ100

85.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 621
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง และจัดหาชุดตรวจพัฒนาการDSPM ในสถานบริการ ในชุมชน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง2 ศูนย์ และขอสนับสนุนกองทุนฯ เพื่อจัดหางบประมาณในการ ดำเนินกิจกรรม

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสอบสภาพเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง และจัดหาชุดตรวจพัฒนาการDSPM ในสถานบริการ ในชุมชน และในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง2 ศูนย์ และขอสนับสนุนกองทุนฯ เพื่อจัดหางบประมาณในการ ดำเนินกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อตรวจสอบเครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง และชุดตรวจพัฒนาการDSPM ในสถานบริการ ชุมชน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง2แห่งในตำบลลางา ว่ามีเพียงพอหรื่อไม่ และมีมาตรฐานหรือไม่ ด้านโภชนาการ - เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอลแบบยื่น 10 x 1,000 = 10,000 บาท - เครื่องชั่งน้ำหนักแบบนอน ยี่ห้อnagata1 x 14,000 = 14,000 บาท
- ที่วัดส่วนสูง 10 x 2,200 = 22,000 - ลูกตุ่มน้ำหนักเหล็กหล่อ ขนาด 5กิโลกรัม = 600x3 =1,800 บาท ด้านพัฒนาการ - ชุดตรวจพัฒนาการ DSPM 0-6 ปี 1ชุด x 4,500 = 4,500บาท - ชุดตรวจพัฒนาการ DSPM 2-6ปี 2ชุด x 3,000= 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ในสถานบริการต้องมีเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลแบบนอน ในเด็ก0-1ปี แบบยื่น 2ปีขึ้นไป และที่วัดส่วนสูง ที่ได้มาตรฐานตามศูนย์อนามัยที่12 กำหนดไว้ ร้อยละ100 ในชุมชน ต้องมีเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล แบบยื่น 2ปีขึ้นไป และที่วัดส่วนสูง ที่ได้มาตรฐานตามศูนย์อนามัยที่12 เพื่อให้อสม.แต่ละหมู่บ้านได้ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ในทุกๆ3เดือน ของไตรมาส ร้อยละ95 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ทั้ง2แห่งของตำบลลางา ต้องมีที่ชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอลแบบยื่น และที่วัดส่วนสูง และมีลูกตุ้มเพื่อตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องชั่งน้ำหนัก ที่ได้มาตรฐานของศูนย์อนามัยที่12 ได้กำหนด ร้อยละ100 ในสถานบริการและในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง2แห่งของตำบลลางา  ต้องมีชุดตรวจพัฒนาการDSPM เพื่อตรวจพัฒนาการตามช่วงอายุเด็ก ได้ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
58300.00

กิจกรรมที่ 2 เชิญผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก และเฝ้าระวังในเรื่องภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการสมวัย

ชื่อกิจกรรม
เชิญผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในการดูแลน้ำหนักเด็ก และเฝ้าระวังในเรื่องภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการสมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กผู้ปกครองเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน  น้ำหนักน้อยหรือผอม  ให้มีความรู้ในการดูแลน้ำหนักเด็ก และเฝ้าระวังในเรื่องภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการสมวัยของบุตรตนเอง -ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่าง  50คนx 50บาท= 2,500บาท -ค่าอาหารว่าง 50 คน x 25บาทx 2มื้อ = 2,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลบุตร เรื่องการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการสมวัย ได้ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 3 เชิญครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในพัฒนาการตามช่วงวัย

ชื่อกิจกรรม
เชิญครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้ปกครองเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการในพัฒนาการตามช่วงวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อให้ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ในเรื่องการใช้เครื่องมือDSPMตามช่วงวัย -ค่าอาหารกลางวัน และอาหารว่าง  22คนx 50บาท= 1,100บาท -ค่าอาหารว่าง 22คน x 25บาทx 2มื้อ = 1,100บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เพื่อให้ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและผู้ปกครองเด็ก มีความรู้ในเรื่องการใช้เครื่องมือDSPMตามช่วงวัยและสามารถตรวจพัฒนาการตามช่วงอายุ ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งสามารถส่งต่อในกรณีที่มีพัฒนาการล่าช่า มายังรพ.สต.ได้อย่างรวดเร็ว ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามเยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็กและติดตามเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 6 เดือน และแนะนำ ผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่องโดย อสม.ด้านโภชนาการและพัฒนาการ ทั้งหมด7 คน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูงเด็กและติดตามเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย เดือนละ 1 ครั้ง จนครบ 6 เดือน และแนะนำ ผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่องโดย อสม.ด้านโภชนาการและพัฒนาการ ทั้งหมด7 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เพื่อเป็นการติดตามให้อสม.ด้านโภชนาการทั้ง7หมู่ ได้มีการเยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง และติดตามเด็กที่มีพัฒนาการไม่สมวัย เดือนละ1ครั้ง จนครบ6เดือน และนำข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการติดตามอย่างต่อเนื่อง -ค่ายานพาหนะ 7 คนx50บาทx6เดือน =2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.สามารถติดตามเยี่ยมบ้าน และแนะนำ ผู้ปกครองให้ดำเนินการต่อเนื่อง ร้อยละ100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 67,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 0 - 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการครอบคลุม
2.เด็กอายุ 9เดือน 18เดือน 30เดือน 42เดือน 60เดือน ได้รับการตรวจพัฒนาการโดยใช้เครื่องมือDSPM ได้อย่างครอบคลุมทุก5ด้าน
3. ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็ก 0 -5 ปี ลดลง
4. ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ในการดูแลเด็กด้านโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
5.ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีความรู้ในเรื่องการตรวจพัฒนาการตามคู่มือDSPM ได้อย่างถูกต้อง


>