กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2563

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาณ 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาหลง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังตลอดชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาไม่ถูกต้องจะเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วย จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าคนไทยที่มีความดันโลหิตสูงจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ประมาณ ๓.๗ เท่าของผู้ที่มีความดันโลหิตปกติและยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดส่วนปลาย และภาวะหัวใจล้มเหลวผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษาเกือบครึ่งหนึ่งจะตายด้วยโรคหัวใจ ส่วนโรคเบาหวาน จะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาบอดไตวาย การถูกตัดอวัยวะ เป็นต้นปัญหาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานที่พบบ่อยที่สุด คือการบริโภคอาหารไม่ถูกต้อง ยังพบการบริโภคอาหารที่มีรสเค็มมัน และหวานสาเหตุ คือ ความเคยชิน , ต้องประกอบอาชีพนอกบ้านไม่มีเวลาในการประกอบอาหารเองจึงหาซื้ออาหารสำเร็จรูป รวมถึงขาดการออกกำลังกายและไม่สามารถปรับพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกหลักได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
ในปัจจุบัน โรคความดันโลหิตสูง/โรคเบาหวาน ในเขตบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่จำนวน ๒๒๐/๗๖ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ร้อยละ ๒๔.๔๑ /๘.๔๓ ต่อประชากรทั้งหมดในตำบล และจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 256๒ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่ตำบลกาหลง ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวน ๙๐๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๙๒.๖๓ พบมีภาวะเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน (ค่าน้ำตาลในเลือด ๑๑๐MG% ขึ้นไป) จำนวน๙๘ คน และความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิตมากกว่า ๑๔๐/๙๐ มม.ปรอทจำนวน ๓๖๒ คนรวม ๓๖๒ คน (ข้อมูลจาก HDC) ดังนั้นผู้รับผิดชอบงานโรคติดต่อไม่เรื้อรังประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไผ่จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ร้อยละ ๙๐

1.ประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองสุขภาพเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ร้อยละ........90..........

4.00 4.00
2 ๒. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๘๕ และไม่ป่วยเป็นโรค

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ....................

4.00 4.00
3 ๓. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงป่วยและกลุ่มป่วยได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ ๘๕ _

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยและกลุ่มป่วยมีความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน  ร้อยละ...............................

3.00 3.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 130
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2020

กำหนดเสร็จ 31/12/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม.

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมเจ้าหน้าที่และ อสม.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑1.ประชุมเจ้าหน้าที่ และ อสม. เพื่อเตรียมความพร้อมแนวทางการคัดกรองฯ      ค่าอาหารว่าง จำนวน ๕๐ คน X ๒๕ บาท X ๑ มื้อ =๑,๒๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1250.00

กิจกรรมที่ 2 ๒.คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป 1 คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในตำบลกาหลง จำนวน ๔ หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
๒.คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป 1 คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในตำบลกาหลง จำนวน ๔ หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ในตำบลกาหลง จำนวน ๔ หมู่บ้าน
ค่าอาหารว่าง 25 บาท x๑๓๐ คน x ๑ มื้อ =๓,๒๕๐บาท
ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องละ ๒,๕๐๐ บาท X ๑ เครื่อง
= ๒,๕๐๐  บาท
ค่าป้ายไวนิล ขนาด ๑ x ๓ เมตร = ๑,๐๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6750.00

กิจกรรมที่ 3 ๒.คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
๒.คัดกรองประชาชนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๒.๒ นัดผู้ป่วยที่เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานตรวจซ้ำในสถาน บริการ และอบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่าอาหารว่าง(เช้า)    ๒๕ บาท x ๕๐ คน x ๑ มื้อ =๑,๒๕๐ บาท ค่าอาหารเที่ยง        ๗๕ บาท x ๕๐ คน x ๑ มื้อ = ๓,๗๕๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ ๙๐
๒. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงป่วยและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ ๘๕
๓. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงป่วยและกลุ่มป่วยได้รับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ร้อยละ ๘๕


>