กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มนวดไทยและผู้สนใจ ด้านการดูแลแม่หลังคลอดและผู้ป่วยอัมพฤต/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มนวดไทยและผู้สนใจ ด้านการดูแลแม่หลังคลอดและผู้ป่วยอัมพฤต/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งลาน

กลุ่มนวดไทยทุ่งลาน

1.นายประจวบเพ็ชรโภคา
2.นางสัจจาบุญชูช่วย
3.นางหนูฟองทองแก้ว
4.นางเสน่หายติวัฒน์
5.นางเฉลาเส้งสกูล

กบุ่มนวดไทยทุ่งลาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสภาวการณ์ด้านสุขภาพของประชาชนตำบลทุ่งลาน มักประสบปัญหาการเจ็บป่วยโดยโรคเรื้อรังบ่อย โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ไขมันในหลอดเลือดหัวใจ อัมพฤกษ์/อัมพาต เป็นต้น อันเกิดจากการรับประทานเชิงเดี่ยว และพืชอาหารที่ไม่ถูกกับธาตุทำให้เกิดการกินอาหารไม่ต้านทานโรค และขาดการดูแลสุขภาพตนเองด้วยวิถีทางภูมิปัญญาไทยที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย และเกิด โรคต่าง ๆเกิดขึ้นตามมามากมาย ทำให้ครัวเรือนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมากซึ่งโรคส่วนใหญ่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่ร่างกายอ่อนแอดังนั้นพฤติกรรมการก่อโรคส่วนใหญ่เกิดจาก พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เป็นพืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยาของประชาชนตำบลทุ่งลาน น้อยมากและปัจจุบันมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรค อัมพฤกษ์/อัมพาต จำนวนมาก และเพิ่มมากขึ้นทุกปี
ด้านการดูแลมารดาหลังคลอด พบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ได้รับการดูแลหลังคลอดแบบปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ร้อยละ 91 (ข้อมูล30กันยายน2563) ไม่เคยได้รับการดูแลแบบดั้งเดิม ซึ่งการดูแลแบบดั้งเดิมนี้ยังประโยชน์ ช่วยลดภาวะการเกิดโรคมะเร็งมดลูกและเต้านมลดการอักเสบต่าง ๆ บำรุงผิวพรรณมารดาโดยใช้องค์ความรู้การทับหม้อเกลือหน้าท้อง การเข้ากระโจมอบสมุนไพรส่งเสริมป้องกันโรค และการใช้ยาขับน้ำคาวปลา
ดังนั้นเพื่อเพิ่ม อัตราการดูแลมารดาหลังคลอดด้วยวิถีภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม การดูแลผู้ป่วยโรค อัมพฤกษ์/อัมพาตดังกล่าวข้างต้นตลอดจนการใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยาลดอัตราการเจ็บป่วยดังกล่าว และส่งเสริมการดูแลมารดาหลังคอดด้วยวิถีไทยดังเดิมที่เป็นประโยชน์ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มนวดแผนไทยและผู้สนใจด้านการดูแลแม่หลังคลอดและผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาตด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ตำบลทุ่งลาน ปีงบประมาณ 2563ขึ้นมาเพื่อดำเนินการในพื้นที่ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มนวดไทยและผู้สนใจในการดูแลมารดาหลังคลอดและการดูแลผู้ป่วย อัมพฤกษ์/อัมพาตด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย แก่กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ผ่านการอบรมความรู้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลมารดาหลังคลอดและ  การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญา เพิ่มขึ้น

100.00 80.00
2 เพื่อส่งเสริมค่านิยม การดูแลมารดาหลังคลอด การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย สมุนไพรในครัวเรือน

ร้อยละ ครัวเรือน การดูแลมารดาหลังคลอด  และการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย สมุนไพรในครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ30

