กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการโรงเรียนสะอาด ปราศจากโรคติดต่อในท้องถิ่น
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงเรียนบ้านปิใหญ่
กลุ่มคน
1.นางสุกัญญา บูชาร์ลี
2.นางพรรษมน ซุ่ยลิ่ม
3.นายอุเซ็ง อิสแม
4.นางพงษ์ศิริ จิเบ็ญจะ
5.นางสาวสุไลดา ศิวลักษณ์
3.
หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันนี้ปัญหาขยะมูลฝอยยังคงเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้นทั้งในระดับชุมชนและระดับชาติ เนื่องมาจากจํานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ส่งผลให้มีการนําทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้มากขึ้น ก่อให้เกิดมลพิษ สิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ ตามมา ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไป การแก้ไขปัญหาของขยะมูลฝอย จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้น สำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณา ถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะมูลฝอยขึ้นมา โดยการสร้างจิตสำนึกแก่มนุษย์ให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด ทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้าน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทาง สถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่นๆ ให้รู้จักทิ้งขยะมูลฝอยลงในภาชนะให้เป็นที่เป็นทาง ไม่มักง่ายทิ้งขยะเกลื่อนกลาด ทั้งนี้เป็นการช่วยให้พนักงานเก็บขยะนำไปยังสถานที่กำจัดได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น

สำหรับในพื้นที่โรงเรียนบ้านปิใหญ่ ปัญหาขยะนับว่าเป็นปัญหาหนึ่งของโรงเรียนที่ต้องเร่งดำเนินการและแก้ไข เพราะมีปริมาณขยะมากพอสมควร ซึ่งการกำจัดขยะของโรงเรียนโดยให้รถจัดเก็บขยะขององค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงเป็นผู้จัดเก็บ แม้ว่าทางองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพงได้นำถังการคัดแยกขยะแต่ละประเภทให้กับทางโรงเรียนแล้ว แต่พบว่านักเรียนยังมีพฤติกรรมการคัดแยกขยะที่ไม่ถูกต้อง และขาดจิตสำนึกในการทิ้งขยะที่ไม่เป็นที่ ขยะส่วนใหญ่ที่พบเห็น เช่น เศษกระดาษ กล่องนม ถุงขนมที่นักเรียนซื้อมาจากร้านค้านอกโรงเรียนและร้านค้าในโรงเรียน และการทิ้งขยะของนักเรียนส่วนใหญ่จะนำมาทิ้งรวมกัน ไม่มีการคัดแยกขยะ บางคนถ้านั่งรับประทานอาหารตรงไหน ก็จะทิ้งขยะไว้บริเวณนั้นๆ ทำให้มีภาพลักษณ์ที่ไม่ค่อยดีและมีปัญหาเรื่องกลิ่น ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น ยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก แมลงวันพาหะนำโรคอุจจาระร่วง แมลงสาบพาหะนำโรคอุจจาระร่วง ซึ่งในพื้นที่ชุมชนพบประชาชนที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2561-2562 จำนวน 6 และ 21 ราย อัตราป่วยต่อแสนประชากร 533.808 และ 1868.33 ตามลำดับ และปี 2561 พบนักเรียนที่ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา จำนวน 12 ราย และโรคอุจจาระร่วง จำนวน 1 ราย ซึ่งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โรงเรียนเองก็ได้จัดการและแก้ไขปัญหาเบื้องต้นมาแล้ว แต่ยังพบว่านักเรียนยังขาดวินัยในการทิ้งขยะอยู่อีก ไม่เห็นคุณค่าของขยะ ในการแก้ไขปัญหานี้ต้องสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนไม่ว่าจะอยู่ที่โรงเรียน ที่บ้าน หรือสถานที่สาธารณะต่างๆ จำเป็นจะต้องมีวินัยในการทิ้งขยะ ซึ่งถ้ามีการจัดการขยะที่ดีก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขและลดปัญหาขยะในโรงเรียน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยมีการสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทิ้งขยะ สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องในการจัดการขยะ สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนคัดแยกขยะจากครัวเรือน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคในโรงเรียนและชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ค่า HOUSE INDEX (HI) ลดลง และไม่เกินร้อยละ 10 ของหลังคาเรือน 2. ค่า CONTRAINNER INDEX (CI) ลดลง และไม่เกินร้อยละ 0
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน
    ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ 80 ของนักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs เพิ่มขึ้น 2. ร้อยละ 40 ของครัวเรือน โรงเรียน มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์ 3. นักเรียน ร้อยละ 80 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ และคัดแยกขยะได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล 4. มีแกนนำสุขภาพนักเรียน และแกนนำสุขภาพผู้ปกครองเกิดขึ้น อย่างน้อย 1 กลุ่ม และมีการดำเนินกิจกรรมเป็นปัจจุบัน 5. มีมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคและการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนอย่างน้อย 5 มาตรการ
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. บรรยายให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง

