กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.จวบ

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลจวบ

1.นายอับดุลปาต๊ะตอกอ (ประธาน)
2.นางรุสนีดามะรือสะ (รองประธาน)
3.นางสาวสีตีปาตีเมาะเตะ (เลขานุการ)
4.นางสาวทัศนีย์แดงนุ้ย (เหรัญญิก)
5.นางสีตีมือแยอีแมดอสะ (ประชาสัมพันธ์ )

ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่1-หมู่ที่8

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันเกิดสถานการณ์การระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตามกระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งสถานการณ์ทั่วโลกใน 38 ประเทศ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม - 26 กุมภาพันธ์ 2563 (07.00น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 80,427 ราย เสียชีวิต 2,712 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 77,666 ราย เสียชีวิต 2,6664 ราย สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพื่อรักษาในโรงพยาบาล 16 ราย กลับบ้านแล้ว 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 ของผู้ป่วยในประเทศไทย รวมสะสม 40 ราย (ข้อมูลจาก : รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563)
ทั้งนี้ ตำบลจวบ อำเภอเจาะไอร้อง มีกลุ่มเป้าหมายที่เดินทางกลับจากมาเลย์เซีย กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ที่ต้องเฝ้าระวัง จำนวน 44 ราย จากรายงานของศุนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) อำเภอเจาะไอร้อง จำเป็นต้องมีการดำเนินให้ความรู้และให้คำแนะนำแก่ประชาชนในเขตพื้นที่ อบต.จวบ
ชมรมอาสาสมัครตำบลจวบ มีหน้าที่ตามคำสั่งอำเภอเจาะไอร้อง ในการค้นหาเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคของประชาชนในชุมชน จึงต้องมีมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่ 2.เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

1.เพื่อให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ให้กับประชาชนในพื้นที่
2.เพื่อให้มีทรัพยากร งบประมาณ พอเพียงต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวัง สอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่

ชื่อกิจกรรม
1. อบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่แกนนำครอบครัว หมู่บ้านละ 50คน จำนวน 8 หมู่บ้าน (400คน)ในพื้นที่ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)
- ค่าอาหารกลางวัน 50บาทx400คนx เป็นเงิน 20,000บาท
- ค่าอาหารว่าง 25บาทx400คนx2มื้อ เป็นเงิน 20,000บาท
- ค่าวิทยากร 300บาทx5ชั่วโมงx8หมู่บ้าน เป็นเงิน 12,000

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3.เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52000.00

กิจกรรมที่ 2 2.สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวน และควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 โดยจัดทำอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
2.สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวน และควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 โดยจัดทำอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวน และควบคุมโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ใหม่ 2019 โดยจัดทำอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ
-ค่าจ้างจัดทำหน้ากากอนามัย ชิ้นละ 3บาท จำนวน 12,069บาท เป็นเงิน 36,207
-ค่าจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ จำนวน 2,000แผ่น แผ่นละ 1บาท เป็นเงิน 2,000บาท -ค่าป้ายโครงการ 720บาทx8ป้าย เป็นเงิน 5,760บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2.เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3.เพื่อให้เกิดการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
43967.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 95,967.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนมีความรู้ในการดูแลตนเอง และสามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้
2.ประชาชนในพื้นที่ ได้รับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคติดต่อ
3.การดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขเป็นระบบ ชัดเจน มีประสิทธิภาพ


>