100.00 30.00
3 เพื่อส่งเสริมกลุ่มนวดไทยและผู้สนใจที่ผ่านการอบรมความรู้ในการดูแลมารดาหลังคลอด และ การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทยและเป็นแกนนำในการกระตุ้นให้ครัวเรือนตระหนักหันมาใช้วิถีภูมิปัญญาไทย สมุนไพร

ร้อยละ ครัวเรือนเข้าถึงการดูแลมารดาหลังคลอด  การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทยและการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ30

100.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้และสาธิตวิธีการดูแลมารดาหลังคลอด และ การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และสาธิตวิธีการดูแลมารดาหลังคลอด และ การดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมให้ความรู้และสาธิตให้ผู้ร่วมกิจกรรม จำนวน 30  คน 5 วัน

สรุปรายการจ่ายเงิน   ดังนี้ 1.ค่าอาหารกลางวัน /อาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม จำนวน 30 คน X 100 บาท X   5 วัน   เป็นเงิน  15,000 บาท 2.ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน X  30 ชั่วโมง X 600  บาท  เป็นเงิน   18,000  บาท 3.ค่าเอกสาร/อุปกรณ์ สำหรับผู้เข้าอบรม  จำนวน 30 ชุด X 120 บาท   เป็นเงิน    3,600 บาท (ผนวก 1) 4.ค่าชุดสมุนไพรการดูแลหลังคลอด ลูกประคบ สมุนไพรสาธิต(สด/แห้ง)3 ชุด X 2,500  บาทเป็นเงิน  7,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มีนาคม 2563 ถึง 3 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มนวดไทย และผู้สนใจ ที่ได้รับความรู้ สามารถนำไปใช้ดูแลมารดาหลังคลอด / ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยา  ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ที่ถูกต้อง ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค 2.ผู้ผ่านการอบรมความรู้ มีความสามารถในการดูแลมารดาหลังคลอด  ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยา  ด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ที่ถูกต้อง ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และเป็นแกนนำชักชวนให้มีการใช้วิถีภูมิปัญญาไทย/ สมุนไพรในครัวเรือน 3. เกิดค่านิยมอย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพด้วยการใช้สมุนไพรเป็นอาหารและยา ในการส่งเสริมสุขภาพ 4.ครัวเรือนมีความตระหนักหันมาใช้วิถีภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม   ดูแลมารดาหลังคลอด  ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต  ตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยา  มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
44400.00

กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน/องค์กร ต้นแบบการนำวิถีภูมิปัญญาไทย

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน/องค์กร ต้นแบบการนำวิถีภูมิปัญญาไทย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชน/องค์กร ต้นแบบการนำวิถีภูมิปัญญาไทย มาใช้ในการดูแลสุขภาพแม่หลังคลอด  การดูแลผู้ป่วยโรค อัมพฤกษ์/อัมพาต 1  ครั้ง (นอกพื้นที่)

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้มีการศึกษาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ด้านภูมิปัญญาไทย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 44,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มนวดไทย และผู้สนใจ ที่ได้รับความรู้ สามารถนำไปใช้ดูแลมารดาหลังคลอด / ดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยาด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ที่ถูกต้อง ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
2.ผู้ผ่านการอบรมความรู้ มีความสามารถในการดูแลมารดาหลังคลอดดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาต ตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยาด้วยวิถีภูมิปัญญาไทย ที่ถูกต้อง ในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และเป็นแกนนำชักชวนให้มีการใช้วิถีภูมิปัญญาไทย/ สมุนไพรในครัวเรือน
3. เกิดค่านิยมอย่างต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพด้วยการใช้สมุนไพรเป็นอาหารและยา ในการส่งเสริมสุขภาพ
4.ครัวเรือนมีความตระหนักหันมาใช้วิถีภูมิปัญญาไทยดั้งเดิม ดูแลมารดาหลังคลอดดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์/อัมพาตตลอดจนใช้พืชสมุนไพรอาหารและสมุนไพรเป็นยามากขึ้น


>