    2. บรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแบบ 3Rs

    3. สอน/สาธิตการจัดทำถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนและโรงเรียน

    เป้าหมาย

    • นักเรียนป.1 – ป.6จำนวน87คน
    • ผู้ปกครอง จำนวน30คน
    • ครู จำนวน9คน

    รวมจำนวน126คน

    งบประมาณ

    • ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้สังเกตการณ์ (จัดกิจกรรมวันเสาร์-อาทิตย์) จำนวน 126 คนๆละ 1 มื้อๆละ 65 บาท เป็นเงิน 8,190 บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการและผู้สังเกตการณ์จำนวน 126 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 6,300 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5x3 เมตรเป็นเงิน 675 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
    • ค่าวัสดุสำหรับทำถังขยะอินทรีย์
    1. ถังใบใหญ่จำนวน 30 ใบๆละ 160 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

    2. ถังใบเล็กจำนวน 30 ใบๆละ 110 บาท เป็นเงิน 3,300 บาท

    3. ตะกร้าจำนวน 30 ใบๆละ 65 บาท เป็นเงิน 1,950 บาท

    รวมเงิน 28,215 บาท

    งบประมาณ 28,215.00 บาท
  • 2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. การจัดการตามหลัก 3Rs ได้แก่
    • Reduce คือ ลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง ลดการก่อให้เกิดขยะ

    • Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้

    • Recycle คือ การนำสิ่งของที่ใช้ประโยชน์ในรูปแบบเดิมไม่ได้แล้ว หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นขยะ นำไปจัดการด้วยกระบวนการต่างๆ แล้วแปรรูปมาเป็นสิ่งใหม่ จากนั้นก็นำกลับมาใช้ใหม่

      1. โรงเรียนสนับสนุนการจัดกิจกรรม โดยการนำขยะมาผลิตเป็นสื่อการเรียนการสอน และนำเสนอผลงาน จำนวน5ชนิด
    1. นำขยะที่เหลือใช้มาจัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับการรณรงค์ทิ้งขยะให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์จำนวน2ป้าย

      1. จัดกิจกรรมประกวดขยะ โดยให้นักเรียนประดิษฐ์จากเศษวัสดุที่เหลือใช้
    2. การคัดแยกขยะตามประเภทขยะ

      2.1. รณรงค์ให้นักเรียนคัดแยกขยะแต่ละประเภท ลงในภาชนะรองรับขยะที่จัดเตรียมไว้ ดังนี้
    • ขยะทั่วไป (ถังสีน้ำเงิน) ได้แก่ ถุงพลาสติกใส่อาหาร ซองขนม ซองบะหมี่ ทิชชู กล่องอาหาร แก้วกระดาษ เป็นต้น อาจจะนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ หรือส่งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำจัดต่อไป

    • ขยะย่อยสลายได้ (ถังสีเขียว)ได้แก่ เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เศษเนื้อสัตว์ เป็นต้น โดยหลังรับประทานอาหารกลางวัน ให้นักเรียนนำเศษอาหารที่เหลือมาเททิ้งในถังขยะอินทรีย์ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น

    • ขยะรีไซเคิล (ถังสีเหลือง) ได้แก่ ขวด แก้วพลาสติกเศษแก้ว กระป๋องน้ำอัดลม น้ำผลไม้ ขวดแก้ว เศษกระดาษ กล่องเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ

