กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสแบบบูรณาการ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คำด้วง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วง

นายธนศักดิ์ ภักดีนวน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วง เขตพื้นที่รับผิดชอบ 6 หมู่บ้านมีประชากรประมาณ3,686 คนมีผู้พิการทุกประเภท จำนวน77คนในจำนวนนี้มีผู้พิการจากอุบัติเหตุ พิการแต่กำเนิด พิการจากสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำ หรือทำงานได้ บางรายอาศัยอยู่คนเดียวไม่มีผู้ดูแล ต้องเป็นภาระกับครอบครัวและสังคม ซึ่งทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคำด้วงได้ดำเนินการสำรวจผู้พิการ ติดตามดูแลผู้พิการที่ไม่สามารถเข้ามารับการรักษาพยาบาลโดยกรเยี่ยมบ้านแต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆฝ่ายในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะความร่วมมือจากครอบครัวและชุมชนจึงเห็นความสำคัญของผู้พิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบจึงจัดทำโครงการเพื่ออบรมเพื่อให้ความรู้และทักษะการดูแลผู้พิการเพื่อให้ผู้พิการสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้ผู้พิการ/ด้อยโอกาส ในชุมชน ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติ หรือผู้ดูแลผู้พิการอย่างต่อเนื่อง
2. เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาสและลดภาระของญาติและผู้ดูแล
3. เพื่อส่งเสริมให้ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการมีส่วนร่วมและเป็นเครือข่ายในการติดต่อข่าวสารข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและชุมชนในการฟื้นฟูผู้พิการ
4. นำทรัพยากรต่างๆที่มีในชุมชนมาปรับใช้เพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 77
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2020

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสแบบบูรณาการ

ชื่อกิจกรรม
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสแบบบูรณาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าป้ายโครงการขนาด 1.5 x 3 เมตร  จำนวน  1  ป้าย  เป็นเงิน  600  บาท
  2. ค่าเอกสารคู่มือ เรื่องการดูแลผู้พิการเบื้องต้น  จำนวน 77 เล่มๆละ 50 บาท  เป็นเงิน  3,850  บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร  จำนวน 1 ท่าน  เป็นเงิน  600  บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2563
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 5,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส มีความรู้ มีทักษะ สามารถให้การดูแลและฟื้นฟูสมรรถ ผู้พิการได้อย่างถูกต้องและมีศักยภาพร้อยละ70
2. ผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาสสามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพหลังรับการฟื้นฟูสมรรถภาพหรือเป็นภาระแก่ครอบครังให้น้อยที่สุด ร้อยละ 70
3. ญาติหรือผู้ดูแลผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส นำทรัพยากรต่างๆ ที่มีในชุมชนไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบและเทคโนโลยีฯในชุมชน เพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ร้อยละ 30
4. สร้างความเข้มแข็ง ของระบบประสานงานเครือข่าย และแกนนำ ผู้พิการในการช่วยเหลือพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตคนพิการร้อยละ60
5. ผู้พิการสามารถให้ความช่วยเหลือดูแลคนพิการกันเองในกลุ่มและรู้ถึงสิทธิที่พึงได้รับในคนพิการเพื่อให้คนพิการสามารถดำรงชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุขและมีส่วนช่วยเหลือสังคมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมอีกทางหนึ่ง ร้อยละ70


>