กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลางา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางา

ตำบลลางา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศจีน และแพร่ระบาดไปในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งอาการโรค คือ มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต ปัจจุบันพบผู้ป่วยติดเชื้อในทุกมณฑล และยังพบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 2 มีนาคม 2563 ทางการจีนรายงานผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 80,026 ราย เสียชีวิต จำนวน 2,912 ราย และพบผู้ป่วยยืนยันนอกประเทศจีนแผ่นดินใหญ่หลายราย ทั้งนี้ มีผู้ป่วยยืนยันทั่วโลกแล้ว จำนวน 89,068 เสียชีวิตแล้ว จำนวน 3,039 ราย ขณะนี้มีหลักฐานการติดต่อจากคนสู่คน พบผู้ป่วยยืนยันในผู้ที่ไม่มีประวัติการเดินทางไปประเทศจีน แต่มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรคสำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 212 ราย พบผู้เสียชีวิต 1 ราย(ข้อมูลจาก : รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 19 มีนาคม 2563) โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เนื่องจากเชื้อดังกล่าวได้มีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ส่วนในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019(COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โดยประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นมา
ทั้งนี้รวมถึงการระบาดของประเทศมาเลเซีย ซึ่งประชาชนในพื้นที่ไปทำงานอยู่ได้ทยอยกลับบ้านจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และมีการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว จำเป็นต้องมีการดำเนินการติดตาม ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเอง ครอบครัว ชุมชน ให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ อสม.ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ เครือข่ายสุขภาพในพื้นที่
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลางาซึ่งรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จึงต้องมีการตอบโต้ต่อสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อตรวจคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่กลับจากต่างประเทศ ติดตามเยี่ยมบ้าน ให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่

-ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง ได้รับการตรวจคัดกรอง และติดตามเยี่ยมบ้าน
-ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน

0.00
2 เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

-มีอุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดหาวัสดุอุปกรณ์

ชื่อกิจกรรม
จัดหาวัสดุอุปกรณ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 จัดซื้ออุปกรณ์ในการป้องกันโรค เช่น หน้ากากอนามัย หรือหน้ากาก N 95 แอลกอฮอล์ เจลล้างมือ สบู่เหลวล้างมือ ฯลฯ 1.2 จัดซื้อเครื่องมือวัดอุณหภูมิร่างกาย (แบบยิงหน้าผาก)  จำนวน ๑๐ เครื่องๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 35,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มีนาคม 2563 ถึง 31 มีนาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับการคัดกรองและรับการรักษาทันเวลา ลดการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54480.00

กิจกรรมที่ 2 ประชาสัมพันธ์ อบรม ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ อบรม ให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านเพื่อให้ความรู้ คัดกรองในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งกระตุ้นการรับรู้ในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวัง ดูแลตน้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
-จัดทำป้ายไวนิล  ๑๐ ผืนๆละ  ๘๐๐ บาท -จัดทำป้ายโฟมบอร์ด  ๑๐ แผ่นๆละ ๕๐๐ บาท -จัดทำสื่อแผ่นพับ ๒๐๐ แผ่นๆละ ๑๕ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 มีนาคม 2563 ถึง 31 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับข้อมูลข่าวสาร ได้รับการคัดกรอง มีความรู้ในการดูแลตนเอง และปฏิบัติตัวถูกต้อง เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ เรื่อง การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม.และเครือข่ายอื่นในพื้นที่ ด้านการดูแลตนเอง การป้องกัน การควบคุมโรคในพื้นที่ -ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 70 คน x 1 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท x 70 คน x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2563 ถึง 3 เมษายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายมีความรู้ด้านวิชาการ การเฝ้าระวัง ป้องกันและการลดการแพร่กระจายของโรคในพื้นที่ได้ และสามารถนำไปบอกต่อและกระจายข้อมูลในพื้นที่ต่อไปได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7000.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจคัดกรอง เคาะประตูบ้าน ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรอง เคาะประตูบ้าน ติดตามเยี่ยมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสม.และเครือข่ายในพื้นที่ ลงคัดกรอง เคาะประตูบ้าน ในสุขศึกษาและติดตามกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดเครือข่ายการดูแลกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ และทุกบ้านได้รับการคัดกรอง ให้ข้อมูลด้านการเฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม และกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการประสานงานการดูแลในพื้นที่อย่างครอบคลุม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 77,480.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

(1) ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่กลับจากต่างประเทศได้รับการตรวจคัดกรอง และติดตามเยี่ยมทุกราย
(2) ประชาชน และกลุ่มเครือข่ายภาคีสุขภาพในพื้นที่มีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)


>