กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครยะลา

สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา

ชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่ได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ลำดับที่ 14ซึ่งในการนี้สถานการณ์การระบาดของโรคทวีความรุนรงเพิ่มขึ้นเป็นวงกว้าง
ในการนี้นายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ตามมาตรา 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกอบกับในขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค ทั้งยังไม่มียารักษาโรคโดยตรง จึงมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศให้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นการระบาดครั้งใหญ่และขอให้ประเทศในกลุ่มอาเซียนบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเด็ดขาดยิ่งขึ้น การระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าวจึงเป็นสถานการณ์อันกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งต้องใช้มาตรการเข้มงวดและเร่งด่วน เพื่อควบคุมมิให้โรคแพร่ระบาดออกไปในวงกว้าง สถานการณ์ในประเทศไทยประกาศจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด ณ วันที่ 1 เมษายน 2563 มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 120 ราย ยอดสะสมจำนวน 1,771 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาล จำนวน 1,343 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 12 ราย สำหรับจังหวัดยะลามีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ) ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 ราย ยอดสะสมจำนวน 41 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 2 ราย เสียชีวิตสะสม จำนวน 2 ราย โดยผู้เสียชีวิตเป็นผู้ป่วยในจังหวัดยะลา และมีผู้ป่วยในอำเภอเมืองยะลาที่ต้องเฝ้าสังเกตอาการ (Home Quarantine) จำนวน 2,268 ราย มีผู้สัมผัสที่มีอาการจำนวน 62 ราย ที่ส่งตรวจหาเชื้อ COVID-19
ทั้งนี้ กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ได้เล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งของปัญหาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นต้องมีการป้องกันการติดเชื้อของประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลาเพื่อลดอัตราความเจ็บป่วยในการเกิดโรคดังกล่าวดังนั้นจึงได้ดำเนินโครงการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในเขตเทศบาลนครยะลา เพื่อลดการสูญเสียงบประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษารวมทั้งให้อาสาสมัครสาธารสุขแกนนำชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานครั้งนี้เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีทั่วหน้าในเชตเทศบาลนครยะลา โดยอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2563 ประกาศ ณ วันที่ 31 มีนาคม2563)ข้อ 10/1 ซึ่งมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ 3 เมษายน 2563

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ป้องกันการติดเชื้อและแพร่กระจายของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1.ร้อยละ 100 ของประชาชน  ได้รับความรู้เรื่องการป้องกันให้ห่างไกลเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid 2019)
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 2. ร้อยละ80 ของประชาชนมีความรู้การป้องกันตนเอง เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (covid 2019 เชิงความพึงพอใจ 1.ร้อยละ 80 ของประชาชน มีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรม

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 56,810
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 10/04/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คัดกรองกลุ่มสี่ยงและให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ประชาชนบริเวณจุดตรวจ

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองกลุ่มสี่ยงและให้ความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แก่ประชาชนบริเวณจุดตรวจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 เมษายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>