    • ขยะอันตราย (ถังสีแดง) ได้แก่ ภาชนะบรรจุสารอันตราย เช่น น้ำยาทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ทินเนอร์ ยาหมดอายุ เครื่องสำอาง เป็นต้น โดยจะเก็บรวบรวมขยะอันตรายจากโรงเรียนและบ้านเรือนของนักเรียน แล้วส่งต่อขยะอันตรายไปยัง อบต. เพื่อส่งกำจัดต่อไป

    2.2. ประชุมสร้างแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครองนักเรียนเพื่อดำเนินการควบคุม กำกับดูแล และตรวจประเมินผลในการดำเนินกิจกรรม จำนวน ๑ ครั้ง

    2.3 ติดตามผลการดำเนินงาน และตรวจประเมินพฤติกรรมการคัดแยกขยะของนักเรียน โดยแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครองนักเรียน

    2.4 ครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และแกนนำผู้ปกครอง ประชุมร่วมกันกำหนดมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคในท้องถิ่น และการจัดการขยะ อย่างน้อย ๕ มาตรการ เพื่อใช้ในโรงเรียนและชุมชน

    เป้าหมาย

    • นักเรียนป.1 – ป.6จำนวน87คน
    • ผู้ปกครอง จำนวน30คน
    • ครู จำนวน9คน
    • แกนนำนักเรียน จำนวน 20 คน
    • แกนนำชุมชนจำนวน 10 คน

    งบประมาณ

    • ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาทเป็นเงิน3,000 บาท

    ค่าวัสดุผลิตนกเพนกวินน้อยนับเลข

    1. ช้อนสีขาวที่ใช้แล้วจำนวน 100 อัน

    2. กระดาษโปสเตอร์สีหน้าเดียวหนาสีดำ จำนวน 6 แผ่นๆ ละ 10 บาท เป็นเงิน 60 บาท

    3. กระดาษโปสเตอร์สีสองหน้าสีส้ม จำนวน 6 แผ่นๆ ละ 6 บาทเป็นเงิน 36 บาท

    4. ตาปลอมจำนวน 10 ถุงๆ ละ12 บาทเป็นเงิน120 บาท

    5. ปืนยิงกาว จำนวน 6 อันๆ ละ 175 บาทเป็นเงิน1,050 บาท

    6. กาวปืน จำนวน 2 ถุงๆละ 280 บาท เป็นเงิน560บาท

    ค่าวัสดุผลิตกลางวัน กลางคืนจากจานกระดาษ

    1. จานกระดาษที่ใช้แล้วจำนวน 100 ใบ

    2. เป็ก จำนวน 10 กล่องๆละ 6 บาทเป็นเงิน 60 บาท

    3. สีอะคริลิก จำนวน30ขวดๆ ละ 70 บาทเป็นเงิน2,100 บาท

    4. พู่กัน เบอร์ 7 จำนวน 6โหลๆละ260บาทเป็นเงิน 1,560 บาท

    5. พู่กัน เบอร์ 4 จำนวน 6 โหลๆละ190บาทเป็นเงิน 1,140 บาท

    ค่าวัสดุผลิตหมึกจากแก้วกระดาษ

    1. แก้วกระดาษที่ใช้แล้ว จำนวน 100 ใบ

    2. กระดาษโปสเตอร์สีสองหน้า จำนวน 5 โหลๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน300 บาท

    3. ลวดกำมะหยี่ จำนวน 20 ถุงๆ ละ 15 บาทเป็นเงิน 300 บาท

    4. กาวลาเท็กซ์ จำนวน 5 ขวดๆ ละ65บาท เป็นเงิน 325 บาท

    5. กรรไกรจำนวน 50 อันๆละ 45 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท

