กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ ผู้สูงวัยปิยาใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิยามุมัง

ชมรมผู้สูงอายุวัดปิยาราม

1.นายเกื้อม พรหมสะอาด(ประธาน) 2.นายมงคล ประพฤติ(รองประธาน) 3.นายจรูญ สังข์สร(รองประธาน) 4.นางพรทิพย์ เวทประสิทธิ์(เหรัญญิก) 5.นางอนงค์ ประพฤติ(เลขานุการ)

ณ ลานเกษมโสภณ หมู่ ๓ ตำบลปิยามุมังอำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

 

20.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

20.00
3 จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

 

20.00

เนื่องจากสภาพสังคมในปัจจุบันประเทศไทยกำลังมุ่งเข้าสู่สังคมแห่งผู้สูงวัย ผู้สูงอายุจำนวนมากขาดการดูแลเอาใจใส่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพัง บุตรหลานไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุบางรายปล่อยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง หลายรายในสังคมมีโรคประจำตัวหรือต้องเป็นผู้ติดเตียงไม่มีโอกาสได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มหรือชมรมต่าง ๆบางรายอาจเกิดความน้อยใจหรือหมดกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อไป
ปัจจุบันวิถีชีวิตของมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงไป คุณภาพชีวิตเป็นเป้าหมายหลักของสังคม คือประชาชนมีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทุกเพศ ทุกวัยจากการศึกษาข้อมูลพบว่าประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งด้านปริมาณและสัดส่วน เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีสาเหตุมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ทำให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพึงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพึงเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุไม่มีความสุขในการดำรงชีวิตผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต
กองการศึกษาฯ ร่วมกับ ชมรมผู้สูงอายุวัดปิยารามได้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุที่จะต้องเอาใจใส่ดูแลเรื่องสุขภาพจึงได้จัดทำ โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ ผู้สูงวัยปิยาใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ขึ้น โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปิยามุมัง ในการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของตนเองในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้สูงอายุในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคให้กับตนเอง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในตำบลปิยามุมัง ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่อกันและถ่ายทอดให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รับฟังและถือเอาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มจำนวนครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ (ผัก ผลไม้ ไขมัน ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์) บริโภคอย่างเพียงพอ

ร้อยละของครัวเรือนที่มีอาหารครบ 5 หมู่ บริโภคอย่างเพียงพอ เพิ่มขึ้น

20.00 50.00
2 เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางอย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

20.00 50.00
3 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนบุคคลในครอบครัวที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล (คน)

20.00 50.00

1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลผู้สูงอายุในตำบลปิยามุมัง
2. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้พบปะทำกิจกรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์
3. เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้สูงวัยในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับตนเอง
4. เพื่อเสริมสร้างให้พี่น้องประชาชนในชุมชน ได้ตระหนักเห็นความสำคัญและให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในแต่ละครอบครัวอย่างถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/06/2020

กำหนดเสร็จ 02/06/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมให้ความรู้ ผู้สูงวัยปิยาใส่ใจสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมให้ความรู้ ผู้สูงวัยปิยาใส่ใจสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เวลา 08.00 – 08.30 น.    ลงทะเบียน

เวลา 08.30 – 09.00 น.    พิธีเปิด โดย ประธานคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลปิยามุมัง

เวลา 09.00 – 10.30 น.    ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ ด้วยหลัก ๓ อ. (การออกกำลังกาย อาหาร อารมณ์ ) วิทยากร : นางยินดี  คงถาวร ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เวลา 10.30 – 12.00 น.    ให้ความรู้เรื่องการดูแลและป้องกันในการเลือกบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ เช่น ความดัน เบาหวาน วิทยากร : นางยินดี  คงถาวร ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เวลา 12.00 – 13.00 น.    พักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 13.00 – 14.30 น.    ให้ความรู้เรื่องวิธีการออกกำลังกายที่ดีและเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ วิทยากร : นางยินดี  คงถาวร ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

เวลา 14.30 – 16.00 น.   ให้ความรู้เรื่องเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพและสุขภาพด้านต่าง ๆ ทางสังคม วิทยากร : นางยินดี  คงถาวร ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ค่าใช้จ่าย

1.อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 60 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25.-บาท  เป็นเงิน 3,000.-บาท

2.อาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 50.-บาท  เป็นเงิน 3,000.-บาท

3.ค่าวิทยากรจำนวน 1 คน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600.-บาท เป็นเงิน  3,600.-บาท

4.ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 เมตร X 3 เมตร จำนวน 1 ผืนเป็นเงิน  750.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มิถุนายน 2563 ถึง 2 มิถุนายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการส่งเสริมสุขภาพและดูแลผู้สูงอายุในตำบลปิยามุมัง

2.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันและลดการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดของประชาชนในพื้นที่ตำบลปิยามุมังได้

3.ผู้สูงอายุมีขวัญและกำลังใจในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับตนเอง

4.ประชาชนในตำบลปิยามุมัง ได้ตระหนักถึงความสำคัญและให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในแต่ละครอบครัวอย่างถูกต้อง

5.ผู้สูงอายุได้พบปะทำกิจกรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์


>