กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรอง ติดตาม เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยงจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID 19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาโหนด

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลนาโหนด

นายสุรชัยชูอักษร นายกเทศมนตรีตำบลนาโหนด

พื้นที่ตำบลนาโหนด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19)

 

3.00

ตามที่ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” และในส่วนของประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ได้มีประกาศ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 กำหนดให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตราย ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 เห็นชอบมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤติการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง เร่งดำเนินการตามมาตรการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
ในตำบลนาโหนด มีประชาชนซึ่งประกอบอาชีพอยู่ต่างจังหวัด และได้รับผลกระทบจากการการระบาดของโรคดังกล่าว และได้เดินทางจากต่างจังหวัด กลับมาพักอาศัยในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ตั้งแต่วันที่22 มีนาคม- 7 เมษายน 2563 จำนวน 167 ราย และคาดว่าจะมีจำนวนคนที่เดินทางกลับมาในพื้นที่ตำบลนาโหนด เพิ่มขึ้นอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ จำเป็นต้องกักกันตัว ติดตาม เฝ้าระวังอาการอย่างใกล้ชิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) บัญญัติให้เทศบาลตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันและระงับโรคติดต่อ พระกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (19) บัญญัติให้เทศบาล มีอำนาจหน้าที่ในการสาธารณสุข การอนามัยและครอบครัว และการรักษาพยาบาล
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลนาโหนด จึงได้จัดทำโครงการ ตรวจคัดกรอง ติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงจากโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 (COVId-19)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาด และมาพักอาศัยในพื้นที่ตำบลนาโหนด ได้รับการตรวจคุัดกรองความเสี่ยงโรคไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID -19) ร้อยละ 100

3.00 100.00
2 เพื่่อให้บุคคลกลุ่มเสี่ยง ที่ต้องกักกันตัวเอง ได้รับการเฝ้าระวังติดตามอาการ

บุคคลกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักกันตัวเอง ได้รับการเฝ้าระวังติดตามอาการครบ 14 วัน ร้อยละ 100

2.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 08/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/05/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมคัดกรองความเสี่ยงบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมคัดกรองความเสี่ยงบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงที่มีการระบาดของโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจข้อมูลบุคคลที่เดินทางจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค โดยสำรวจข้อมูลเป็นรายครัวเรือน และทำการซักประวัติ สอบถามอาการ ตรวจวัดไข้ กรณีพบผิดปกติ ประสานและส่งต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้
-ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 4,950 บาท เป็นเงิน 9,900 บาท
-ค่าเจลแอลกอฮอล์ จำนวน 3 แกลลอน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
-ค่าวัสดุอุปกรณ์ เช่น ถุงมือยาง/หนัง ค่าผ้าปิดปาก จมูก เป็นต้น เป็นเงิน 3,000 บาท
-ค่าเอกสารแผ่นพับให้ความรู้/คำแนะนำ วิธีป้องกัน ควบคุมการแพร่กระจายของโรค จำนวน 3,000 แผ่น ๆ ละ 50 สตางค์ เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2563 ถึง 30 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนจำนวน 3,000 ครัวเรือน ในตำบลนาโหนด ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงจากการติดเชื่อไวรัสโคโรน่า 2019 ร้อยละ 100 มีฐานข้อมูลประชาชนกลุ่มเสี่ยงสำหรับเฝ้าระวัง ติดตามอาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตาม เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมออกเคาะประตูบ้าน ในบ้านที่มีกลุ่มเสี่ยงพักอาศัยอยู่ เพื่อทำการเฝ้าระวังอาการ ประจำวัน โดยทำการวัดไข้ ด้วยเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตน แนะนำการทำกิจกรรมคลายเครียด แจกเจลแอกออล์ สำหรับล้างมือ โดยทำการเฝ้าระวังและติดตาม ครบ 14 วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
8 เมษายน 2563 ถึง 30 พฤษภาคม 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ที่อยูู่ระหว่างการกักกันตนเอง ทุกคน  ได้รับการติดตาม เฝ้าระวัง อาการผิดปกติ การตรวจวัดไข้ ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตน ครบ 14 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนทุกครัวเรือน ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID)
ประชาชนที่พบมีความเสี่ยง ทุกคน ได้รับการติดตาม เฝ้าระวัง สังเกตุอาการจาก อาสาสมัครสาธารณสุขจนครบระยะเวลากักกันตัว (14 วัน)


>