    6. เชือกขาวแดง จำนวน 5 ม้วนๆละ60 บาทเป็นเงิน300 บาท

    ค่าวัสดุผลิตดอกไม้จากฝาขวด

    1. ฝาขวดน้ำที่เหลือใช้ จำนวน 200 ฝา

    2. หลอดกาแฟ จำนวน20 หลอด

    3. กระดาษขาวเทา เอ 4 จำนวน 3 รีมๆ ละ 65 บาท เป็นเงิน 195 บาท

    ค่าวัสดุผลิตกระถางต้นไม้จากขวดน้ำอัดลม

    1. ขวดน้ำอัดลมที่ใช้แล้วจำนวน100ขวด

    2. สีสเปรย์จำนวน 20 กระป๋องๆ ละ70 บาทเป็นเงิน1,400 บาท

    3. ปากกาเคมี จำนวน 5 โหลๆ ละ 180บาท เป็นเงิน 900 บาท

    ค่าวัสดุจัดทำป้ายนิเทศ

    1. ถุงนมที่ใช้แล้วจำนวน300ชิ้น

    2. ฝาขวดที่ไม่ใช้แล้วจำนวน 100 ฝา

    3. หลอดกาแฟที่ใช้แล้ว จำนวน 200 หลอด

    4. สีไม้แท่งสั้นที่ใช้ไม่ได้แล้วจำนวน 100 แท่ง

    5. กาวลาเท็กซ์จำนวน 2ขวดๆละ65 บาทเป็นเงิน 130 บาท

    ประชุมสร้างแกนนำนักเรียน และแกนนำผู้ปกครอง

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 59 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,475 บาท

    ประชุมครู แกนนำนักเรียน ผู้นำชุมชน และแกนนำผู้ปกครองร่วมกันกำหนดมาตรการ

    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 69 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,725 บาท

    รวมเป็นเงิน 18,986 บาท

    งบประมาณ 18,986.00 บาท
  • 3. ปรับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและชุมชน ให้เป็นพื้นที่สีเขียว
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะและการแยกขยะแต่ละประเภท จำนวน 5 ป้าย

    2. จัดกิจกรรม Big cleaning day ในโรงเรียนและบริเวณโรงเรียน อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง

    3. โรงเรียนติดป้าย ห้ามนำภาชนะโฟมมาใช้ในสถานศึกษา

    4. โรงเรียนรณรงค์ให้นักเรียนใช้แก้วน้ำส่วนตัว เพื่อลดการใช้แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว

    5. โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้ถุงผ้า ปิ่นโต ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว

    6. สำรวจค่า HI และค่า CI โดยนักเรียนแกนนำอย่างน้อย เดือนละ ๑ ครั้ง

    เป้าหมาย

    • นักเรียนป.1 – ป.6จำนวน87คน

    งบประมาณ

    • ป้ายประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ ขนาด 1.2x2.4 เมตร จำนวน 5 ป้ายๆละ 432 บาท เป็นเงิน 2,160 บาท
    • ค่าป้ายโฟมบอร์ด “ห้ามนำภาชนะโฟมมาใช้ในสถานศึกษา” เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 3,160 บาท

    งบประมาณ 3,160.00 บาท
  • 4. รายงานผลโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม

    1. รายงานผลและนำเสนอโครงการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 2 ครั้ง

    2. จัดทำรายงานผลโครงการเสนอกองทุนตำบลอย่างน้อย 2 เล่ม

    เป้าหมาย

    • คณะทำงานโครงการจำนวน5คน

    งบประมาณ

    • ค่าจัดทำรูปเล่มรายงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ จำนวน 4 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท

    รวมเป็นเงิน 1,000 บาท

    งบประมาณ 1,000.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

โรงเรียนบ้านปิใหญ่

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 51,361.00 บาท

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายต่างๆในทุกกิจกรรมสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้ทุกรายการ

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. นักเรียนและผู้ปกครอง มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs และแต่ละครัวเรือน โรงเรียน มีการจัดทำถังขยะอินทรีย์
  2. นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการคัดแยกขยะ สามารถคัดแยกขยะได้ถูกวิธี
  3. แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงนำโรคในโรงเรียนและชุมชนลดลง
  4. มีมาตรการในการควบคุมป้องกันโรคและการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชน
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง รหัส กปท. L8010

อำเภอละงู จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 51,361.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................