กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอย ปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานของหมู่บ้านแคใต้

1.นางสิตีอามิเด๊าะ สาแหม
2.นางหลีหม๊ะ หวังหะ
3.นางมุริฝีะ หมาดหวัง
4.นางส.อ. บูสอ
5.นางจิราภรณ์ หวังหลี

ตำบลแค

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

 

10.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร

 

10.00

อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน และอาหารปลอดภัยที่ประชาชนบริโภคนั้น ต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรค สารเคมีและสารปนเปื้อนอื่นๆ ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจึงต้องมีระบบการดูแล ควบคุมตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยอาหารที่ผลิตนั้นทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้คุณภาพและมีมาตรฐาน เนื่องจากรัฐบาลได้มีนโยบายให้ ประชาชนทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรง และเพื่อรณรงค์ และเผยแพร่คุณภาพมาตรฐานของอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายและกว้างขวาง ดังคำกล่าว “ครัวไทยสู่ครัวโลก” และร้านชำก็เป็นแหล่งขายอาหารผลิตภัณฑ์ทางอาหารที่สำคัญของประชาชนในหมู่บ้านหากร้านชำไม่มีความรู้ จำหน่ายอาหารที่ไม่มีคุณภาพ และมีโทษต่อประชาชน จะส่งผลให้ประชาชนได้รับความไม่ปลอดภัยในการบริโภคขึ้นได้
เพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลบรรลุตามวัตถุประสงค์ชมรม อสม.ตำบลแค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแค อำเภอจะนะจังหวัดสงขลา จึงได้จัดทำโครงการร้านชำ ร้านอาหาร แผงลอยปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภคปี 2563 ขึ้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพอาหาร ตั้งแต่การผลิตอาหาร ความสะอาด และความถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานของอาหารในร้านอาหาร แผงลอย และการตรวจสอบสารปนเปื้อน สารเคมีในอาหารที่วางจำหน่ายในร้านขายอาหารสดทุกร้านเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน มีสุขภาพที่แข็งแรง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

ร้อยละของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการท้องเสียจากการบริโภค

10.00 5.00
2 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

10.00 5.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 52
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2019

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการสุขภาวะและสุขลักษณะที่ดีของร้านอาหาร ร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการสุขภาวะและสุขลักษณะที่ดีของร้านอาหาร ร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการสุขภาวะและสุขลักษณะที่ดีของร้านอาหาร ร้านชำ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้และสามารถจัดการกับร้านของตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังนี้ 1.  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย
52 คน X 25 บาท X  1 มื้อ        เป็นเงิน    1,300     บาท 2.  ค่าตอบแทนวิทยากร      ชั่วโมงละ 300 บาท X 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 900  บาท 3.  ค่าจัดทำป้ายไวนิลโครงการ                500        บาท 4.  ค่าจัดทำชุดสื่อสุขศึกษาให้ความรู้            2,300       บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้านอาหาร แผงลอยทุกร้านได้รับการตรวจแนะนำและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  2. ร้านชำขายของที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพทุกร้าน
  3. ร้านอาหาร แผงลอยในหมู่บ้านมีความรู้ในการจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ
  4. อสม.มีความรู้เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภค  อาหารปลอดภัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจติดตามและประเมินร้านค้า ผู้ประกอบการอาหาร

ชื่อกิจกรรม
ตรวจติดตามและประเมินร้านค้า ผู้ประกอบการอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.แค และอาสาสมัครสาธารณสุข ออกติดตามประเมินผลการจัดการสุขภาวะและสุขลักษณะของผู้ประกอบการ พร้อมทั้งสรุปรายงานผล ทุกๆ 3 เดือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้านอาหาร แผงลอยทุกร้านได้รับการตรวจแนะนำและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  2. ร้านชำขายของที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพทุกร้าน
  3. ร้านอาหาร แผงลอยในหมู่บ้านมีความรู้ในการจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ
  4. อสม.มีความรู้เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภค  อาหารปลอดภัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้านอาหาร แผงลอยทุกร้านได้รับการตรวจแนะนำและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
2. ร้านชำขายของที่ได้มาตรฐานมีคุณภาพทุกร้าน
3. ร้านอาหาร แผงลอยในหมู่บ้านมีความรู้ในการจำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ
4. อสม.มีความรู้เรื่องงานคุ้มครองผู้บริโภคอาหารปลอดภัย


>